การดูแลมอเตอร์สตาร์ท
สำหรับสาวกรถเก่ารถมือสองที่มีอายุร่วงเลยมาเกือบ 10 ปี น่าจะเคยประสบปัญหามอเตอร์สตาร์ทไม่ทำงาน รวมไปถึงปัญหาการเสื่อมของมอเตอร์สตาร์ทเร็วก่อนระยะเวลาอันควร ถ้าไม่อยากเสียอารมกินข้าวลิงระหว่างเดินทางเรามีข้อแนะนำในการดูแลมอเตอร์สตาร์ทมาฝาก
- ไม่ควรสตาร์ทเครื่องยนต์เกินกว่าครั้งละ10 วินาที (บิดกุญแจค้าง) เพราะจะทำให้มอเตอร์สตาร์ทไหม้หรือเกิดการชำรุดเสียหายได้
- ไม่ควรใช้กระแสไฟในการสตาร์ทเกินกว่าที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดเช่น มอเตอร์สตาร์ท ต้องการแรงเคลื่อนไฟฟ้าเพื่อสตาร์ท 12 โวลท์ แต่ผู้ควบคุมเครื่องมีความจำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่ 2 ลูก ต้องต่อแบบขนานเพื่อเพิ่มกระแสไฟ อย่างต่อแบบอันดับ เพราะจะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างอื่นเสียหาย เนื่องจากแรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงอีกเท่าตัว จาก 12 โวลท์ เป็น 24 โวลท์
- ไม่ควรใช้สายไฟหรือเครื่องมือเช่น ไขควง ต่อวงจรสตาร์ทแทนสวิทช์กุญแจ เพราะจะทำให้โซลีนอยด์ทำงานไม่สะดวก เกิดการกระแทกต่อเนื่องกันหลายครั้ง อาจทำให้โซลีนอยด์เกิดการชำรุดเสียหายได้
- มอเตอร์สตาร์ทไม่ควรมีสิ่งสกปรกหรือคราบน้ำมันติดอยู่เพราะจะทำให้ซี่คอมมิวเตอร์และแปรงถ่านสกปรก มอเตอร์สตาร์ทจะทำงานไม่เต็มที่ หรือไม่หมุน เมื่อมีความจำเป็นต้องทำความสะอาดควรใช้น้ำมันระเหยตัวได้เร็ว เช่น น้ำมันเบนซิน เป็นต้น
- อย่าให้น้ำหรือละอองน้ำเข้ามอเตอร์สตาร์ทเพราะจะทำให้สปริงกดแปรงถ่านหรือส่วนอื่น ๆ ภายในมอเตอร์สตาร์ทเป็นสนิม แปรงถ่านอาจขัดตัว มอเตอร์สตาร์ทจะไม่หมุน
- ในกรณีมอเตอร์สตาร์ทไม่ทำงานควรตรวจสอบขั้วต่อสายต่าง ๆ เช่น ขั้วสายแบตเตอรี่ ขั้วบวกหรือขั้วลบอาจหลุดหลวม หรือแบตเตอรี่มีไฟไม่พอ
- ทุก 25,000 กิโลเมตร ควรถอดทำความสะอาดใส่จาระบีที่ลูกปืนหรือน้ำมันหล่อลื่นที่บู๊ช ถ้าแปรงถ่านสึกเกินครึ่งต้องเปลี่ยนใหม่ ตรวจแรงสปริงกดถ่านและซองแปรงถ่าน อย่าให้แปรงถ่านขัดตัว
เรื่อง: กองบรรณาธิการ
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th