แบตเตอรี่รถยนต์ มีกี่แบบต่างกันอย่างไร
แบตเตอรี่รถยนต์เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จำเป็นต่อรถยนต์เพราะถ้าไม่มีมันรถก็วิ่งไม่ได้ ดังนั้นเราจึงสมควรต้องเรียนรู้ว่ารถยนต์ที่เรารักนั้นใช้แบตเตอรรี่แบบไหน แล้วแต่ละแบบมันต่างกันอย่างไร การใช้งานเป็นแบบไหน วันนี้เรามาร็จักแบตเตอรี่รถยนต์กัน
1.แบตเตอรี่น้ำ
แบตเตอรี่น้ำแกะกล่องมาก็จะเจอฟรอย ร้านค้าก็จะแกะฟรอยเติมน้ำกรดลงไปให้ น้ำกรดที่ร้านค้าเติมลงไปก็จะอยู่ระหว่างขีดล่างกับขีดบน พอใช้งานไปเรื่อยๆแบตเตอรี่จะมีการสูญเสียน้ำ จึงต้องการการเติมน้ำกลั่นลงไป แต่การเติมน้ำกลั่นไม่ควรเติมเกินขีด upper แล้วควรเติมน้ำกลั่นเมื่อไหร่ แบตเตอรี่น้ำถ้าซื้อใหม่ๆ ประมาณ 3-4 เดือน หรือประมาณ 10,000 – 15,000 กิโลเมตร ค่อยเปิดเช็คตรั้งนึง แต่ถ้าใช้งานไปแล้วมากกว่า 6 – 8 เดือน ระยะเวลาในการดูต้องสั้นลงจาก 3-4 เดือน อาจจะเป็นเดือนละครั้ง สองเดือนครั้ง หรืออาจจะเปิดดูทุกๆ 5,000 กิโลเมตร เพราะว่าแบตเตอรี่น้ำเวลาใช้งานไปเรื่อยๆ พอแผ่นธาตุเริ่มมีความเสียหายการกินน้ำจะเยอะขึ้น อันนี้คือแบตเตอรี่น้ำ ไม่ว่าจะยี่ห้อไหนใช้วิธีการดูแลแบบนี้เลย
2.แบตเตอรี่ไฮบริด
แบตเตอรี่รถยนต์ แบบไฮบริดนี้ เป็นแบตเตอรี่รถยนต์แบบลูกผสมระหว่าง แบตเตอรี่กึ่งแห้ง และ แบตเตอรี่น้ำ สามารถตรวจเช็คระดับน้ำได้ง่ายเหมือน แบตเตอรี่รถยนต์น้ำ ทั่วไปแต่เหนือกว่าแบตเตอรี่น้ำด้วยค่าการสตาร์ทที่สูงกว่า และไม่ต้องเติมน้ำกลั่นบ่อยเท่ากับแบตเตอรี่น้ำ (ประมาณ 6-9 เดือน ดูระดับน้ำซักครั้งนึง) คาดว่าในอนาคต ข้างหน้าแบตเตอรี่ไฮบริด จะเข้ามาแทนที่แบตเตอรี่น้ำทั้งหมด
3.แบตเตอรี่กึ่งแห้ง
แบตเตอรี่กึ่งแห้งมันคือแบต MF หรือ Maintenance free แบตเตอรี่ชนิดนี้ดูแลน้ำกลั่นน้อยมากๆ ถ้าเทียบเป็นระยะเวลาก็ 3-4 เดือน ดูตาแมวสักครั้งนึง ถ้าตาแมวยังไม่ใช่เป็นสีแดง ก็ยังไม่ต้องไปยุ่งกับมัน แต่ถ้าดูเป็นเลขกิโลเมตรก็ 25,000 – 30,000 กิโลเมตร เปิดดูสักครั้งนึง วิธีการเปิดดูข้างบนจะเป็นสติกเกอร์เราสามารถลอกได้ พอลอกเสร็จปุ๊บจะมีฝาเรียบอยู่บนนี้ ให้เอาเหรียญสิบหรือเหรียญห้าบาทไข เพื่อเปิดดูหรือเปิดเช็คระดับน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ เสร็จแล้วเราก็ปิดและแปะสติกเกอร์คืนลงไปได้ อย่าลืมนะครับถ้าตาแมวยังไม่เปลี่ยนสถานะเป็นสีแดงไม่ต้องไปยุ่งกับมัน สำหรับแบตเตอรี่ชนิด MF ย้ำอีกทีมันคือแบตเตอรี่กึ่งแห้ง ยังต้องการการเติมน้ำกลั่นอยู่
4. แบตเตอรี่แห้ง
แบตเตอรี่ SMF ชื่อเต็มๆ คือ Sealed Maintenance Free เหลือว่าเราเรียกกันว่า แบตแห้ง จิงๆแล้วไม่ได้แห้งข้างในมีน้ำกรดอยู่ แต่ที่คนไทยติดปากเรียกเพราะว่ามันไม่สามารถเปิดเติมน้ำกลั่นได้ แบตเตอรี่ชนิดนี้คุณใช้งานไปเลย ใช้จนพังน้ำก็ไม่แห้ง โดยเราจะดูได้จากสถานะตาแมวด้านบน
5. แบตเตอรี่ Start Stop
แบตเตอรี่แบบ EFB เป็นแบตเตอรี่อยู่ในกลุ่ม SMF เช่นเดียวกัน ปิดสนิทไม่มีฝาเปิดเติมน้ำ แต่เป็นแบตเตอรี่ที่เกิดมาเพื่อใช้กับรถที่มีระบบ Start Stop และระบบ Alternator Management System หรือไดชาร์จอัจฉริยะ EFB ย่อมาจาก Enhance Flood Battery แบตเตอรี่ชนิดนี้ออกแบบแผ่นธาตุข้างในให้แข็งแรงเพื่อที่รองรับการทำงานในรถที่ต้องสตาร์ทเครื่องบ่อย ในรถที่ไดชาร์จไม่ได้ชาร์จตลอดเวลา นี่คือ EFB ถัดมาเป็นแบตเตอรี่ AGM ชื่อเต็มๆคือ Absorbent Glass Mat Battery เป็นแบตเตอรี่ SMF เหมือนกัน แต่เป็นแบตเตอรี่ที่คนไทยจะติดปากว่าคือแบตเตอรี่เจล แต่จิงๆ แล้วเป็นใยแก้วที่ดูดซับน้ำกรดไว้ข้างใน แบตชนิดนี้ข้อดีคือ น้ำกรดไม่ได้อยู่ในสถานะของเหลว สามารถวางนอนได้ 180องศา โดยที่ไม่มีน้ำหกออกมา และด้วยขั้ว ที่เป็นขั้วจมเพราะฉะนั้นเหมาะอย่างยิ่งสำหรับรถยุโรป ที่ใช้แบตเตอรี่ขั้วจมมาอยู่แล้ว
เรื่อง : ณัฐพล เดชสิงห์
ภาพ : www.offsitebattery.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานต์ยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th