อันตรายจาก PM 2.5 ที่มีต่อกระดูก
เมื่อปีที่แล้วประเด็นเรื่อง PM 2.5 ถือเป็นเรื่องราวที่สร้างความตื่นตระหนกให้กับคนไทย โดยเฉพาะคนในเมืองกรุงได้เป็นอย่างดี เพราะความไม่รู้และน่าจะเป็นครั้งแรกๆ เลยที่ปัญหานี้ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างจริงจัง แน่นอนว่าเรารู้ถึงต้นตอของปัญหาและตัวการที่ก่อให้เกิด PM 2.5 กันแล้ว แต่ทว่ามีอีกสิ่งที่เราอาจจะยังไม่ทราบคือ ผลกระทบของ PM 2.5 ที่มีต่อร่างกายของพวกเรา…
นอกเหนือไปจากเรื่องของระบบหายใจ
ตรงนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ และเรามักจะคิดว่า PM 2.5 ที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์ดีเซลนั้น จะมีผลต่อร่างกายของเราก็แค่เรื่องของระบบทางเดินหายใจเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วมีงานวิจัยอื่นๆ พูดขึ้นมาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องของผลกระทบที่มีต่อส่วนอื่นๆ ของร่างกายด้วย และหนึ่งในนั้นคือ เรื่องของกระดูก
มีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของฝุ่น PM2.5 จากสถานที่ 23 แห่งโดยรอบเมืองไฮเดอราบัดของอินเดีย กับความหนาแน่นของแร่ธาตุในมวลกระดูกสะโพกและกระดูกสันหลังของชาวอินเดีย 3,700 คน ที่อยู่อาศัยในบริเวณดังกล่าว ซึ่งคนเหล่านี้มีอายุโดยเฉลี่ย 35.7 ปี โดยคนหนุ่มสาววัย 20-30 ปี ซึ่งอยู่ในช่วงที่มวลกระดูกสะสมตัวจนมีความหนาแน่นและแข็งแกร่งสูงสุดในชีวิต อาจจะได้รับผลกระทบจากมลพิษในครั้งนี้ได้
ทีมผู้วิจัยพบว่า เมื่อฝุ่น PM2.5 เพิ่มขึ้นทุก 3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูกของประชากรทั้งหญิงและชายจะลดลง 0.011 กรัมต่อตารางเซนติเมตรในกระดูกสันหลัง และลดลง 0.004 กรัมต่อตารางเซนติเมตรสำหรับกระดูกสะโพก ทั้งยังพบว่า ผงฝุ่นเขม่าดำ ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของฝุ่น PM2.5 มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับมวลกระดูกที่ลดลงด้วย
แม้จะยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่มลภาวะทางอากาศทำให้สุขภาพของกระดูกอ่อนแอลง แต่นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าการอักเสบภายในร่างกาย และภาวะไม่สมดุลระหว่างอนุมูลอิสระกับสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเกิดจากฝุ่น PM2.5 อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะกระดูกเสื่อมและโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ได้
งานนี้คงต้องมีการจัดการกับปัญหานี้กันอย่างจริงจังสักที โดยเฉพาะควันดำที่มาจากรถยนต์ดีเซลซึ่งเป็นผลมาจากเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ทำงานไม่สมบูรณ์ หรือเก่า ดังนั้นการใช้น้ำมันดีเซล B10 จะมีส่วนช่วยระดับหนึ่งสำหรับการลดปริมาณ PM 2.5 ในอากาศ
จากข้อมูล ณ ปัจจุบัน ประเทศไทยมีรถยนต์ดีเซลกว่า 10.5 ล้านคัน แบ่งเป็นรถที่ใช้น้ำมันดีเซล B10 ได้ 5.3 ล้านคัน ดังนั้น หากทุกคนร่วมด้วยช่วยกันหันมาใช้น้ำมัน B10 ทั้งหมด ก็จะช่วยลดมลพิษได้กว่า 40 – 50% ปัญหาฝุ่นพิษก็จะทุเลาเบาบางลง
PM 2.5 ที่มาจากบ้านเราโดยเฉพาะในกรุงเทพนั้นคือ ไอเสียของรถยนต์ดีเซลที่สันดาปไม่สมบูรณ์ คือเรียกง่ายๆ ก็แก่ และหมดอายุการใช้งานแล้ว
ดังนั้น กลุ่ม ปตท. ร่วมลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 โดยการจำหน่ายน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำ 10 PPM ซึ่งเป็นค่าที่ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ถึง 5 เท่า เป็นกรณีพิเศษผ่านคลังน้ำมันพระโขนงและสถานีบริการน้ำมันโดยเน้นพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวมกว่า 400 สถานี รวมทั้งจ่ายให้กลุ่มลูกค้าโรงงานอุตสาหกรรม และหน่วยงานราชการ ตั้งแต่ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 – 28 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่มักจะมีค่า PM 2.5 สูงเกินกว่ามาตรฐาน โดยคาดการณ์ว่าปริมาณการจ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 40 – 50 ล้านลิตรต่อเดือน ซึ่งจะช่วยแก้ไขและบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองที่เป็นภัยต่อสุขภาพอนามัยที่ดีของประชาชน
สำหรับน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำนั้นคือน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่มีค่ากำมะถันต่ำเฉลี่ย 10 PPM ซึ่งเป็นค่าที่ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ถึง 5 เท่า โดยการจำหน่ายจะโดยเน้นพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวมกว่า 400 สถานี รวมทั้งจ่ายให้กลุ่มลูกค้าโรงงานอุตสาหกรรม และหน่วยงานราชการ ตั้งแต่ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 – 28 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่มักจะมีค่า PM 2.5 สูงเกินกว่ามาตรฐาน โดยคาดการณ์ว่าปริมาณการจ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 40 – 50 ล้านลิตรต่อเดือน ดงนั้นการเปลี่ยนจากน้ำมันดีเซลพื้นฐานยูโร 4 มาเป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็วกำมะถันต่ำ ส่งผลให้ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ลดลง 19-21% และควันดำลดลง 19-40% เมื่อเทียบในสัดส่วนไบโอดีเซลที่เท่ากัน (จากผลการทดสอบของสถาบันนวัตกรรม ปตท. ในรถกระบะรุ่นเก่าอายุ 8 ปี และรถกระบะรุ่นใหม่อายุ 3 ปี)
หน้าหนาวมาเยือนแล้ว อากาศที่ปิด การก่อสร้าง และการเผาป่ารวมถึงปริมาณรถยนต์ที่อยู่บนท้องถนน ทุกปัจจัยยังอยู่ในกรุงเทพและเมืองไทยเหมือนเดิม สิ่งที่คงต้องทำคือระมัดระวังและป้องกันตัวเองจาก PM 2.5 ให้ดีๆ
เรื่อง : กองบรรณาธิการ
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRAND PRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th