ผลวิจัยชี้เด็กดื้อกระทบการขับรถของผู้ปกครอง
บางทีปัจจัยต่อความปลอดภัยในการเดินทางอาจไม่ได้มากจากเฉพาะแค่สภาพของผู้ขับหรือผู้ใช้รถคันอื่นบนถนนเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับผู้ที่นั่งร่วมไปในรถด้วยโดยเฉพาะผู้ร่วมทางที่เป็นเด็ก เพราะมีการวิจัยใหม่ที่จัดโดย Nissan ที่ระบุว่ามากกว่า 6 ใน 10 หรือ 63 เปอร์เซ็นต์ของครอบครัวในยุโรปที่ยอมรับว่าพวกเขาต้องใช้ความพยายามมากขึ้นที่จะให้ความสนใจต่อถนนด้านหน้าอย่างเต็มที่ เมื่อลูกๆ ที่นั่งอยู่ในรถมีอาการดื้อหรือมีพฤติกรรมไม่ดี และที่หนักกว่านั้นคือ 1 ใน 3 ของผู้ใหญ่หรือประมาณ 29 เปอร์เซ็นต์ที่เปิดเผยว่าพวกเขารู้ตัวว่าจากพฤติกรรมไม่น่าพึงปราถนาของด็กทำให้ความปลอดภัยในการอยู่หลังพวงมาลัยของพวกเขาลดลง
พฤติกรรมไม่น่าพึงปราถนาสูงสุดของเด็กเมื่ออยู่ในรถคือการร้องไห้หรือร้องตะโกนกับจำนวน 65 เปอร์เซ็นต์ ตามมาด้วยการทะเลาะกันของพี่น้องหรือเพื่อนที่เบาะหลัง, เตะที่ด้านหลังเบาะผู้ขับ, และขว้างปาของเล่นในรถ ซึ่งไม่น่าแปลกใจที่จากพฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้ผู้ปกครองบอกว่าพวกเขามักรู้สึกเครียดและรำคาญเป็นประจำเมื่อลูกๆ อยู่ในรถ รวมทั้งยอมรับว่าทำให้ต้องไปถึงที่หมายช้ากว่าปกติหรือด้วยอารมณ์ที่เสียจากการที่ต้องสู้รบกับเพื่อนร่วมทางตัวน้อยหรือระบายอารมณ์กับผู้ร่วมทางคันอื่น
มีหลายรายงานที่แสดงว่าผู้ปกครองต้องพยายามใช้วิธีต่างๆ เพื่อลดอันตรายและการสูญเสียสมาธิเมื่อขับรถโดยมีเด็กอยู่ด้วย โดย 15 เปอร์เซ็นต์เลี่ยงการใช้มอเตอร์เวย์หรือถนนที่มีความวุ่นวายในการจราจรเมื่อขับรถโดยมีเด็กไปด้วย ในขณะที่ 37 เปอร์เซ็นต์ใช้แท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟนเพื่อดึงความสนใจของเด็ก ใช้ของเล่น 41 เปอร์เซ็นต์ มี 53 เปอร์เซ็นต์ที่ใช้การร้องเพลง และ 22 เปอร์เซ็นต์ที่ทำให้เด็กเงียบด้วยขนม
บรรดาผู้ปกครองบอกว่าด้วยพฤติกรรมของเด็กที่ดึงความสนใจในรถทำให้พวกเขาต้องละสายตาจากถนนรวมทั้งละมือของพวกเขาจากพวงมาลัย นอกจากนี้พวกเขายังบอกว่าพวกเขาเคยขับฝ่าไฟแดงเนื่องจากลืมที่จะสังเกตสัญญาณไฟ เคยเบรกกะทันหัน เบี่ยงออกไปอีกเลน และแม้แต่เคยต้องหยุดรถจนนิ่งสนิท ซึ่งด้วยสิ่งเหล่านี้ทำให้บรรดาผู้ปกครองต้องเปิดใช้เทคโนโลยีในรถยนต์มากขึ้นเพื่อช่วยให้การเดินทางมีความปลอดภัย จนการวิจัยชี้ว่าการหลีกเลี่ยงการสูญเสียสมาธิในขณะขับรถเป็นหนึ่งในปัจจัยสำหรับผู้ปกครองเมื่อเลือกรถที่จะซื้อ โดย 1 ใน 3 หรือ 34 เปอร์เซ็นต์บอกว่าพวกเขาจะมองหาระบบช่วยในการขับเมื่อเลือกรถคันต่อไปของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นระบบเบรกอัตโนมัติฉุกเฉิน, ระบบเตือนเมื่อรถเบี่ยงจากเลน และระบบควบคุมความเร็วที่ปรับความเร็วเพื่อรักษาระยะห่างของรถคันหน้าหรือ Adaptive Cruise Control
Jean-Philippe Roux ผู้จัดการทั่วไปด้านรถครอสส์โอเวอร์ Nissan ยุโรปบอกว่า “ผู้ปกครองทั่วไปรู้ว่าการออกไปข้างนอกของครอบครัวไม่ใช่แค่นั้นเสมอไป เพราะผู้โดยสารตัวน้อยมักมีเรื่องประหลาดใจเสมอเมื่อคุณพยายามจะสนใจกับถนน ซึ่งสามารถสร้างช่วงเวลาที่เครียดให้แก่ผู้ปกครองที่อยู่หลังพวงมาลัยได้ ในขณะที่การขับรถอย่างปลอดภัยและมีสมาธิอยู่กับถนนควรเป็นสิ่งที่มาก่อนสิ่งอื่นโดยไม่ควรมีสิ่งใดมาแทนที่ อย่างไรก็ตามการรู้ว่ารถของคุณถูกติดตั้งเทคโนโลยีที่สามารถคาดการณ์และป้องกันสถานกาณณ์ที่อาจเกิดอันตรายจะช่วยสร้างความรู้สึกที่ผ่อนคลายได้เมื่ออยู่ในรถ เพราะจะช่วยดึงให้ผู้ขับหันมาสนใจถนนข้างหน้าได้”
ความจริงเกี่ยวกับเด็กและความเครียดในรถ
-ผู้ปกครองใช้เวลาประมาณ 2 ชม. 54 นาทีในรถกับลูกๆ ในแต่ละสัปดาห์ หรือเทียบได้กับ 6 วันทุกปี
-1 ใน 5 หรือ 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้ปกครองที่บอกว่าพฤติกรรมของลูกๆ อยู่ในระดับแย่ที่สุดเมื่ออยู่ในรถ นำหน้าในขณะแต่งตัวไปโรงเรียน เมื่อไปซูเปอร์มาร์เก็ต และตอนเข้านอน
-67 เปอร์เซ็นต์ของแม่พบว่ายากที่จะมีสมาธิเมื่อขับรถโดยที่มีเด็กที่มีพฤติกรรมไม่ดีอยู่ในรถ ในขณะที่ 57 เปอร์เซ็นต์ของพ่อพูดในสิ่งเดียวกัน
-ประสิทธิภาพการขับรถของแม่จะลดลงมากเพราะพฤติกรรมของลูกๆ โดยมี 24 เปอร์เซ็นต์ที่ส่งกุญแจให้คนอื่นขับแทน ขณะที่ในส่วนของพ่อจะอยู่ที่ 12 เปอร์เซ็นต์
เรื่อง: กองบรรณาธิการ
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th