ดีเซล หนึ่งในตัวการสร้างฝุ่น PM 2.5 ปกคลุมท้องฟ้าทั่วกรุง
หลายท่านคงจะเห็นสิ่งที่ปกคลุมท้องฟ้าทั่วทั้งกรุงเทพในปัจจุบันนี้ ตอนแรกก็คิดว่าหมอกยามเช้า แต่ที่ไหนได้มันกลับกลายเป็นฝุ่นมัจจุราช PM 2.5 ที่มันสามารถทำให้เราเจ็บป่วยได้ถ้าสูดดมเข้าไปเยอะๆอีกทั้งมันยังเป็นอนุภาคเล็กๆที่ผ้าปิดปากธรรมดาไม่สามารถป้องกันได้ แล้วมันเกิดจากอะไรละเรามารู้จักหนึ่งในตัวการที่สร้างเจ้า PM2.5 ขึ้นมาดีกว่า
ปัญหาด้านมลพิษจากไอเสียของเครื่องยนต์ดีเซลที่พบเห็นอยู่ทั่วไปบนถนนทั่วประเทศมาเป็นเวลานาน คือ ปัญหาควันดำจากยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลโดยควันดําจากไอเสียของเครื่องยนต์ดีเซล มีส่วนประกอบของสารพิษหลายชนิดทั้งในสถานะก๊าซและฝุ่นขนาดเล็ก เพียงแต่เมื่อก่อนเรายังไม่ได้สนใจเท่าที่ควร และเมื่อมีการก่อสร้างภายในตัวเมืองมากขึ้นก็ยิ่งทำให้เกิดฝุ่นและสารพิษมากขึ้นจนเกินค่ามาตรฐานและเป็นอันตรายต่อผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ฝุ่นควันพิษเกินค่ามาตรฐาน จึงมีการตื่นตัวขึ้นมารณรงค์อย่างที่เห็นในทุกวันนี้
เครื่องยนต์ดีเซล
เครื่องยนต์ดีเซลนิยมใช้ในการขับเคลื่อนยานพาหนะหรือใช้กับเครื่องมือในการทํางานประเภท งานหนัก (heavy duty) เป็นส่วนใหญ่ เช่น รถบรรทุก รถไฟ รถไถ เรือเดินสมุทร เครื่องกําเนิดพลังงาน เป็นต้น ส่วนหนึ่งของความนิยมในการใช้นํ้ามันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงสืบเนื่องมาจากเครื่องยนต์ดีเซลให้พลังงานสูง มีความประหยัด เชื้อเพลิงมีราคาถูก และเครื่องยนต์มีความทนทาน ความนิยมในการใช้ รถกระบะบรรทุกเป็นยานพาหนะเอนกประสงค์ของสังคมไทยเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพอากาศบริเวณริมถนนที่มีการสัญจรหนาแน่น ซึ่งในที่สุดจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่ได้รับสาร พิษในไอเสียของเครื่องยนต์ดีเซลที่ปลดปล่อยออกสู่บรรยากาศ
มลพิษจากไอเสียของเครื่องยนต์ดีเซล
ไอเสียที่ปล่อยจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซลที่มาจากทั้งการเผาไหม้ที่สมบูรณ์หรือเผาไหม้แบบไม่สมบูรณ์เมื่อนํามาวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางเคมีพบว่ามีองค์ประกอบซับซ้อนที่เป็นทั้งก๊าซและฝุ่นขนาดเล็กผสมปะปนกันอยู่ การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซลจะเป็นในลักษณะที่ไม่ผสมกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน (nonhomogeneous) นํ้ามันดีเซลจะถูกฉีดด้วยแรงดันเข้าไปในกระบอกสูบที่ถูกอัดอยู่ในขณะที่ตัวลูกสูบอยู่ในตําแหน่งของการเคลื่อนตัวแบบที่อยู่ในระยะเกือบสุดตัวในช่วงของการอัดอากาศในกระบอกสูบ ณ จุดนี้มีการผสมของเชื้อเพลิงกับอากาศเกิดขึ้น และจะมีการระเบิดเกิดขึ้นภายในกระบอกสูบเพื่อให้ได้พลังงานออกมาใช้ขับเคลื่อนกลไกต่าง ๆ
องค์ประกอบที่เป็นก๊าซจากการเผาไหม้รวมถึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์,ก๊าซที่มีองค์ประกอบของซัลเฟอร์, ไนโตรเจน, และไฮโดรคาร์บอน โมเลกุลตํ่าโดยมีสารหลายชนิดที่ถูกจัดว่า เป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปะปนอยู่ด้วยเช่น เบนซีน (benzene), ฟอร์มัลดีไฮด์(formaldehyde), โพลีไซคลิคอะโรมาติคไฮโดรคาร์บอน (polycyclic aromatic hydrocarbons or PAHs) เป็นต้น ปริมาณของสารประกอบซัลเฟอร์ที่เกิดขึ้นจะมาจากปริมาณของซัลเฟอร์ที่มีอยู่ในนํ้ามันดีเซลระหว่างการเผาไหม้สารประกอบซัลเฟอร์จะถูกออกซิไดซ์ กลายเป็นซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นกรดซัลฟูริคเมื่อทําปฏิกิริยากับนํ้าหรือไอนํ้าในอากาศ
ข้อมูลเกี่ยวกับดีเซลข้างต้นนั้นเป็นเครื่องยนรต์ดีเซลรุ่นเก่า แต่ในปัจจุบันทุกฝ่ายต่างร่วมกันพัฒนาจนรถยนต์ รถบรรทุกหนักในปัจจุบันมีการปล่อยค่าไอเสียที่ต่ำลงเยอะมากทีเดียวครับโดยรถทุกคันที่ผลิตออกขายในปัจจุบันจะต้องผ่านมาตรฐาน ยูโร4 ซึ่งช่วยให้รถยนต์ทั้งหลายทั้งเบนซิน และดีเซล ลดการปล่อยมลพิษสู่บรรยากาศได้เยอะขึ้นมาก แล้วมาตรฐานยูโร4 คืออะไร
มาตรฐาน EURO 4 คือการทดสอบหาปริมาณสารมลพิษจากรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กในประเทศไทยซึ่งเป็นการทดสอบที่ช่วยลดมลพิษทางอากาศ รวมไปถึงผลกระทบต่างๆ ที่เกิดจากมลพิษ ด้วยการทดสอบหาปริมาณสารมลพิษไอเสียของรถยนต์ และกำหนดให้ปริมาณสารมลพิษไอเสียอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน EURO 4 แบ่งการทดสอบรถยนต์ออกเป็น 2 ชนิดตามลักษณะเครื่องยนต์ได้ ดังนี้
- รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ที่จุดระเบิดด้วยประกายไฟ
- รถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์ที่จุดระเบิดด้วยการอัด
เครื่องยนต์ที่ใช้จุดระเบิดด้วยวิธีใช้ประกายไฟแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
- ชนิดเชื้อเพลิง น้ำามันเบนซิน และหรือแก๊สโซฮอล์
- ชนิดเชื้อเพลิง น้ำมันเบนซินหรือแก๊สโซฮอล์ร่วมกับก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซปิ โตรเลียมเหลว
- พลังงานจากเชื้อเพลิงและอุปกรณ์สะสมกำลังพลังงานไฟฟ้า เช่น แบตเตอรี่ ตัวเก็บประจุ ล้อช่วยแรงเครื่อง
กำเนิดไฟฟ้าใช้ในการขับเคลื่อนทางกล (Hybrid) นั้นเอง
เครื่องยนต์ที่ใช้จุดระเบิดด้วยวิธีใช้การอัดแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
- ชนิดเชื้อเพลิงน้ำมันดีเซล
- ชนิดเชื้อเพลิงน้ำมันดีเซลร่วมกับก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว
- พลังงานจากเชื้อเพลิงและจากอุปกรณ์สะสมกำลังพลังงานไฟฟ้า เช่น แบตเตอรี่ ตัวเก็บประจุ ล้อช่วยแรง
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าใช้ในการขับเคลื่อนทางกล (Hybrid)
ค่ามาตรฐานมีดังนี้
นั้นคือค่ามาตรฐานของเครื่องยนต์ในปัจจุบันที่ช่วยเรื่องมลพิษได้เยอะ แต่เหตุผลหลักที่ทำให้ฝุ่น PM2.5 ยังปกคลุมท้องฟ้าอยู่นั้นก็คือในประเทศไทยรถยนต์รุ่นเก่าเกิน 15-20 ปี ขึ้นไปก็ยังสามารถใช้งานและวิ่งได้ตามปกติแถมไม่มีการตรวจเช็คค่าไอเสียว่าเกินมาตรฐานหรือไม่อีกต่างหากแถมเยอะมากซะด้วย อีกทั้งยังเครื่องจักรในโรงงานอีกที่หลายแห่งไม่ผ่านมาตรฐานค่าไอเสียแต่ก็ยังใช้อยู่ได้ปกติ หลายประเทศถึงขนาดแบน และยกเลิก เครื่องยนต์ดีเซลกันเลยทีเดียว ไม่ก็ห้ามรถยนต์เกิน 10 ปี วิ่งเข้ามาในตัวเมือง อย่าให้ต้องถึงขนาดนั้นกันเลย แล้วประเทศไทยละเราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรมันขึ้นอยู่กับภาครัฐ และพวกเราทุกคนแล้วละครับถ้าเราร่วมมือกันคนละนิดปล่อยไอเสียให้น้อยลงหน่อย อาจจะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ไม่มากก็น้อย คงได้แต่หวังว่าสักวันอากาศในประเทศไทยจะสดใสกว่านี้พวกเราจะได้หายใจได้เต็มปอดซะที
เรื่อง : ณัฐพล เดชสิงห์
ภาพ : Postjung / greennews.agency
ข้อมูลจาก :data.thaiauto.or.th /dss.go.th
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานต์ยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th