มาเรียนรู้การทำงานของระบบเกียร์ CVT
ชั่วโมงนี้ความนิยมเรื่องเกียร์ในรถรุ่นใหม่ๆ ต้องยกให้กับระบบเกียร์ CVT เพราะอย่างที่เรารู้กันอยู่ว่านอกจากนุ่มนวลแล้ว ยังสามารถตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตประจำวันได้ดีอีกด้วย แต่ทราบรึเปล่าว่า ระบบเกียร์ CVT ทำงานอย่างไร เรามีคำคอบ
เกียร์ CVT ย่อมาจาก Continuously Variable Transmission ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “ระบบส่งกำลัง แบบอัตราทดแปรผัน” ระบบนี้ จะไม่มีเฟืองเกียร์เป็นอัตราทดชุดต่าง ๆ แยกเป็นจังหวะ เหมือนระบบเกียร์ออโต้แบบปกติแล้ว (Torque Converters) แต่เป็นเกียร์ที่จะเปลี่ยนแปลงการทำงานตามกำลังที่ส่งมาจากเครื่องยนต์ ซึ่งในชุดเกียร์จะประกอบด้วย พูลเลย์ 2 ตัว ตัวแรกต่อกับเครื่องยนต์เรียกว่า พูลเล่ย์ขับ (DRIVE PULLEY) ส่วนตัวที่ต่อกับเพลาจะเรียกว่า พูลเลย์ตามหรือพูลเล่ย์กำลัง (DRIVEN PULLEY) โดยทั้งสองตัวจะทำงานสอดคล้องกันตามอัตราเร่งและรอบเครื่องยนต์
ในส่วนของเกียร์ CVT ในรถยนต์นั้น จะไม่มีชุดเฟืองในแต่ละเกียร์ แต่จะปรับอัตราทดด้วยการเปลี่ยนขนาดของพูลเล่ย์ให้เป็น พูลเลย์ขับเล็ก พูลเลย์ตามใหญ่ เพื่อให้ได้แรงบิดในการออกตัว จะมีหลักการปรับเปลี่ยนอัตราทดจากพูลเล่ย์ ที่จะขยายใหญ่หรือลดขนาดไปตามอัตราทดที่ต้องการ โดยใช้สายพานโลหะเป็นตัวเชื่อมการทำงานของพูลเลย์ทั้ง 2 อันไว้ด้วยกัน ซึ่งระบบการปรับขนาดของพูลเล่ย์นี้มีทั้งแบบทำงานโดยไฟฟ้าและไฮดรอลิก ทำให้ไม่มีความรู้สึกในการปรับเปลี่ยนอัตราทดในเกียร์ CVT
ส่งผลให้เกียร์ CVT ไม่มีความรู้สึกถึงการกระชาก หรือกระตุกในจังหวะเปลี่ยนเกียร์ แต่จะค่อย ๆ ไต่ความเร็วขึ้นไปเรื่อย ๆ อย่างนุ่มนวล ในขณะเดียวกันข้อดีของการที่เกียร์ไม่กระชาก จะทำให้รอบเครื่องไม่กระชากตามไปด้วย ส่งผลให้ทำให้อัตราการบริโภคน้ำมันลดลง สำหรับคนที่สงสัยว่าทำไมเกียร์ CVT ถึงมีการแบ่งจังหวะเกียร์ ของเรียนตามตรงดังนี้คือการดีไซน์ เพราะเกียร์ CVT สามารถแบ่งจังหวะถึง 100 จังหวะก็ได้
เรื่อง: กองบรรณาธิการ
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th