ค่าขาดผลประโยชน์ สิทธิ์ที่ต้องได้ถ้าไม่ใช่ฝ่ายผิด
เซ็งไหมถ้ารถคุณเกิดอุบัติเหตุทั้งที่เราไม่ผิด ทั้งเสียเวลาซ่อม เสียค่าเดินทางเพิ่ม อย่างเพิ่งน้อยใจไปเพราะตอนนี้เรามาเตือนสติของคุณว่า ถ้าเกิดอุบัติเหตุแล้วเป็นฝ่ายถูกยังมี “ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ” ที่สามารถเบิกจากฝ่ายคู่กรณีได้…
ตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้กำหนดวงเงิน “ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ” ไว้บนกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เพื่อให้บริษัทประกันภัยจ่ายให้กับผู้เสียหายจากรถที่มีประกันภัยชน
โดยข้อสรุปเบื้องต้นได้กำหนดอัตราค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถหลักๆ 3 กลุ่มคือ
- กลุ่มที่ 1 รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งกำหนดอัตราค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมรถไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท
- กลุ่มที่ 2 รถยนต์รับจ้างสาธารณะขนาดไม่เกิน 7 ที่นั่ง กำหนดอัตราค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมรถไม่น้อยกว่าวันละ 700 บาท
- กลุ่มที่ 3 รถยนต์ขนาดเกินกว่า 7 ที่นั่งกำหนดอัตราค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมรถไม่น้อยกว่าวันละ 1,000 บาท
สำหรับเอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการขอค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมรถ มีดังนี้
- ใบเสนอรายการความเสียหายของรถยนต์ โดยต้องระบุวันที่เราติดต่อซ่อมรถกับอู่ซ่อมรถหรือศูนย์บริการชัดเจน
- ใบเคลม (ใบรับรองความเสียหายต่อทรัพย์สิน) โดยเจ้าหน้าที่เคลมประกันจะออกให้เราเมื่อรถเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งมีการระบุไว้ชัดเจนว่ารถเสียหายตรงไหนบ้าง และเราเป็นฝ่ายถูก
- สำเนาตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องกำกับไว้ด้วย
- สำเนาทะเบียนรถยนต์ (สมุดทะเบียนรถยนต์ ที่ระบุวันจดทะเบียนและกรรมสิทธิ์ ชื่อเจ้าของรถยนต์)
- สำเนาใบขับขี่รถยนต์ ต้องเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้องด้วย
- ใบรับรถ หรือหนังสือส่งมอบรถเสร็จ โดยต้องระบุวันที่รับรถและวันซ่อมรถเสร็จไว้อย่างชัดเจน
- หนังสือเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมรถ
ขั้นตอนการยื่นเอกสาร “ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ”
เมื่อจัดเตรียมเอกสารครบแล้วก็ถึงขั้นตอนการยื่นเอกสาร ขั้นแรกให้ติดต่อที่บริษัทประกันของคู่กรณี แจ้งเรื่องเรียกร้อง “ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อม” แล้วนำเอกสารที่เตรียมมาทั้งหมดยื่นให้กับบริษัทประกันเพียงเท่านี้ก็เสร็จสิ้น มีข้อแนะนำเพิ่มเติมนิดหน่อยทันทีที่บริษัทติดต่อกลับมาคุณอาจจะโดนต่อรองราคา ทั้งนี้ก็อยู่ที่การตัดสินใจแล้วล่ะว่าจะเอาอย่างไร ถ้าไม่ยอมรับก็สามารถไปทำเรื่องร้องเรียได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เพื่อช่วยไกล่เกลี่ยให้ทั้งสองฝ่ายตกตงกันได้
เกิดอุบัติเหตุไม่ได้เป็นฝ่ายผิด ได้ค่าขาดผลประโยชน์นะ
ถ้าคุณเป็นผู้ใช้รถบนท้องถนน ปัญหาการชนนับเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่รู้หรือไม่ว่าถ้าเราไม่ใช่ฝ่ายผิดสามารถเรียกร้อง ‘ค่าขาดผลประโยชน์’ ระหว่างที่นำรถเข้าซ่อมจากบริษัทประกันคู่กรณีได้ ถ้าไม่อยากพลาดค่าขาดประโยชน์มาดูกันว่าจะได้ค่าชดเชยเท่าไหร่และต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
ตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้กำหนดวงเงิน “ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ” ไว้บนกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เพื่อให้บริษัทประกันภัยจ่ายให้กับผู้เสียหายจากรถที่มีประกันภัยชน ซึ่งข้อสรุปเบื้องต้นได้กำหนดอัตราค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถหลักๆ 3 กลุ่มคือ
- กลุ่มที่ 1 รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งกำหนดอัตราค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมรถไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท
- กลุ่มที่ 2 รถยนต์รับจ้างสาธารณะขนาดไม่เกิน 7 ที่นั่ง กำหนดอัตราค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมรถไม่น้อยกว่าวันละ 700 บาท
- กลุ่มที่ 3 รถยนต์ขนาดเกินกว่า 7 ที่นั่งกำหนดอัตราค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมรถไม่น้อยกว่าวันละ 1,000 บาท
สำหรับเอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการขอค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมรถ มีดังนี้
- ใบเสนอรายการความเสียหายของรถยนต์ โดยต้องระบุวันที่เราติดต่อซ่อมรถกับอู่ซ่อมรถหรือศูนย์บริการชัดเจน
- ใบเคลม (ใบรับรองความเสียหายต่อทรัพย์สิน) โดยเจ้าหน้าที่เคลมประกันจะออกให้เราเมื่อรถเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งมีการระบุไว้ชัดเจนว่ารถเสียหายตรงไหนบ้าง และเราเป็นฝ่ายถูก
- สำเนาตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องกำกับไว้ด้วย
- สำเนาทะเบียนรถยนต์ (สมุดทะเบียนรถยนต์ ที่ระบุวันจดทะเบียนและกรรมสิทธิ์ ชื่อเจ้าของรถยนต์)
- สำเนาใบขับขี่รถยนต์ ต้องเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้องด้วย
- ใบรับรถ หรือหนังสือส่งมอบรถเสร็จ โดยต้องระบุวันที่รับรถและวันซ่อมรถเสร็จไว้อย่างชัดเจน
- หนังสือเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมรถ
ขั้นตอนการยื่นเอกสาร “ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ”
เมื่อจัดเตรียมเอกสารครบแล้วก็ถึงขั้นตอนการยื่นเอกสาร ขั้นแรกให้ติดต่อที่บริษัทประกันของคู่กรณี แจ้งเรื่องเรียกร้อง “ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อม” แล้วนำเอกสารที่เตรียมมาทั้งหมดยื่นให้กับบริษัทประกันเพียงเท่านี้ก็เสร็จสิ้น มีข้อแนะนำเพิ่มเติมนิดหน่อยทันทีที่บริษัทติดต่อกลับมาคุณอาจจะโดนต่อรองราคา ทั้งนี้ก็อยู่ที่การตัดสินใจแล้วล่ะว่าจะเอาอย่างไร ถ้าไม่ยอมรับก็สามารถไปทำเรื่องร้องเรียได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เพื่อช่วยไกล่เกลี่ยให้ทั้งสองฝ่ายตกตงกันได้