การให้สัญญาณไฟขณะขับรถ เรื่องจำเป็นที่ต้องปฏิบัติ
บ่อยครั้งที่เรามีได้ยินหรือได้เห็นการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยวและการเปลี่ยนเลน ส่วนหนึ่งเกิดจากการไม่ปฏิบัติและไม่เข้าใจถึงสัญญาณไฟขณะขับรถจนทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถบนท้องถนน เรามาดูเรื่องสัญญาณไฟขณะขับรถว่าต้องปฏิบัติแบบไหนถึงจะถูกต้องและปลอดภัย
การเลี้ยวรถ เปลี่ยนช่องเดินรถ หรือแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น ต้องให้สัญญาณมือและแขน หรือไฟเลี้ยวสีเหลืองอำพันหรือไฟกระพริบสีขาว ก่อนจะเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร และให้รถคันอื่นเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร ให้แซง ต้องให้ไฟเลี้ยวสีเหลืองอำพัน หรือให้กระพริบไฟสีแดงหรือสีเหลืองอำพันที่ติดอยู่ท้ายรถทางด้านซ้ายของรถ
การขับรถแซง และผ่านขึ้นหน้ารถคันอื่นผู้ขับรถจะขับรถแซง เพื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นในทางเดินรถ ซึ่งไม่ได้แบ่งช่องทางเดินรถไว้ จะต้องให้สัญญาณโดยกระพริบไฟหน้าหลายครั้ง หรือให้ไฟสัญญาณเลี้ยวขวา หรือให้เสียงสัญญาณดังพอที่จะให้ผู้ขับรถคันหน้าให้สัญญาณตอบ และเมื่อเห็นว่าไม่เป็นการกีดขวางรถอื่นที่กำลังแซงแล้วจึงแซงขึ้นได้
การขับรถแซงจะต้องแซงด้านขวา โดยมีระยะห่างจากรถที่ถูกแซงพอสมควร เมื่อเห็นว่าได้ขับผ่านขึ้นหน้ารถที่ถูกแซงไปในระยะที่ห่างพอเพียงพอแล้ว จึงขับชิดด้านซ้ายของทางเดินรถ
ส่วนการใช้สัญญาณไฟกระพริบ หรือไฟฉุกเฉิน ให้ใช้ในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุ หรือจอดรถขณะที่เครื่องยนต์ หรืออุปกรณ์ขัดข้อง หรือกรณีพบอุบัติเหตุข้างหน้า แต่ห้ามใช้พร่ำเพรื่อเพราะผู้ขับขี่ที่ขับตามหลังมาอาจสับสน จนเกิดอุบัติเหตุได้ ส่วนผู้ที่ต้องขับรถตามรถที่เปิดไฟฉุกเฉิน ควรทิ้งระยะห่างจากรถคันที่เปิดไฟฉุกเฉินอย่างน้อย 50 เมตร เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่
เรื่อง : กองบรรณาธิการ
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานต์ยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th