ส่องประวัติ “สะพานข้ามแยกเกษตร”
เหลือแค่ชื่อเป็นที่เรียบร้อยสำหรับสะพานข้ามแยกเกษตร เพราะในอนาคตจะเป็นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว (เหนือ) นั่นเอง การก่อสร้างสะพานข้ามแยกเกษตรเริ่ม ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 สมัยผู้ว่ากทม.พลตรีจำลอง ศรีเมือง ขณะนั้นยังเป็น 3 แยกเกษตร ยังไม่มีอุโมงค์ลอดแยกเกษตร ยังไม่มีเส้นเกษตร-นวมินทร์ จนถึงปัจจุบัน 23 ปีแล้ว
สาเหตุที่มีการสร้างสะพานข้ามแยกเกษตรคือสมัยนั้นรถติดมากยิ่งกว่าปัจจุบัน และยังไม่มีสะพานข้ามแยก มีแต่ทางด่วนขั้นที่1 เท่านั้น แล้วต้องใช้เวลาสร้างให้เร็วที่สุด ใช้เวลาสร้าง 4 เดือนครึ่ง มีความยาว 1,300 เมตร กว้าง 3 ช่อง จราจร ช่องละ3.50 เมตร รวมคันหินสองด้าน กว้างทั้งหมด11.75 เมตร และดูแลต่อ 2 ปี จากนั้นเป็นส่วนความรับผิดชอบของสำนักการโยธา หลังเปิดใช้สะพานประชาชนต่างก็ดีใจมาก มีประชาชนมารอใช้สะพานตั้งแต่ตี 5 บีบแตรเป็นสัญลักษณ์ในการใช้สะพาน ทั้งนี้ก็ได้ก่อสร้างสะพานข้ามแยกรัชโยธินมาเช่นเดียวกัน สร้างตั้งแต่ ปี 2533 ผ่านมา 25 ปีแล้ว เป็นสะพานแรกที่ข้ามแยกในกลุ่ม15 สะพานตามนโยบายของกทม.
เมื่อมีการทุบสะพานทิ้งแล้ว ปัญหารถติดอาจจะติดหนักกว่าเดิม เพราะการรื้อสะพานรัชโยธินจะมีผลกระทบต่อการจราจร ปัจจุบันมีรถที่ใช้สะพานนี้อยู่ที่ 1.6 แสนคัน/วัน โดยทาง รฟม. มีแผนก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดทางแยกในแนวถนนรัชดาภิเษกทดแทน มูลค่า 1.5 พันล้านบาท โดยใช้เวลาก่อสร้าง 24 เดือน เริ่มต้นตั้งแต่ 26 ม.ค. 2560 และเปิดใช้ 9 ก.พ. 2562 เพื่อลดผลกระทบด้านการจราจรอันเนื่องมาจากการปิดรื้อสะพานรัชโยธินดังกล่าวให้น้อยที่สุด
เรื่อง : สุทธินี วงค์นาญาติ
ขอบคุณข้อมูล : posttoday, www.matichon.co.th
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th