ประวัติความเป็นมาของ รถเต่า…VW Beetle History
Volkswagen Beetle หรือที่เรียกกันติดปากว่า “รถโฟล์คเต่า” หรือ รถเต่า เกิดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 22 มิถุนายน 1934 เมื่อคณะกรรมการสมาคมอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งชาติเยอรมนี หรือ RDA-Reichsverband Der Deutschen Automobilindustrie ได้มอบหมายให้ ดร.เฟอร์ดินาน พอร์ช ออกแบบรถยนต์สำหรับประชาชน (People’s car) ซึ่งในภาษาเยอรมันที่เรียกว่า VOLKSWAGEN นั่นเอง
ย้อนกลับไปในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ เฟอร์ดินานด์ พอร์ช มีแนวคิดที่จะผลิตรถยนต์ ที่ใครๆ ก็หาซื้อมาใช้งานได้ในราคาย่อมเยา เนื่องจากรายได้เฉลี่ยของหนุ่มสาวชาวเยอรมันในยุคนั้น ค่อนข้างน้อย ไม่สามารถมีรถได้ ซึ่งแนวคิดดังกล่าว บังเอิญไปถูกจริตของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ในช่วงปี 1923 พอร์ชเคยทำงานในรถยนต์ขนาดเล็กหลายที่ ๆ จึงใช้หลายองค์ประกอบรวมอยู่ใน รถเต่า ต้นแบบ 1934 Porsche Type 32 NSU ใช้เครื่องยนต์สี่สูบนอน วางด้านหลัง ขับเคลื่อนล้อหลัง กับช่วงล่างแบบคานบิด (Torsion Bar)
ต่อมาในกุมภาพันธ์ 1933 ฮิตเลอร์ กลายเป็นนายกรัฐมนตรีและแสดงความตั้งใจที่จะรับสร้างรถยนต์ของคนชาวเยอรมัน จากนั้นหนึ่งปีต่อมาที่ 1934 รัฐบาลของเขาจะสนับสนุนการพัฒนาของรถยนต์ของประชาชน ฮิตเลอร์ ประทับใจ เฟอร์ดินานด์ปอร์เช่ ในความสามารถการออกแบบ ฮิตเลอร์สั่งออกแบบ รถที่จะพาผู้ใหญ่สองคนและเด็กสามคนที่ความเร็ว 60mph ที่มีอย่างน้อย 33 MPG ราคาจะเป็น 1000 Reichmarks ไม่มากเกินกว่าที่รถจักรยานยนต์ในช่วงเวลานั้น เฟอร์ดินานด์ปอร์เช่ไม่เชื่อว่ารถอาจจะทำง่ายนัก แต่ถือว่าเป็นโครงการที่ท้าทายและเริ่มทำมันออกมา ปลายปี 1935 ต้นแบบเป็นครั้งแรกเมื่อ autobahns, รถเก๋ง V1 และ V2 แปลงสภาพรถยนต์เหล่านี้มีร่างของอลูมิเนียมติดอยู่กรอบไม้แบบโบราณ
ใน ปี 1936 หน่วยงานเหล็กที่ติดตั้งอยู่ทั่วทุก floorpans เหล็กถูกนำมาใช้ขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์ 984cc 22bhp ที่สามารถเข้าถึงความเร็วสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 65 ไมล์ต่อชั่วโมง อีก 30 ต้นแบบถูกสร้างขึ้นมาแล้วโดยเดมเลอร์เซเดสที่ไม่ได้กระตือรือร้นที่จะทำเช่น รถราคาถูกขณะที่พวกเขาคิดว่ามันจะทำลายชื่อเสียงระดับสูงของพวกเขา จากนั้นก็ย้ายไปโรงงานแห่งใหม่ เดมเลอร์เบนซ์ รถที่ถูกสร้างขึ้นได้มีการทดสอบที่ค่ายทหารเอสเอสอใกล้สตุตการ์ด และแรงผลักดันในการเปลี่ยนแปลงโดยทหาร 200 คน ปัญหาต่าง ๆ ก็ได้รับการแก้ไข
โฟล์คเต่า หรือ รถเต่า รุ่นต้นแบบคันแรกเสร็จสิ้นการพัฒนาเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 1936 มาพร้อมระบบช่วงล่างแบบทอร์ชันบาร์ ระบบเบรกเป็นแบบดรัมเบรกกลไก ไม่ใช่ระบบไฮดรอลิกเหมือนรถยนต์ในปัจจุบัน และมีการติดตั้งยางแท่นเครื่อง ซี่งหลายคนมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการใส่ยางรองแท่นเครื่องเพื่อซับแรงสะเทือน สำหรับเครื่องยนต์ที่ใช้ เป็นระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ มีให้เลือกทั้งแบบ 2 จังหวะ และ 4 จังหวะ มีกำลังสูงสุด 22.5 แรงม้า (HP)
มาถึงในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 1936 รุ่นต้นแบบหรือ V3 Concept ผลิตออกมาเพียง 3 คัน เพื่อนำมาทดสอบการใช้งาน เป็นระยะทางกว่า 50,000 กิโลเมตร ก่อนที่จะมีการทดสอบต่อเนื่องภายใต้รหัสโครงการ VVW30 และหลังจากนั้นไม่นานคณะกรรมการก็เห็นชอบในเรื่องเครื่องยนต์ หลังจากถกเถียงกันอยู่นาน จึงได้มติลงตัวที่เครื่องยนต์แบบบ็อกเซอร์ 4 สูบนอน พร้อมระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ
แต่กว่าที่โฟล์คเต่า จะเริ่มการผลิตเพื่อจำหน่ายสู่ตลาดจริงได้ ต้องรอกันจนถึงเดือนธันวาคม 1945 หรือหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง โดยในเดือนนั้นมีการผลิตออกมาเพียงแค่ 55 คันเท่านั้น
ต่อมาในปี 1947 จึงมีการผลิตเวอร์ชั่นส่งออกในเดือนสิงหาคม โดยบริษัท PON BROTHERS ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายรถยนต์โฟล์คสวาเกนในเนเธอร์แลนด์ และนำเข้าโฟล์คเต่าจำนวน 56 คัน เข้ามาทำตลาด อีก 1 ปีต่อมา จึงเริ่มขยายตัวสู่ตลาดต่างประเทศ อาทิเช่น เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ลักเซมเบิร์ม สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนจะพาข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก เพื่อเข้าสู่สหรัฐอเมริกาในวันที่ 8 มกราคม 1949
มาถึงรุ่นหลังคาเปิดประทุนของโฟล์คเต่า โดยคาร์มานน์เป็นผู้รับผิดชอบในการผลิต เริ่มขึ้นในวันที่ 1 กรกฎาคม 1949 เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า ที่ชอบความโฉบเฉี่ยว ไม่ซ้ำใคร โดยเฉพาะในตลาดใหม่อย่างสหรัฐอเมริกา
ในปี 1948 ได้มีการว่าจ้าง Hebmuller Company ผลิตรุ่นต้นแบบของโฟล์คเต่าเปิดประทุนออกมา 3 คัน โดยมีข้อบังคับว่าจะต้องใช้ชิ้นส่วนของรุ่นแฮทช์แบ็ก (หรือในเอกสารของโฟล์คสวาเกนเรียกว่า Sedan) ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
Joseph Hebmeller ได้รับโอกาสในการผลิตโฟล์คเต่าเปิดประทุนในเวอร์ชั่นหรูพร้อมกับตกแต่งรายละเอียดภายในอย่างสุดบรรเจิด ซึ่งสวนกับหลักการพื้นฐานของตัวรถ ขณะที่คาร์มานได้รับงานผลิตแบบยกล็อตสำหรับคนทั่วไป ผลที่ได้คือตลอด 4 ปี ที่ทำตลาด เวอร์ชั่นเปิดประทุนของ Joseph Hebmeller ทำยอดขายได้เพียง 696 คัน เท่านั้น
โฟล์คเต่ากลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ เรียกว่าขายดีเหมือนแจกฟรีกันเลยทีเดียว โดยในปี 1950 สามารถผลิตได้ครบ 100,000 คัน และเพิ่มจำนวนเป็น 250,000 คันในปี 1951 ซึ่งเป็นตัวเลขการผลิตที่สวนทางกับวัตถุดิบที่มีอยู่ในตลาด จนทำให้ต้องหยุดการผลิต รวมถึงลดชั่วโมงทำงานลงชั่วคราว แต่ถึงกระนั้นในปี 1952 ได้ผลิตรถยนต์โฟล์คเต่าได้มากกว่า 100,000 คัน เป็นครั้งแรก และในปีต่อมา ก็ได้มีการฉลองการผลิตครบ 5 แสนคัน เป็นช่วงเวลาที่โฟล์คเต่าสามารถครองส่วนแบ่งในตลาดรถยนต์นั่งของเยอรมันตะวันตกในขณะนั้น ที่มีมากถึง 42.5%
ต่อมาในปี 1955 มีตัวเลขการผลิตครบ 1 ล้านคัน ในปี 1967 ฉลองการผลิตครบ 10 ล้านคัน โดยมีโรงงานผลิตทั้งหมด 5 แห่งในเยอรมนี คือ เมืองฮันโนเวอร์ คาสเซล บรันสวิค เอมเดน และล่าสุดคือโวล์ฟบวร์ก
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1972 เป็นวันที่ปวงชนชาวโฟล์คสวาเกนไม่มีวันลืม เพราะยอดการผลิตของโฟล์คเต่าอยู่ที่ 15,007,034 คัน ซึ่งเท่ากับว่าสามารถทำยอดขายแซงหน้า ฟอร์ด โมเดล ที ได้สำเร็จ จึงทำให้โฟล์คเต่า กลายเป็นรถยนต์ที่มียอดผลิตสูงสุดในโลก (ก่อนที่จะเสียตำแหน่งให้กับรุ่น Golf ในปี 2002)
จุดสิ้นสุดแห่งยุคโฟล์คเต่าสำหรับตลาดยุโรปเริ่มขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1970 เมื่อโฟล์คสวาเกนเปิดตัวรถยนต์รุ่นกอล์ฟออกมา ซึ่งทำให้ลูกค้าในยุโรปเริ่มหันไปสนใจน้องใหม่รุ่นนี้มากขึ้น จนทำให้โฟล์คสวาเกนตัดสินใจปิดสายพานการผลิตที่โรงงานโวล์ฟบวร์ก ในปี 1974 และที่เอมเดนในปี 1978 โดยโฟล์คเต่าคันสุดท้ายที่ผลิตในเอมเดนเมื่อวันที่ 19 มกราคม ถูกส่งเข้าไปจอดเก็บอย่างดีในพิพิธภัณฑ์เมืองโวล์ฟบวร์ก
ส่วนรุ่นเปิดประทุนคันสุดท้ายที่ออกจากสายการผลิตของโรงงานคาร์มานน์ ในออสนาบรัก เมื่อวันที่ 10 มกราคม 1979 โดยรวมรุ่นเปิดประทุนที่ออกมาสู่ตลาดรวม 330,281 คัน แม้ว่าในยุโรปจะเลิก แต่โรงงานในเม็กซิโกที่เริ่มเดินเครื่องมาตั้งแต่ปี 1965 ก็ยังทำหน้าที่ผลิตต่อไปและวันที่ 15 พฤษภาคม 1981 ฉลองการผลิตครบ 20 ล้านคันที่โรงงานแห่งนี้
อย่างไรก็ตามในวันที่ 31 กรกฎาคม 2003 ถือเป็นอีกวันที่บีทเทิลมาเนียต้องจดจำเพราะว่าจะเป็นวันสุดท้ายของการผลิตโฟล์คเต่าที่โรงงานในเมือง PUEBLA เม็กซิโก ซึ่งเป็นโรงงานแห่งเดียวที่ยังผลิตอยู่
แต่ก่อนที่จะจากกันโฟล์คสวาเกนก็ได้มีการผลิตเวอร์ชันพิเศษออกมาเรียกเงินในกระเป๋าลูกค้าด้วยเวอร์ชัน ULTIMA EDICION กับสีตัวถัง 2 แบบ คือ เบจและฟ้า ด้วยจำนวนการผลิตจำกัดเพียง 3,000 คัน เท่านั้น
ในช่วงหลัง จะมีเพียงบางประเทศ ในกลุ่มอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ที่ยังคงทำตลาดอยู่ เพราะด้วยมาตรการเรื่องความปลอดภัย และเรื่องไอเสียในประเทศส่วนใหญ่ทำให้ Volkswagen ไม่สามารถทำตลาดรุ่นนี้ได้อย่างทั่วถึง
แต่ระหว่างที่ทำตลาด Volkswagen ก็ได้ส่งรุ่น New Beetle ออกมาในปี 1997 ก่อนจะส่งโฉมล่าสุดออกมาในปี 2011 เป็นที่น่าเสียดายที่ New Beetle รุ่นนี้จะปล่อยออกมาเป็นโฉมสุดท้าย เนื่องจากทาง Volkswagen ได้แจ้งว่าจะยุติการผลิตรถยนต์รุ่นนี้ที่โรงงาน Puebla ในประเทศเม็กซิโก โดย Beetle ล็อตสุดท้ายจะออกจากโรงงานดังกล่าวในเดือนกรกฎาคม 2562
จับตา Final Edition โฉมสุดท้ายก่อนจากลา
Hinrich J. Woebcken ประธาน และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Volkswagen Group of America เล่าให้ฟังว่า ในปี 2562 จะมี Beetle รุ่นพิเศษออกมาจำหน่ายคือ Final Edition SE กับ Final Edition SEL เพื่อฉลองความสำเร็จของรถยนต์รุ่นนี้ที่มีอายุมากว่า 70 ปี
อย่างไรก็ตามเหตุผลที่ Beetle ต้องเลิกผลิตไป สืบเนื่องจากยอดจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาที่ลดลงเรื่อยๆ อย่างเช่นในปี 2017 มียอดขายที่ 15,156 คัน เมื่อเทียบยอดขายในปี 2013 จำนวน 43,134 คัน ซึ่งลดลงอย่างน่าใจหาย ประกอบกับนโยบายของบริษัทที่เน้นผลิตรถยนต์สำหรับครอบครัว และมุ่งเน้นการพัฒนา และทำตลาดในส่วนของรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งทำให้ Beetle จำต้องยกเลิกการผลิตไปโดยปริยาย สำหรับการเดินหน้าทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของ Volkswagen นั้น จะมีเปิดตัวรวมทั้งสิ้น 27 รุ่น ในรูปแบบตัวถังที่หลากหลาย ภายในปี 2565
การทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของ Volkswagen นั้นยังคงเน้นหนักในเรื่องการเข้าถึงได้ ในกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ตามความหมายของชื่อแบรนด์ เนื่องจาก Volkswagen เลือกที่จะสร้าง Platform ใหม่ขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า MEB หรือ Modular Electric Drive Matrix การออกแบบโครงสร้างใหม่ทั้งหมด เตรียมพื้นที่สำหรับวางแบตเตอรี่ และมอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อการขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยรุ่นแรกที่ออกแบบภายใต้ Platform ดังกล่าวก็คือ I.D. รถยนต์ทรงแวนขนาดใหญ่ และเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของแบรนด์นี้ด้วย
Christian Senger หัวหน้ากลุ่ม E-Mobility Product ของ Volkswagen กล่าวว่า I.D. คือจุดเริ่มในการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าของบริษัท เนื่องจากรถยนต์รุ่นนี้เป็น Connected Electric Car รุ่นแรก และยังคงจุดเด่นเรื่องการเข้าถึงที่ง่ายไว้เช่นเดิม และได้มีการคาดการณ์ไว้ว่า I.D. น่าจะเริ่มการผลิตได้ภายในปี 2562 และจะมีรุ่นอื่นๆ ที่ใช้ MEB Platform เตรียมขึ้นไลน์ผลิตอีก 27 รุ่นภายในปี 2565 และไม่ใช่แค่แบรนด์ Volkswagen เท่านั้นที่ใช้ Platform นี้ โดยจะนำมาใช้ร่วมกับรถยนต์ของ Audi, Skoda และแบรนด์อื่นๆ อย่างไรก็ตามการเดินหน้าผลิตรถยนต์ไฟฟ้า คือหนึ่งในแผนฟื้นภาพลักษณ์ของ Volkswagen หลังติดภาพลบในเรื่องของการบิดเบือนข้อมูลในเรื่องค่าไอเสียเมื่อปี 2558…
เรื่อง : สมโภชน์ นันทโรจน์
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานต์ยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th