ค่ายรถขานรับ ‘กระบะพี่ มีคลังค้ำ’ เปิดรับจองในงานมอเตอร์โชว์ 2025 ก่อนมาตรการเริ่มต้น 1 เม.ย.นี้

ค่ายรถยนต์ชั้นนำพร้อมใจขานรับมาตรการ “ กระบะพี่ มีคลังค้ำ ” ประกาศเปิดรับจองรถกระบะ และรถเพื่อการพาณิชย์ทันที ในงานบางกอก มอเตอร์โชว์ 2025 เตรียมพร้อมก่อนภาครัฐเริ่มรับคำขออย่างเป็นทางการในวันที่ 1 เมษายน-30 ธันวาคม 2568
หลังจากกระทรวงการคลัง เปิดตัวมาตรการ “กระบะพี่ มีคลังค้ำ” เมื่อวันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา เพื่อปลดล็อกกลุ่มธุรกิจ SMEs ให้เข้าถึงสินเชื่อเช่าซื้อรถกระบะใหม่ เพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมยานยนต์ และพลิกฟื้นบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มากกว่า 2,500 บริษัท โดยตั้งเป้าหมายสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจกว่า 21,000 ล้านบาทจากวงเงินค้ำประกันระยะแรก 5,000 ล้านบาท
”กระบะพี่ มีคลังค้ำ” เป็นมาตรการที่กระทรวงการคลัง โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs และผู้ประกอบการรายย่อยในการเข้าถึงสินเชื่อเช่าซื้อรถกระบะใหม่สำหรับใช้ในเชิงพาณิชย์
รายละเอียดมาตรการ ”กระบะพี่ มีคลังค้ำ”:
• วงเงินค้ำประกัน: ระยะแรกจำนวน 5,000 ล้านบาท โดยวงเงินค้ำประกันสูงสุดต่อรายไม่เกิน 1.5 ล้านบาท
•ค่าธรรมเนียมค้ำประกัน: รัฐบาลจะออกค่าธรรมเนียมค้ำประกันให้ใน 3 ปีแรก ส่วนปีที่ 4-7 คิดค่าธรรมเนียมค้ำประกันเพียง 1.5% ต่อปี
• ระยะเวลาค้ำประกัน: สูงสุด 7 ปีหรือ 84 งวด
•ระยะเวลาเปิดรับคำขอ: ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน-30 ธันวาคม 2568
ล่าสุดในงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2025 หลายบริษัทรถยนต์ที่เป็นผู้นำตลาดรถกระบะ และรถเพื่อการพาณิชย์ไม่ว่าจะเป็น โตโยต้า, อีซูซุ, ฟอร์ด, นิสสัน, มิตซูบิชิ, มาสด้า และซูซูกิ พร้อมให้ลูกค้าที่เข้าชมงานจองรถกระบะที่เข้าเกณฑ์ตามมาตรการ ”กระบะพี่ มีคลังค้ำ” ก่อนที่มาตรการจะเริ่มต้นในวันที่ 1 เมษายนนี้
ในเว็บไซต์ของโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ระบุว่ารถกระบะทั้ง Hilux Champ และ Hilux Revo ทุกรุ่นจะเข้าร่วมมาตรการ ”กระบะพี่ มีคลังค้ำ” โดยคุณศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ให้ความเห็นกับมติชน ออนไลน์ เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า “เป็นเรื่องดีรัฐบาลมีมาตรการนี้ออกมาเป็นเรื่องที่ผู้ผลิตรถยนต์ต่างๆ หารือร่วมกัน เสนอมาตรการต่างๆ ให้รัฐบาลผ่านหอการค้าญี่ปุ่นในประเทศไทย หรือเจซีซี ตั้งแต่กลางปีที่แล้ว รัฐบาลคงเห็นว่าสภาพตลาดรถปิกอัพตกลงอย่างมาก ติดปัญหาอนุมัติสินเชื่อ มาตรการนี้ถือว่าแก้ตรงจุด ช่วยตลาดรถปิกอัพได้ดี ที่สำคัญรถปิกอัพใช้ชิ้นส่วนในประเทศสูงมาก การออกมาตรการนี้ทำให้มีส่วนช่วยเหลือภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้อีกมาก”
เช่นเดียวกับ ทาคาชิ ฮาตะ กรรมการผู้จัดการบริษัทตรีเพชรอีซูซุเซลส์ ให้ความเห็นถึงมาตรการ “กระบะพี่ มีคลังค้ำ” กับทางมติชน ออนไลน์ “อีซูซุ ชื่นชมต่อแนวคิดของรัฐบาล เป็นเรื่องที่ดีงาม อย่างที่ทราบดีว่าตลาดรถปิกอัพหดตัวลงเนื่องจากข้อกำหนดรัดกุมของบริษัทไฟแนนซ์ ขณะนี้บสย. อยู่ระหว่างเจรจากับธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ยังไม่ทราบบทสรุป แต่อีซูซุ คิดว่ามาตรการดังกล่าวเป็นประโยชน์กับลูกค้ามาก น่าจะมีข้อสรุปในไม่นานนี้ ผลตอบรับจะดีมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับรายละเอียดของบทสรุปรัฐบาลจะประกาศ”
ขณะเดียวกันมาตรการ ”กระบะพี่ มีคลังค้ำ” จะครอบคลุมไปถึง Suzuki Carry รถกระบะบรรทุกอเนกประสงค์ โดยบูธของซูซูกิ มอเตอร์ ในงานบางกอก มอเตอร์โชว์ 2025 มีการจัดแสดง Carry ที่ได้รับการดัดแปลงให้เป็น “ซูเปอร์มาร์เก็ตเคลื่อนที่” เพื่อเป็นไอเดียให้ธุรกิจ SMEs นำไปต่อยอด พร้อมจัดข้อเสนอพิเศษสำหรับผู้สนใจจองรถอีกด้วย
สำหรับกลุ่มเป้าหมายของมาตรการ: ผู้ประกอบการ SMEs และผู้ประกอบการรายย่อยที่ต้องการซื้อรถกระบะใหม่เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น เกษตรกร, ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง, ขนส่งสินค้า, ค้าขาย และฟู้ดทรัค เป็นต้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากมาตรการ “กระบะพี่ มีคลังค้ำ” :
• ช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงสินเชื่อได้กว่า 6,250 ราย
•ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบกว่า 5,000 ล้านบาท
• สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 21,000 ล้านบาท
•ช่วยฟื้นฟูบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มากกว่า 2,500 บริษัท
‘อนาคตรถกระบะในประเทศไทย อะไรคือคำตอบ ไฮบริด-พลังไฟฟ้า?’
สำหรับมาตรการ “กระบะพี่ มีคลังค้ำ” มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นตลาดรถยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ซบเซา ให้กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง และสนับสนุนผู้ประกอบการในการประกอบอาชีพ และสร้างรายได้ กระทรวงการคลังคาดการว่ามาตรการนี้จะสามารถปล่อยรถกระบะได้มากกว่า 6,250 คัน สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อใหม่ได้กว่า 5,000 ล้านบาท ลดความเสี่ยง และสร้างแรงจูงใจให้สถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อ และกระตุ้นอุตสาหกรรมรถกระบะ ช่วยให้ผู้ผลิตยานยนต์ และผู้ผลิตชิ้นส่วนซัพพลายเชน เช่น ผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์ สามารถรักษาการจ้างงานไว้ได้จำนวนมาก
งานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 46 (46th Bangkok International Motor Show 2025) จัดขึ้นที่อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 1-3 และฟอรั่ม ฮอลล์ 4 ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม-6 เมษายน 2568
เรื่อง: พูนทวี สุวัตถิกุล
ขอบคุณข้อมูล: บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th
ห้องโดยสารที่เงียบเป็นพิเศษเพียง 63 เดซิเบล และฟังก์ชันระบายอากาศที่เบาะนั่ง DEE PAL Hunter K50 มอบประสบการณ์การขับขี่ที่สะดวกสบาย หน้าจออินโฟเทนเมนท์แบบสัมผัสขนาด 12.3 นิ้ว เชื่อมเข้ากับจอแสดงข้อมูลการขับขี่, ระบบเชื่อมต่อ 4G พร้อมระบบนำทางแบบออนไลน์, เบาะนั่งผู้ขับขี่ปรับไฟฟ้า 6 ทิศทางพร้อมระบบอุ่น นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยี V2L ช่วยให้ผู้ใช้รถสามารถจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้ทุกที่ทุกเวลา
เทคโนโลยี Range-Extended Electric Vehicle หรือ REEV เป็นระบบการขับเคลื่อนแบบไฮบริด ที่เป็นเหมือนรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ใช้มอเตอร์ในการขับเคลื่อน และมีเครื่องยนต์สันดาปภายในพร้อมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟ เพื่อเพิ่มระยะการขับขี่ของยานยนต์เกินกว่าที่แบตเตอรี่เพียงอย่างเดียวจะสามารถทำได้
เทคโนโลยี REEV ทำงานในหลายโหมด ทั้ง Electric Mode ซึ่งใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียวและสามารถขับขี่ได้ในระยะไกล โดย Range-Extending Mode