ขนส่ง เปิด— ต่อใบขับขี่ นอกเวลา ราชการถึง 6 โมงเย็น
ต่อใบขับขี่ นอกเวลาราชการ กรมการขนส่ง เตรียมเปิดให้บริการต่ออายุใบขับขี่ นอกเวลาราชการแล้ว โดยในวันธรรมดา (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) จะให้บริการตั้งแต่เวลา 08.30 – 18.00 น. เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม-30 กันยายน 2565
กรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา กรมการขนส่งทางบก มีความจำเป็นต้องจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการในแต่ละช่วงเวลาตามมาตรการ Social Distancing โดยใช้ระบบจองคิวล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue ทำให้สามารถรองรับจำนวนผู้ใช้บริการได้เพียงกึ่งหนึ่งของขีดความสามารถในการให้บริการของสำนักงานขนส่ง ทำให้ปัจจุบันมีการจองคิวล่วงหน้าเป็นจำนวนมาก แต่หลังรัฐบาลได้มีการผ่อนคลายมาตรการ เริ่มเปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 จึงมีมาตราการเปิดให้บริการต่อใบขับขี่นอกเวลาราชการ
นอกจากวันธรรมดาที่สามารถต่ออายุใบขับขี่ได้ถึงเวลา 18.00 น. แล้ว ยังเปิดให้บริการในวันเสาร์ ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น. ตั้งแต่เดือน สิงหาคม – กันยายน 2565 เป็นระยะเวลา 2 เดือน ด้วย ณ สำนักงานขนส่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดท่องเที่ยว โดยเริ่มเปิดให้จองคิวเพื่อต่ออายุใบอนุญาตขับรถนอกเวลาราชการ ผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue ได้ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป สำหรับใครที่จองล่วงหน้าไว้แล้วสามารถจองใหม่ได้เลยโดยคิวเดิมจะถูกยกเลิกอัตโนมัติ
จองคิวต่อใบขับขี่ : dlt.go.th
วิธีการต่อใบขับที่ : ขั้นตอนต่อใบขับขี่ออนไลน์ ทำง่ายๆ บนสมาร์ทโฟน // ต่อใบขับขี่ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
เรื่อง: กองบรรณาธิการ
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th
ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ตามรูปแบบที่แพทยสภากำหนด เป็นหลักฐานประกอบการดำเนินการ ด้านใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ครอบคลุมทั้งการขอใหม่ การเปลี่ยนชนิด การต่ออายุ และการเปลี่ยนประเภท
ตามกฎกระทรวงการขอและการออกใบอนุญาตขับรถและการต่ออายุใบอนุญาตขับรถ พ.ศ. 2563 ซึ่งจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป นั้น กำหนดให้การขอรับและต่ออายุใบอนุญาตขับรถ ต้องมีเอกสารใบรับรองแพทย์ประกอบการดำเนินการ
ดังนั้นผู้ที่ต้องการดำเนินการด้านใบอนุญาตขับรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และใบอนุญาตผู้ประจำรถ ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ทุกชนิดทุกประเภท ต้องมีเอกสารใบรับรองแพทย์ เป็นหลักฐานประกอบการดำเนินการทุกครั้ง ประกอบด้วย การขอใหม่
กรณีไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถหรือใบอนุญาตผู้ประจำรถมาก่อน การเปลี่ยนชนิด การต่ออายุ และการเปลี่ยนประเภท โดยใบรับรองแพทย์นั้นต้องเป็นไปตามแบบมาตรฐานของแพทยสภา มีสองส่วนคือ ส่วนที่ผู้ขอรับรองสุขภาพตนเองและส่วนของแพทย์ตรวจรับรอง ซึ่งจะต้องแสดงให้เห็นว่าผู้นั้นไม่มีโรคประจำตัวหรือสภาวะของโรคที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเห็นว่าอาจเป็นอันตรายขณะขับรถตามที่แพทยสภากำหนด
การต่ออายุใบอนุญาตขับรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และใบอนุญาตผู้ประจำรถ ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก เดิมจะไม่มีการกำหนดให้ใช้เอกสารใบรับรองแพทย์
แต่ด้วยข้อเท็จจริงสมรรถภาพของร่างกายของผู้ขับรถมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัยที่เพิ่มมากขึ้นและอาจมีโรคประจำตัว หรืออาจมีเหตุให้สมรรถภาพของร่างกายบกพร่องจนไม่สามารถขับรถได้ จึงจำเป็นต้องกำหนดให้ผู้ขับรถเข้ารับการตรวจรับรองจากแพทย์ก่อนเบื้องต้น และจะมีการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายที่จำเป็นต่อการขับรถเมื่อมาติดต่อที่สำนักงานขนส่งทุกแห่ง ประกอบด้วย
การทดสอบการมองเห็นสี การทดสอบสายตาทางลึก การทดสอบสายตาทางกว้าง และการทดสอบปฏิกิริยา สำหรับใบรับรองแพทย์ตามแบบที่แพทยสภารับรอง โดยผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถหรือใบอนุญาตผู้ประจำรถ สามารถแจ้งวัตถุประสงค์ในการขอรับใบรับรองแพทย์
เพื่อให้แพทย์ออกใบรับรองแพทย์ให้ถูกต้องตรงกับวัตถุประสงค์การนำไปใช้และเป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด ส่วนในอนาคตจะมีการกำหนดสภาวะโรคที่ต้องห้ามในการขอรับใบอนุญาตขับรถเพิ่มเติมหรือไม่นั้น กรมการขนส่งทางบกจะประสานความร่วมมือกับแพทยสภาอย่างใกล้ชิดต่อไป
ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ตามรูปแบบที่แพทยสภากำหนด เป็นหลักฐานประกอบการดำเนินการ ด้านใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ครอบคลุมทั้งการขอใหม่ การเปลี่ยนชนิด การต่ออายุ และการเปลี่ยนประเภท
ตามกฎกระทรวงการขอและการออกใบอนุญาตขับรถและการต่ออายุใบอนุญาตขับรถ พ.ศ. 2563 ซึ่งจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป นั้น กำหนดให้การขอรับและต่ออายุใบอนุญาตขับรถ ต้องมีเอกสารใบรับรองแพทย์ประกอบการดำเนินการ
ดังนั้นผู้ที่ต้องการดำเนินการด้านใบอนุญาตขับรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และใบอนุญาตผู้ประจำรถ ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ทุกชนิดทุกประเภท ต้องมีเอกสารใบรับรองแพทย์ เป็นหลักฐานประกอบการดำเนินการทุกครั้ง ประกอบด้วย การขอใหม่
กรณีไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถหรือใบอนุญาตผู้ประจำรถมาก่อน การเปลี่ยนชนิด การต่ออายุ และการเปลี่ยนประเภท โดยใบรับรองแพทย์นั้นต้องเป็นไปตามแบบมาตรฐานของแพทยสภา มีสองส่วนคือ ส่วนที่ผู้ขอรับรองสุขภาพตนเองและส่วนของแพทย์ตรวจรับรอง ซึ่งจะต้องแสดงให้เห็นว่าผู้นั้นไม่มีโรคประจำตัวหรือสภาวะของโรคที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเห็นว่าอาจเป็นอันตรายขณะขับรถตามที่แพทยสภากำหนด
การต่ออายุใบอนุญาตขับรถ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และใบอนุญาตผู้ประจำรถ ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก เดิมจะไม่มีการกำหนดให้ใช้เอกสารใบรับรองแพทย์
แต่ด้วยข้อเท็จจริงสมรรถภาพของร่างกายของผู้ขับรถมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัยที่เพิ่มมากขึ้นและอาจมีโรคประจำตัว หรืออาจมีเหตุให้สมรรถภาพของร่างกายบกพร่องจนไม่สามารถขับรถได้ จึงจำเป็นต้องกำหนดให้ผู้ขับรถเข้ารับการตรวจรับรองจากแพทย์ก่อนเบื้องต้น และจะมีการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกายที่จำเป็นต่อการขับรถเมื่อมาติดต่อที่สำนักงานขนส่งทุกแห่ง ประกอบด้วย
การทดสอบการมองเห็นสี การทดสอบสายตาทางลึก การทดสอบสายตาทางกว้าง และการทดสอบปฏิกิริยา สำหรับใบรับรองแพทย์ตามแบบที่แพทยสภารับรอง โดยผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถหรือใบอนุญาตผู้ประจำรถ สามารถแจ้งวัตถุประสงค์ในการขอรับใบรับรองแพทย์
เพื่อให้แพทย์ออกใบรับรองแพทย์ให้ถูกต้องตรงกับวัตถุประสงค์การนำไปใช้และเป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด ส่วนในอนาคตจะมีการกำหนดสภาวะโรคที่ต้องห้ามในการขอรับใบอนุญาตขับรถเพิ่มเติมหรือไม่นั้น กรมการขนส่งทางบกจะประสานความร่วมมือกับแพทยสภาอย่างใกล้ชิดต่อไป