รู้ยัง !! น้ำมันเกียร์ออโต้ ต้องเปลี่ยน ก่อนพัง
ปัจจุบันผู้ใช้รถยนต์หันมาใช้รถยนต์ที่เป็นเกียร์อัตโนมัติ หรือ เกียร์ ออโต้ กันมากขึ้น แถมรถยนต์สมัยนี้ส่วนมากก็จะเป็นเกียร์ออโตซะด้วยถึงขนาดบางรุ่นไม่มีเกียร์ธรรมดา เนื่องมาจากความสะดวกสบายในการขับขี่ แต่เมื่อได้ความสะดวกสบาย เราจึงควรดูแลเกียร์ออโตเมติกให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอ และสิ่งสำคัญที่มักถูกมองข้ามจากผู้ขับขี่หลายๆ ท่าน คือการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์อย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าเรามองข้ามมันไปจะส่งผลที่ร้ายแรงจนคุณจะต้องเสียสตางค์หลายบาทเลยทีเดียว อาจถึงขั้นกระเป๋าฉีกกันเลย มารู้จักน้ำมันเกียร์ กันก่อนเลย หน้าที่ของน้ำมันเกียร์ออโตเมติก โดยหลัก ๆ แล้วจะทำหน้าที่ถ่ายทอดกำลังไฮโดรลิก ในการสั่งควบคุมระบบต่าง ๆ ในห้องเกียร์ ไม่ว่าจะเป็นคลัตซ์ ทอร์คคอนเวอร์เตอร์ หล่อลื่นและระบายความร้อนชิ้นส่วนภายในต่าง ๆ ทั้งนี้เมื่อน้ำมันเกียร์ออโตเมติกเริ่มเสื่อมสภาพ ก็จะส่งผลให้เกิดการสึกหรอสูงจนเกิดการเสียหายในที่สุด
คุณสมบัติน้ำมันเกียร์ออโตเมติก มีความหนืดที่พอเหมาะ คงความข้นใสได้ในทุกช่วงอุณหภูมิ สามารถแทรกผ่านได้ทุกส่วนภายในห้องเกียร์ไม่ว่าจะเป็นช่องว่างระหว่างแผ่นคลัตซ์ และวาล์วต่าง ๆ ไม่เป็นฟอง ป้องกันความชื้นและการเกิดสนิมได้ดี ทนความร้อนได้สูงโดยไม่เสื่อมสภาพ และต้องไม่ติดไฟ ไม่กัดกร่อนชิ้นส่วนภายในห้องเกียร์ทั้ง โลหะ ยาง ละพลาสติก
ชนิดน้ำมันเกียร์ออโต้
1.น้ำมันเดกซ์รอน II โดยจะลื่นมากกว่าน้ำมันเดกซ์รอน F ทำให้เมื่อมีการเปลี่ยนเกียร์จะรู้สึกนิ่มมากกว่า
2.น้ำมันเดกซ์รอน F เหมาะสำหรับเกียร์อัตโนมัติที่มีระบบล็อกของทอร์คคอนเวอร์เตอร์เพื่อป้องกันการลื่นของคลัตซ์เป็นน้ำมันกียร์ที่เพิ่มประสิทธิภาพทางความฝืดสูง
ตัวอย่างน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ
1. ATF Dexron II ใช้สำหรับเกียร์อัตโนมัติของรถยนต์ทั่วไป และใช้สำหรับเกียร์ผ่อนำกำลัง
2. โดแนกซ์ TM ใช้สำหรับเกียร์อัตโนมัติ เกียร์ธรรมธรรมดา เกียร์รถบรรทุก เครื่องจักรหนัก
3. โดแนกซ์ TT ใช้สำหรับระบบเกียร์ไฮดรอลิกเฟืองท้าย และระบบ wet brak รถแทรกเตอร์ในการเกษตร
4. โดแนกซ์ TF ใช้สำหรับระบบเกียร์อัตโนมัติรถยนต์ทั่วไป สำหรับประเภท Type F หรือ Type G
5. แทรกเซิล ใช้สำหรับระบบเกียร์ไฮดรอลิกเฟืองท้าย และระบบเบรกที่จุ่มในน้ำมัน สำหรับรถแทรกเตอร์การเกษตร
เมื่อรู้จักน้ำมันเกียร์กันคร่าวๆไปแล้ว เรามาดูเทคนิคการตรวจวัดน้ำมันเกียร์กันบ้าง
1.ดึงเบรกมือ ติดเครื่องยนต์ 2-3 นาที
2.เหยียบเบรก โยกคันเกียร์ไปตำแน่งต่าง ๆ ให้ครบทุกตำแหน่งก่อนหยุดที่ตำแหน่ง P
3.ดึงก้านวัดน้ำมันเกียร์ ออกมาเช็ดด้วยผ้าสะอาด
4.เสียบก้านวัดลงไปใหม่แล้วดึงขึ้นมาอ่านค่า
5.สังเกตระดับน้ำมันเกียร์ที่ก้านวัด จะต้องไม่ต่ำกว่าขีดล่าง(cool) ในกรณีเครื่องเย็น และไม่สูงเกินขีดบน(hot) ในขณะเครื่องร้อน
6.หากน้ำมันเกียร์ต่ำกว่าระดับที่กำหนด ต้องหาน้ำมันเกียร์เกรดที่ผู้ผลิตกำหนดมาเติม (ดูได้จากคู่มือรถ)โดยไม่จำเป็นต้องยี่ห้อเดียวกันก็ได้
7.น้ำมันเกียร์บอกสภาพของเกียร์ ได้ โดยเกียร์ที่สมบูรณ์ น้ำมันเกียร์จะต้องมีสีแดงหรือเหลือง สะอาด ไม่เป็นฟอง-ไม่มีเศษโลหะ
8.หากน้ำมันเกียร์มีสีขุ่น ๆ คล้ายโคลน แสดงว่ามีการรั่วซึมของระบบน้ำหล่อเย็นออยเกียร์เข้าไปในระบบเกียร์ ให้รีบหาต้นเหตุแล้วซ่อม ร่วมทั้งเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ใหม่ด้วย
9.การตรวจวัดน้ำมันเกียร์จะต้องอยู่ในระดับที่กำหนด ไม่มากหรือน้อยเกินไป ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้
แม้คู่มือรถยนต์ของท่านจะกำหนดให้เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ที่ทุก 40,000 กิโลเมตร แต่อย่าลืมว่าเมืองไทยเป็นเมืองร้อน แถมการใช้รถในเมืองใหญ่ที่มีสภาพการจราจรติดขัด เพื่อให้ได้การปกป้องสูงสุดขอแนะนำให้ท่านเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ทุก 1 ปี หรือ 20,000 กิโลเมตร
เรื่อง : ณัฐพล เดชสิงห์
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก : มาสเตอร์ มอเตอร์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด