6 วิธีปรับท่านั่งขับรถ ที่ถูกต้อง และไม่ปวดหลัง
ผมว่าหลายท่านต้องเคยประสบกับปัญหาเวลาที่เราต้องเดินทางระยะทางไกลด้วยรถยนต์ หรือไม่ก็รถติดที่หลายชั่วโมง เรามักจะปวดหลังเวลาเรานั่งขับรถไปนานๆใช่หรือไม่ เพราะร่างกายของคนเรานั้นมันไม่ชอบอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ และบางทีการปรับเบาะท่านั่งขับรถของเรานั้นมันไม่สอดคลองกับสรีระร่างกายของเราเท่าไหร่นัก เช่น ก้มหน้ามากไป หลังงอมากไป เอนหล้งมากไป นั่งต่ำไป เป็นต้น แถมเมื่อเราขับรถไปนานๆหรือนั่งอยู่บนรถนานๆจนเกิดความเมื่อยล้า มันจะค่อยๆ สะสมความเครียดและมีผลต่ออาการเกร็งกล้ามเนื้อด้วย วันนี้เรามีเคล็ดไม่ลับดีๆในการปรับตำแหน่งนั่งขับรถกันจะไม่ไม่ปวดหลังมากนัก
- การปรับพนักพิง ท่านั่งที่ถูกต้องควรปรับช่วงหลังของคุณ ให้พอดี ซึ่งมีวิธีง่ายๆคือ เอาข้อมือไปวางบนพวงมาลัย เพื่อปรับช่วงหลังให้ลงตัว โดยเบาะอาจจะเอนเล็กน้อยหรือตั้งตรงไม่ใช่ปัญหามากนัก แต่อย่าเอนจนเหมือนนอนเพราะนอกจากอันตรายแล้วยังทำให้คุณปวดหลังอีกต่างหาก
- ปรับระยะนั่ง : ควรปรับระยะทางนั่งให้พอดีกับตัวคุณมากที่สุดไม่เลื่อนเข้าไปชิดพวงมาลัยมากเกินไป หรือไกลเกินไป เพราะจะทำให้คุณเมื้อยล้า และปวดหลังได้ การปรับระยะทางนั่งที่ถูกวิธีควรเริ่มจากเข่า โดยการสอดเท้าเข้าไปที่พื้นรถหลังแป้นเบรก จากนั้นปรับเข้าออกให้พอดี โดยเข่าต้องอยู่ในลักษณะที่งอได้ เล็กน้อยถือว่าโอเค เหตุผลที่ให้สอดเท้าเข้าไปใต้แป้นเพราะถ้าคุณชนแรง แป้นเบรกจะยุบตัวลงไปชนพื้น ซึ่งมีบางที่ไว้บนแป้นนั้นก็ยังผิดยู่ เพราะจังหวะงออาจจะได้ แต่คุณจะรู้สึกว่าไกลอยู่ดี อย่าลืมปรับระยะห่างของเบาะนั่งให้พอดีเข่าต้องไม่งอมากเกินไป
- ปรับความสูงต่ำของเบาะ : คนที่ไม่สูงนักก็มักจะต้องปรับเบาะให้สูงขึ้นโดยธรรมชาติอยู่แล้ว เพราะนั่งไปแล้วมองไม่เห็นถนนข้างหน้า แต่คนตัวสูงมักจะละเลยที่จะปรับเบาะขึ้นลง ทั้งที่ความจริงระยะความสูงของเบาะค่อนข้างสำคัญ เพราะมีผลโดยตรงต่อแผ่นหลัง ระดับที่ไม่พอดีหลังเราจะโค้งงอ จนปวดหลังในที่สุด การปรับระดับความสูงของเบาะปรับง่ายๆโดย ให้ระยะห่างศีรษะกับเพดานรถเท่ากับหนึ่งกำปั้น แค่นี้คุณก็จะไม่ปวดหลัง และมองเห็นทัศนวิสัยได้ดีอีกด้วย
- ปรับมุมของพวงมาลัย พวงมาลัยที่ตั้งมุมสูงกว่าธรรมชาติของร่างกาย จะทำให้เราเกร็งช่วงคอ บ่าและไหล่ แถมยังทำให้บังคับรถได้ไม่สะดวก ต้องเอื้อม ต้องขยับในบางจังหวะ ให้ปรับพวงมาลัยให้อยู่ในตำแหน่งที่เราจะถือพวงมาลัยได้ด้วยความรู้สึกสบายในช่วงเวลานาน การปรับตำแหน่งพวงมาลัยให้วางมือที่ตำแหน่ง 3 และ 9 นาฬิกา จากนั้นดูช่วงงอของแขน ซึ่งไม่ควรจะตึงเกินไปและไม่ควรมีช่วงพับข้อมากเกินไป เพราะ ทั้งสอง จะทำให้คุณหมุนพวงมาลัยไม่ถนัด ซึ่งตรงนี้ให้แก้ไขที่พวงมาลัยและหรือ การปรับที่นั่งสูงต่ำอาจจะช่วยได้
- ปรับกระจกข้างและกระจกหลัง : กระจกเป็นจุดที่เราต้องมองดูอยู่เป็นระยะตลอดการขับขี่ ดังนั้นถ้าจะดูทีไรก็ต้องยืดหรือหดตัว เอียงศีรษะหรือโยกตัวไปมา มันจะสะสมความเมื่อยล้าให้มากขึ้นเรื่อยๆแถมยังอาจจะทำให้เกิดจุดบอดที่มองไม่เห็น อุบัติเหตุก็จะเกิดได้ง่ายขึ้นด้วย ควรปรับให้เหมาะสมแบบที่เรามองง่ายที่สุดโดยที่ไม่ต้องขยับตัวมากนัก
- สุดท้ายอย่าลืมหมอนรองคอ คนมักลืมหมอนรองคอ ถ้าปรับให้ดูตำแหน่งที่เหมาะสมแล้วจะทำให้คุณสบาย และยังช่วยลดอาการบาดเจ็บจากการกระแทก ซึ่งควรปรับให้อยู่กลางศีรษะ
มีคนจำนวนมากเข้าใจผิดและนั่งขับขี่ไม่ถูกต้องว่าต้องมองเห็นกระโปรงหน้ารถ ซึ่งมันไม่จำเป็นเลย การนั่งขับขี่รถยนต์นั้น สำคัญไม่ได้อยู่ที่คุณเห็นอะไรบ้างแต่อยู่ที่ว่า เมื่อนั่งแล้วคุณมีสมาธิต่อการขับขี่และสบายตัว หรือเปล่า เท่านั้นเอง หลักการสำคัญทั้งหมดก็คือ ปรับทุกอย่างที่อยู่ในรถให้สอดคล้องกับร่างกาย อย่าให้มากหรือน้อยเกินไป มันจะช่วยลดอาการปวดหลังจากการขับรถลงได้
เรื่อง : ณัฐพล เดชสิงห์
ภาพ : www.driving.co.uk
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานต์ยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th