รู้ก่อนทำใบอนุญาตขับขี่กับ 10 กลุ่มเสี่ยงต้องห้าม
ปัญหาด้านสุขภาพบางประการอาจเกิดอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนนโดยเฉพาะผู้มีอาการทางด้านอารมณ์ที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้อย่างกรณี “คุณป้าเก๋งฟ้า” ที่ก่อเหตุซ้ำ ๆ คำถามคือปัญหาเหล่านี้จะได้รับการแก้ไขหรือไม่ แล้วกรมขนส่งมีวิธีการป้องกันอย่างไรที่จะจำกัดและตรวจสอบว่าผู้ใดควรถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อท้องถนน
เรื่องราวของ คุณป้านักซิ่งบริโอ้ฟ้าในตำนาน ที่สร้างความวุ่นวายให้กับท้องถนนอีกครั้งโดยการเฉี่ยวชนรถจักรยานยนตร์สองแม่ลูก และได้ขับหลบหนีไป เมื่อมีคลิปวิดีโอลงบนโลกออนไลน์ ชาวเน็ตต่างขุดประวัติจนพบว่า คุณป้ารายนี้ มีวีรกรรมสุดแสบมาตั้งแต่ปี พ.ศ 2561 จนกระทั่งปัจจุบัน พ.ศ 2564 คุณป้ายังคงก่อเหตุในลักษณะเดิม สังคมและชาวเน็ตจึงตั้งคำถามว่าทำไมคุณป้าถึงยังไม่ได้รับบทลงโทษใด ๆ แถมยังใช้ชีวิตและสร้างความเดือดร้อนให้กับท้องถนนอยู่เป็นประจำ
ซึ่งการทำใบขับขี่นั้นจะมีกฎกระทรวงและข้อบังคับว่าผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวที่ไม่เสี่ยงต่อการขับขี่จะสามารถขอใบอนุญาตขับขี่ได้ คำถามคือกรมขนส่งจะสามารถตรวจสอบอย่างไรว่าผู้ใดมีปัญหาเรื่องสุขภาพและอารมณ์ และหากตรวจสอบได้บุคคลเหล่านี้จะสามารถทำใบขับขี่ได้หรือไม่ แล้วจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขอะไรที่จะรองรับว่าบุคคลเหล่านี้เมื่อกระทำความผิดบนท้องถนนจะได้รับโทษตามกฎหมายอย่างเหมาะสม ทางเราจึงรวม 10 กลุ่มเสี่ยงต้องห้ามในการขอรับใบอนุญาตขับขี่
1.กลุ่มเสี่ยงในระบบประสาทและสมอง เช่น โรคลมชัก
2.กลุ่มเสี่ยงในโรคเบาหวาน โดยมีอาการเบื้องต้นที่สังเกตได้ เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย
3.กลุ่มเสี่ยงอาการวูบหมดสติ เป็นอาการคล้ายเป็นลมเกือบหมดสติหรือบางรายอาจหมดสติ
4.กลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด จะมีอาการเจ็บหน้าอก
5.กลุ่มเสี่ยงด้านการมองเห็น
6.กลุ่มเสี่ยงประสาทการได้ยิน เช่น โรคหูหนวก
7.กลุ่มเสี่ยงการเคลื่อนไหวผิดปกติ เช่น โรคพาร์กินสัน
8.กลุ่มเสี่ยงปัญหาทางจิตผิดปกติ
9.ความเสี่ยงนอนหลับผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคหลับใน
10.กลุ่มเสี่ยงจากการใช้ยาประเภทต่างๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดการกดประสาท ง่วงซึม
ในแง่ของความจริงคนส่วนใหญ่ที่มาทำใบอนุญาตขับขี่ บางรายมาป่วยในภายหลัง สาเหตุอาจเกิดจากความเครียด การเสพยาเสพติด หรือดื่มแอลกอฮอล์เรื้อรัง จึงส่งผลกระทบต่อร่างกาย ทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีสภาพไม่พร้อมในการขับขี่
ข้อสรุป ก็คือคุณป้าเก๋งฟ้าถ้าได้รับบทลงโทษมันเพียงพอแล้วจริงๆหรือ เพราะเรื่องของกฎหมายจราจรหรือตำรวจ ถือเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเพราะอันดับแรกควรเริ่มจาก กรมขนส่งทางบกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันแก้ไขหรือดำเนินการให้ขั้นตอนขอใบอนุญาตขับขี่มีมาตรฐานอย่างที่ควรการที่กรมขนส่งเพิกเฉยนั้นอาจจะทำให้คุณป้าและผู้ป่วยอีกหลายๆรายก่อเหตุลักษณะนี้อยู่บ่อยครั้ง หากเราเริ่มแก้ไขปัญหาจากกรมขนส่ง อาจจะช่วยหยุดยั้งอุบัติเหตุบนท้องถนนและความจราจลอย่างที่คุณป้าทำอยู่ก็ได้
ขอขอบคุณข้อมูล dailynews.co.th
เรื่อง : รัชนีกร บุญเฉลิม
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th