ทำไม !! หมวกกันน็อคแบรนด์ระดับโลก ถึงไม่มี มอก.ใส่แล้วตำรวจจับ
ต้องยอมรับว่ารถจักรยานยนต์ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก แน่นอนเมื่อความนิยมของรถจักรยานยนต์เพิ่มมากขึ้น สิ่งที่มีดิบขายดีตามไปด้วยคืออุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในการขี่รถจักรยานยนต์ อย่างหมวกกันน็อค ซึ่งมีอยู่มากมายหลากหลายรูปแบบหลายยี่ห้อ
1.แบบเต็มหน้า (Full Face)
ครอบคลุมตั้งแต่ท้ายทอยไปจนถึงปลายคาง มีช่องเจาะบริเวณตาและจมูกเพื่อให้มองเห็นและหายใจได้สะดวก ปิดด้วยกระจกบังลม ซึ่งอาจมีสีที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแบบนี้มีความปลอดภัยสูงมาก
2.แบบมอเตอร์ครอส (Motocross)
หมวกกันน็อกชนิดนี้ดัดแปลงมาจากแบบเต็มหน้าเพื่อใช้ขี่แบบมอเตอร์ครอสโดยเฉพาะ มีความปลอดภัยเช่นเดียวกับแบบเต็มหน้า โดยเพิ่มส่วนบังแดดและยืดบริเวณที่ปิดคางออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันโคลนที่ปลิวมาขณะขับขี่ แต่ได้ถอดกระจกบังลมออกเพื่อให้อากาศผ่านได้สะดวก ซึ่งผู้ขับขี่ส่วนใหญ่จะเลือกสวมแว่นตาครอบเพื่อป้องกันโคลนที่ปลิวเข้ามาด้วย
3.แบบเปิดหน้า (Open face)
ครอบคลุมหัวเพียง 3 ใน 4 เท่านั้น แต่เป็นหมวกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แม้ว่าจะไม่สามารถปกป้องได้ทั้งใบหน้าก็ตาม หมวกชนิดนี้ จะมีกระจกบังลมครอบทั้งใบ ซึ่งช่วยป้องกันฝุ่นและแมลงที่อาจรบกวนการขับขี่ของเราได้
4.แบบโมดูลา (Modular)
เป็นหมวกกันน็อกรูปร่างแบบเดียวกับแบบเต็มใบ แต่สามารถพับส่วนคางขึ้นมาได้ พัฒนามาจากแบบเต็มใบซึ่งไม่มีที่ปิดคาง โดยหมวกชนิดนี้ได้รับความนิยมมากเพราะสามารถเปิดบริเวณปากเพื่อพูดคุยหรือแม้กระทั่งกินอาหารได้ทันทีโดยไม่ต้องถอดหมวก และยังให้การปกป้องบริเวณคางเช่นเดียวกับแบบเต็มหน้าอีกด้วย
4.แบบครึ่งใบ
หมวกกันน็อคประเภทนี้ จะปิดเพียงส่วนด้านบนของศรีษะเท่านั้น ครอบลงมาแค่เพียงครึ่งเดียว บางใบอาจจะมีบังลมติดมาให้ หมวกชนิดนี้ได้รับความนิยมมาก เพราะว่ามันเบาคล่องตัว สะดวก ราคาถูก แต่หมวกประเภทนี้จะมรความปลอดภันต่ำที่สุดนะจ๊ะ
ส่วนในประเทศไทยคุณจะเลือกใช่หมวกแบบไหนก็ได้ตามใจคุณแต่จุดสำคัญเลยครับว่า หมวกกันน็อคทุกใบต้องผ่าน มอก. ก่อนเท่านั้น อย่างแบรนด์ดังๆหลายแบรนด์ ราคาค่อนข้างสูง แต่มีความปลอดภัยได้มาตรฐานโลก เมื่อเข้ามาในไทยใช่ไม่ได้นะครับผม ตำรวจจับนะจะบอกให้ เพราะหมวกกันน็อคแบรนด์ดังเหล่านั้น ไม่ได้มีการผ่านการทดสอบของ มอก.ในบ้านเรา งงไปเลยครับท่าน
มาตรฐานของหมวกกันน็อค
แน่นอนว่าสินค้าทุกอย่างต้องมีมาตรฐานรับรอง และหมวกกันน็อกก็เป็นของที่ต้องมีการทดสอบมาตรฐานมากด้วยเช่นกัน โดยมาตรฐานเหล่านี้จะทดสอบทั้งความแข็งแรง ความสะดวกสบายต่าง ๆ ในการสวม ซึ่งถ้านักบิดทั้งหลายเห็นชื่อหน่วยงานเหล่านี้แล้วรับรองว่าสามารถวางใจในมาตรฐานได้เลยล่ะ ซึ่งทั่วโลกจะมีหน่วยงานดูแลมาตรฐานต่าง ๆ ดังนี้
1.มาตรฐาน SNELL 2000
เป็นมาตรฐานหมวกกันน็อคที่ถูกอ้างอิงและใช้เป็นต้นแบบมาตรฐานหมวกกันน็อคสำหรับขับขี่มอเตอร์ไซด์ในหลายประเทศ มีการทดสอบหลายประการเพื่อที่จะเป็นการรับรองคุณภาพหมวกกันน็อคในแต่ละชุดที่ผลิตขึ้นมาจำหน่ายให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถจักรยานยนต์ snell เป็นมาตรฐานที่ปรับปรุงความเข้มข้นในการทดสอบอยู่ตลอดเวลา ทั้งขอบเขตทดสอบการทดสอบการดูดกลืนแรงกระแทกบนหมวกนิรภัยและวิธีการทดสอบอื่นๆ เพื่อพัฒนาระดับการป้องกันให้สอดคล้องกับสภาพการเกิดอุบัติเหตุในปัจจุบัน นอกเหนือจากเรื่องการตรวจสอบโครงสร้างภายนอก โลหะ อุปกรณ์เสริมและรูปทรงแล้ว มาตรฐาน SNELL 2000 ยังมีการทดสอบเพื่อให้ผ่านเกณฑ์การทดสอบต่างๆ อาทิ การทดสอบการมองเห็นของผู้สวมใส่
2.มาตรฐาน DOT (FMVSS 218) Department Of Transpolation มาตรฐาน DOT เป็นมาตรฐานหมวกกันน็อคสำหรับผู้ขับขี่ และผู้โดยสารรถจักรยานยนต์ที่กำหนดขึ้นโดยสำนักงานขนส่งของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นที่รู้จักเช่นเดียวกันกับมาตรฐาน SNELL แต่มีเกณฑ์ และวิธีการทดสอบที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เนื่องจากมาตรฐาน DOT พิจารณาว่าการทดสอบที่กำหนดขึ้นมาใหม่นั้นเพียงพอต่อการป้องกันผู้สวมใส่หมวกนิรภัยได้ระดับหนึ่งแล้ว ยังเพิ่มความเข้มข้นในการออกใบรับรองให้กับโรงงานผู้ผลิตหมวกกันน็อค เพื่อที่จะทำให้ผู้ผลิตนั้นสามารถผลิตหมวกกันน็อคได้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ไม่ต้องมายึดติดกับเรื่องมาตรฐานที่เกินความจำเป็น นอกเหนือจากเรื่องของการตรวจสอบโครงสร้างภายนอก โลหะ อุปกรณ์เสริมแล้ว มาตรฐาน DOT มีการทดสอบเพื่อให้ผ่านเกณฑ์การทดสอบอีกด้วย
3.มาตรฐาน E 2205 เป็นมาตรฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายสำหรับผู้ใช้รถมอเตอร์ไซด์ในทวีปยุโรป มีวิธีการทดสอบที่แตกต่างไปจาก SNELL และ DOT ที่สำคัญคือวิธีการทดสอบเป็นแบบสามแกน(Tri-axial) และตำแหน่งที่ทดสอบการดูดกลืนแรงกระแทกของหมวกกันน็อคมีการกำหนดจุดแน่นอน โดยการทดสอบกระแทกเพียง 1 ครั้งต่อ 1จุด เท่านั้น โดยจะใช้แรงในการกระแทกที่รุนแรงกว่าแบบมาตรฐานDOT มาตรฐาน E 2205 ส่วนใหญ่นิยมใช้ในการทดสอบหมวกนิรภัยที่ใช้ในการแข่งขันรถจักรยานยนต์ในทวีปยุโรป จึงเป็นที่รู้จักแพร่หลายเป็นสากล และเมื่อหมวกกันน็อคผ่านการตรวจสอบโครงสร้าง โลหะ และอุปกรณ์เสริมต่างๆ แล้วหมวกกันน็อคต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบอื่นๆด้วย
4.มาตรฐาน JIS T 8133:2000 มาตรฐาน JIS 2000 เป็นมาตรฐานหมวกกันน็อคในประเทศญี่ปุ่นที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ นอกจากจะเป็นการนำเอาส่วนที่ดีของมาตรฐาน DOT และมาตรฐานE 2205 มารวมกันแล้ว มาตรฐานนี้ยังปรับปรุงพัฒนาขึ้นมาจากมาตรฐาน JIS 1997 โดยมีส่วนสำคัญในการปรับปรุงจากมาตรฐานเดิมคือ การรวมเอาวิธีการทดสอบแบบ Uni-axial และ Tri-axial เข้าไว้ด้วยกัน ถ้าหากเป็นหมวกนิรภัยแบบเต็มใบจะเพิ่มความรุนแรงของการกระแทกในครั้งแรก แต่ละความรุนแรงของการกระแทกในครั้งที่สองลง ส่วนหมวกกันน็อคแบบครึ่งใบทดสอบโดยการกระแทก 1 ครั้งต่อจุด ซึ่งอาจจะสันนิษฐานได้ว่า เพื่อให้สอดคล้องกับข้มมูลสติถิในปัจจุบันนั่นเอง –การมองเห็นของผู้สวมใส่
5.มาตรฐาน มอก. TIS 369-2539 มาตรฐานหมวกกันน็อคของประเทศไทย TIS 369-2539 นี้ เป็นมาตรฐานฉบับปรับปรุง
อันที่จริงแล้วอย่างที่ใครหลายคนคิด(รวมถึงผมด้วย)ว่าถ้าหมวกกันน็อคที่ผ่านมาตรฐานต่างๆในระดับสากลแล้ว แถมยังนำเข้ามาโดยเสียภาษีตามกฎหมายอย่างหมวกกันน็อคแบรนด์ดังหลายๆแบรนด์ อย่าง SHOEI , ARI เป็นต้น ทำไมใส่ในไทยแล้วตำรวจถึงจับละ ด้วยเหตุผลที่ว่าไม่มีการผ่านมาตรฐานการตรวจสอบของ มอก. ซึ่งหลายคนคิดเหมือนผมว่าที่ผ่านมาตรฐาน มอก.นี่บางยี่ห้อเหมือนของเด็กเล่นเลย พลาสติกก็ดูบางๆแปลกๆเหมือนของเด็กเล่น ดูจะไม่ช่วยในเรื่องความปลอดภัยในเวลาเกิดอุบัติเหตุได้เลย ทำไมถึงผ่าน มอก. มาตรฐานอยู่ตรงไหน สนใจความปลอดภัยของผู้สวมใส่บางมั้ย แถมใส่แล้วพี่ตำรวจไม่จับด้วย แต่พวกหมวกกันน็อคมาตรฐานระดับใส่แข่งขันได้กลับไม่สามารถนำมาใช้ในบ้านเราไม่ได้ทั้งที่ปลอดภัยกว่าเห็นๆ ใส่ไปตำรวจเห็นจับ แล้วบอกไม่มี มอก. ซะงั้น
สรุป ก็คือทางหมวกกันน็อคพวกนั้นเค้าไม่ยอมให้ มอก. ในบ้านเราตรวจสอบเพราะเค้าบอกว่า ก็หมวกเค้าผ่านมาตรฐานไม่ว่าจะเป็น DOT E2205 SNELL มาหมดแล้วทำไมต้องมาตรวจสอบอีก เพราะตรวจสอบแต่ละทีต้องเอาหมวกกันน็อคไปให้ทดสอบเยอะมากซึ่ง เสียทั้งเวลา และงบประมาณ ทางบริษัทแบรนด์ดังพวกนี้เค้าเลยมองว่าสินค้าเค้าได้รับการทดสอบจากสถาบันที่ยอมรับจากทั้วโลกมาแล้วทำไมต้องมาทดสอบอีกทั้งที่หลายประเทศก็ยอมรับและใช้ได้ตามปกติ แต่ในเมื่อเค้าไม่ยอมตรวจก็แทนที่จะห้ามไม่ให้จำหน่าย หรือนำเข้ามาขายในประเทศไทยเลย แต่กลับปล่อยให้นำเข้ามาขายอย่างถูกกฎหมาย พอมีคนซื้อไปใช้วิ่งบนถนนในเมืองไทยกลับถูกจับบอกว่าไม่มี มอก. อันนี้มันคืออะไรประชาชนตาดำๆก็ต้องยอมรับสภาพต่อไป อยู่ที่วิจารณญาณของเจ้าหน้าที่ ว่าจับหรือไม่จับแบบนี้นะหรือ ใครทราบช่วยตอบด้วยนะครับ
เรื่อง : ณัฐพล เดชสิงห์
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานต์ยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th