10 ถนนรถติดที่สุดในประเทศไทย
กรุงเทพมหานครเมืองหลวงของไทย ประเทศที่มีรถติดที่สุดอันดับต้นๆของโลก โดยผู้ใช้รถใช้ถนนเสียเวลากับรถติดมากกว่า 61 ชั่วโมงต่อปี อ้างอิงจากผลสำรวจจาก INRIX และยังชี้ด้วยว่าแทบไม่มีทางกำจัดปัญหารถติดนี้ได้อย่างถาวรเลย เรามาดู 10 อันดับ เส้นทางในกรุงเทพฯ ที่มีรถติดมากที่สุดกัน
อันดับ 10 – ถนนรามอินทรา
ย่านรามอินทราเป็นย่านที่มีประชากรหนาแน่น สภาพการจราจรมักจะติดในช่วงเวลาเช้าและเย็นของวันธรรมดา เพราะเป็นเส้นทางเข้าออกนอกเมือง ผู้คนที่ทำงานในเมืองต่างกลับบ้านเส้นทางนี้
- เริ่มจากวงเวียนอนุสาวรีย์หลักสี่ ตัดออกไปทางตะวันออกเฉียงใต้
- ผ่านแยกถนนลาดปลาเค้า
- ตัดกับถนนประดิษฐ์มนูธรรมและทางพิเศษฉลองรัช
- แล้วเข้าสู่เขตคันนายาว
- ผ่านแยกถนนนวมินทร์
- ตัดกับถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก
- ผ่านแยกถนนรัชดาภิเษก–รามอินทรา
- ข้ามคลองบางชันเข้าสู่เขตมีนบุรี
- และสิ้นสุดที่แยกมีนบุรี
อันดับ 9 – ถนนเกษตร-นวมินทร์
ถนนเกษตร-นวมินทร์ หรือ ถนนประเสริฐมนูกิจ เป็นเส้นที่แออัดไปด้วยหมู่บ้าน ห้างสรรพสินค้า ตลาดนัดของวัยรุ่น และยังเป็นถนนที่มีไฟแดงเยอะอีกด้วย จึงทำให้มีสภาพการจราจรที่ติดขัดอยู่เสมอ
- เริ่มจากบริเวณถนนงามวงศ์วานตัดกับถนนพหลโยธินที่สี่แยกเกษตร
- มุ่งไปทางทิศตะวันออกพื้นที่เสนานิคม
- ข้ามคลองบางบัวเข้าสู่พื้นที่เขตลาดพร้าวในแขวงจรเข้บัว
- ตัดกับถนนลาดปลาเค้า
- จากนั้นมุ่งไปทางแขวงลาดพร้าว ตัดกับถนนสุคนธสวัสดิ์และถนนประดิษฐ์มนูธรรม
- เข้าสู่พื้นที่แขวงนวมินทร์
- ตัดกับถนนรัชดา-รามอินทรา
- ซ้อนกับแนวปากทางถนนนวลจันทร์
- ตัดกับถนนนวมินทร์
- ก่อนไปสิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3902 (ถนนคู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านใน)
อันดับ 8 – ถนนลาดพร้าว
พูดถึงลาดพร้าวผู้คนส่วนใหญ่มักคิดถึงสภาพการจราจรที่ติดขัดในทันที อีกทั้งยังมีการก่อสร้างอยู่ตลอดจึงทำให้รถติดโดยเฉพาะเวลาเร่งด่วน (ในปี พ.ศ. 2556 ถนนลาดพร้าวได้รับการจัดอันดับให้เป็นถนนที่มีการจราจรติดขัดที่สุดในกรุงเทพมหานคร)
- มีจุดเริ่มต้นที่ห้าแยกลาดพร้าว ในพื้นที่เขตจตุจักร ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนพหลโยธินและถนนวิภาวดีรังสิต
- ผ่านจุดตัดกับถนนรัชดาภิเษก
- ผ่านพื้นที่เขตห้วยขวางสั้นๆเข้าพื้นที่เขตวังทองหลาง
- ผ่านแยกถนนโชคชัย 4
- และถนนประดิษฐ์มนูธรรม เข้าพื้นที่ระหว่างเขตวังทองหลาง
- ผ่านแยกถนนลาดพร้าว 101 (วัดบึงทองหลาง) เข้าพื้นที่เขตบางกะปิ
- ผ่านสามแยกบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์
- ไปสิ้นสุดที่สี่แยกบางกะปิตัดกับถนนนวมินทร์
อันดับ 7 – ถนนรามคำแหง
โดยถือว่าเป็นถนนที่มีการจราจรที่หนาแน่นเพราะทั้งถนนที่มีขนาดเล็กและประชากรจากพื้นที่อื่นเข้ามาอยู่เป็นจำนวนมาก ถนนรามคำแหงมีความยาวรวมทั้งหมดประมาณ 18 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ
- ช่วงจากสี่แยกคลองตันถึงแยกลำสาลี
- มีจุดเริ่มต้นที่แยกคลองตันในพื้นที่เขตสวนหลวง
- ตัดกับถนนเพชรบุรี ถนนพัฒนาการ และถนนสุขุมวิท 71
- ขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านแยกรามคำแหง (จุดตัดกับถนนพระราม 9)
- ผ่านแยกวัดเทพลีลา และมหาวิทยาลัยรามคำแหง การกีฬาแห่งประเทศไทย
- ไปสิ้นสุดที่แยกลำสาลีในพื้นที่เขตบางกะปิ
- ช่วงจากแยกลำสาลีถึงแยกตัดกับถนนสุวินทวงศ์
- เริ่มต้นจากแยกลำสาลีในเขตบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์
- มุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพ่วงศิริ
- ผ่านแยกบ้านม้า (จุดตัดกับถนนศรีบูรพา)
- เข้าพื้นที่เขตสะพานสูง ตัดกับถนนกาญจนาภิเษก
- เข้าพื้นที่เขตมีนบุรี ผ่านแยกลาดบัวขาว (จุดตัดกับถนนมีนพัฒนา)
- และแยกรามคำแหง-ร่มเกล้า (จุดตัดกับถนนร่มเกล้า)
- ไปสิ้นสุดที่แยกรามคำแหง-สุวินทวงศ์
อันดับ 6 – ถนนเพชรบุรี
เป็นย่านที่เต็มไปด้วยแหล่งช็อปปิ้งอย่างห้างสรรพสินค้า เช่น ประตูน้ำ แพทตินั่ม และยังมีออฟฟิศมากมายทำให้ผู้คนต่างหลั่งไหลเข้าไปทำงานและช็อปปิ้งแถวนั้น ถนนเพชรบุรีมีระยะทางไม่ยาวมากประมาณ 9 กิโลเมตร แต่สามารถผ่านถนนได้หลายเส้นมาก
- เริ่มจากบริเวณถนนพิษณุโลกตัดกับถนนสวรรคโลกและถนนหลานหลวงที่ทางแยกยมราชในพื้นที่เขตดุสิต
- ตัดผ่านทางรถไฟสายเหนือเข้าพื้นที่เขตราชเทวี
- ตัดกับถนนพระรามที่ 6
- ผ่านใต้ทางพิเศษศรีรัชที่ทางแยกอุรุพงษ์
- ตัดกับถนนบรรทัดทองที่ทางแยกเพชรพระราม
- ตัดกับถนนพญาไทที่ทางแยกราชเทวี
- ผ่านใต้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
- ตัดกับถนนราชปรารภและถนนราชดำริที่ทางแยกประตูน้ำ
- และมุ่งไปทางทิศตะวันออกตัดกับถนนชิดลมที่ทางแยกชิดลม-เพชรบุรี
- ตัดกับกับถนนวิทยุที่ทางแยกวิทยุ-เพชรบุรี ที่ทางแยกมิตรสัมพันธ์
- ตัดกับถนนอโศก-ดินแดงและถนนอโศกมนตรีที่ทางแยกอโศก-เพชรบุรี
- และเข้าพื้นที่เขตห้วยขวาง
- ข้ามคลองบางกะปิ
- ตัดกับซอยเพชรบุรี ที่ทางแยกพร้อมพงษ์
- ตัดกับซอยสุขุมวิท ที่ทางแยกเอกมัยเหนือ
- ข้ามคลองแสนแสบเข้าพื้นที่เขตสวนหลวง
- ก่อนไปสิ้นสุดที่ทางแยกคลองตันซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนรามคำแหง ถนนพัฒนาการและถนนสุขุมวิท 71
อันดับ 5 – ถนนแยกแคราย
ในส่วนของปริมณฑลก็มีสภาพการจราจรที่ติดขัดไม่น้อยไปกว่าในตัวเมือง โดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วน ที่มองไปทางไหนก็จะเจอแต่รถอัดแน่นเต็มไปหมด เพราะเป็นเส้นทางเข้าออกเมืองหลวง
- เป็นทางแยกจุดตัดระหว่างถนนติวานนท์ ถนนรัตนาธิเบศร์ และถนนงามวงศ์วาน
อันดับ 4 – ถนนพระราม 4
หากใครคิดว่าถนนเลนกว้างใหญ่แล้วรถจะไม่ติดคุณคิดผิด เพราะเส้นทางนี้มีสภาพการจราจรที่หนาแน่น เนื่องจากย่านนั้นมีแต่ตึกและเป็นสถานที่ทำงานจำนวนมากผู้คนจึงพุ
- เริ่มตั้งแต่ทางแยกหมอมี (แยกจากถนนเจริญกรุง)
- ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่สะพานเจริญสวัสดิ์
- ผ่านสถานีหัวลำโพง
- ผ่านสามย่าน
- ไปบรรจบถนนสุขุมวิท
อันดับ 3 – ถนนสาทร
แหล่งของชาวออฟฟิส ซึ่งแน่นอนว่าผู้คนต้องพลุกพล่านจึงไม่แปลกที่การจราจรจะติดขัด ซึ่งนอกจะเป็นสถานที่ทำงานแล้วยังเป็นย่านที่นักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศแวะมาท่องเที่ยว
- ถนนสาธรแบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ “ถนนสาทรเหนือ” อยู่ในแขวงสีลม เขตบางรัก และ “ถนนสาทรใต้” อยู่ในแขวงยานนาวาและแขวงทุ่งมหาเมฆ
อันดับ 2 – ถนนรัชดาภิเษก
ถนนรัชดาภิเษก เป็นถนนวงแหวนรอบในของกรุงเทพมหานคร มีระยะทางรวมประมาณ 45 กิโลเมตร
- เริ่มจากสะพานข้ามคลองบางกอกใหญ่
- ผ่านสะพานกรุงเทพ
- ตัดผ่านถนนพระรามที่ 3 ถนนสุขุมวิท ถนนเพชรบุรี ถนนพระราม 9 ถนนลาดพร้าว ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนประชาชื่น ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี
- ข้ามสะพานพระราม 7 เข้าเขตอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
- ตัดกับถนนบางกรวย-ไทรน้อย ลอดใต้สะพานพระราม 6
- เข้าเขตกรุงเทพมหานคร รวมกับถนนจรัญสนิทวงศ์
- มาบรรจบที่ทางแยกท่าพระ
อันดับ 1 – ถนนพหลโยธิน
มาถึงอันดับหนึ่งซึ่งในปัจจุบันมีการสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่ จึงทำให้จากที่รถติดอยู่แล้วก็ตอกย้ำสภาพการจราจรที่แย่เข้าไปอีกในถนนพหลโยธิน
- ถนนพหลโยธิน เริ่มต้นที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตราชเทวี
- เข้าสู่เขตพญาไท ลอดใต้ทางพิเศษศรีรัช
- ตัดผ่านถนนวิภาวดีรังสิตที่แยกลาดพร้าวในเขตจตุจักร ซึ่งตัดกับถนนวิภาวดีรังสิต และถนนลาดพร้าว
- ผ่านเขตบางเขน
- ผ่านเขตดอนเมืองกับเขตสายไหม
- โดยมีถนนพหลโยธินเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองในช่วงตั้งแต่สะพานข้ามคลองถนนถึงแยกลำลูกกา
- เมื่อเข้าสู่จังหวัดปทุมธานี ถนนพหลโยธินจะบรรจบกับถนนวิภาวดีรังสิต
แม้ปัญหารถติดจะเป็นปัญหาถาวรเรื้อรัง แต่ถ้าผู้ใช้รถใช้ถนนปฎิบัติตามกฎจราจรอย่างมีระเบียบวินัยจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรให้เบาบางลง และหากมีธุระเร่งด่วนควรเผื่อเวลารถติดให้เหมาะสม
เรื่อง : จณิสตา จุลโพธิ์
ข้อมูลจาก : www.bbc.com และ www.central.co.th
ภาพจาก : www.google.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสารยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ได้ที่ www.grandprix.co.th