สัมภาษณ์พิเศษ เคอิจิ ชูมะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยบริดจสโตน
สัมภาษณ์พิเศษ เคอิจิ ชูมะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยบริดจสโตน เกี่ยวกับ พันธสัญญา บริดจสโตน E8 นโยบายที่ใช้เป็นพื้นฐานของบริดจสโตนทั่วโลก เพื่อบรรลุเป้าหมายการเป็นองค์กรผู้ส่งมอบโซลูชั่นอย่างยั่งยืน สู่ปี 2050
เคอิจิ ชูมะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยบริดจสโตน ในฐานะตัวแทนของ บริดจสโตน ประเทศไทย ประกาศพร้อมเดินหน้าธุรกิจภายใต้ “Bridgestone E8 Commitment” เจาะลึกคุณค่า 8 ด้านเพื่อบรรลุเป้าองค์กรผู้ส่งมอบโซลูชั่นอย่างยั่งยืน สู่ปี 2050
ต้นกำเนิดนโยบายพันธสัญญา บริดจสโตน E8
สำหรับนโยบายพันธสัญญา บริดจสโตน E8 เป็นนโยบายที่ใช่ร่วมกับบริดจสโตนทั่วโลก ซึ่งนโยบาย E8 นี้ ไม่ได้มาจากผู้บริหารระดับสูง แต่เป็นการระดมสมอง ระดมความคิดจากทีมผู้ทำงาน และได้จัดทำเรื่องตัว E นี้ขึ้นมาเพื่อนำเสนอให้เป็นทิศทางยึดมั่นให้เรามุ่งหน้าไปยังบริดจสโตน 3.0 เราจะใช้อะไรเป็นทิศทางในการมุ่งหน้าในการทำงานต่อไปจากนี้ จึงออกประกาศเป็นนโยบายทั่วโลก ด้วยการใช้พันธสัญญา E8 นี้ เพราะฉะนั้นบริษัทในเครือของบริดจสโตนทั้งหมดทั่วโลก จะประเมินการทำกิจกรรมพันธสัญญา E8
พันธสัญญา E8 ช่วยสนับสนุนบริษัทอย่างไร
พันธสัญญา E8 นี้เป็นเหมือนเกมให้เราได้คิดตัดสินใจในการทำงาน ทั้งการทำงานในวันต่อวัน รวมถึงแผนงานระยะกลาง ระยะยาวก็ตาม เปรียบเสมือนว่าหาเราทำงานเปรียบเทียบกับ E ทั้ง 8 ตัวนี้แล้ว จะช่วยให้เราตัดสินใจเดินไปในทิศทางสู่ความยั่งยืนได้อย่างถูกต้อง ซึ่งถ้าหากปราศจากพันธสัญญา E8 นี้ไป บริดจสโตนอาจจะไม่สามารถทำธุรกิจอย่างยั่งยืนในอนาคตได้ต่อไป ดังนั้น พันธสัญญา E8 จึงถือว่าเป็นตัวนำในการดำเนินธุรกิจของเรา
การลงทุนในพันธสัญญา E8
สำหรับ พันธสัญญา E8 นี้ จะมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง แต่ ณ เวลานี้ การลงทุนตรงนี้ จะน้อยหรือมาก จะต้องเชื่อมต่อกับ E8 เพื่อให้เกิดคุณค่าของพันธสัญญา และเราจะต้องเชื่อมต่อกันไม่ว่าจะเป็นการลงทุนที่มากหรือน้อยก็ตาม เพื่อใช้ E ทั้ง 8 ตัวนี้เป็นเกณฑ์หลักในการประเมินการลงทุน ว่าจะสามารถนำธุรกิจเราให้ดำเนินไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืน และบรรลุผลได้หรือไม่
E ตัวไหนให้ความสำคัญ และทำยากที่สุด
จริงๆ E ทั้ง 8 ตัวนี้ จะให้ตอบว่าตัวไหนยากก็คงจะยาก เพราะแต่ละตัวจะต้องเชื่อมโยงหากัน ยกตัวอย่างเช่น ECOLOGY+ECONOMY เชื่อมโยงกัน ECOLOGY คือความยั่งยืน แต่สมัยก่อนถ้าเราพูดถึง 2 E นี้ อาจจะเชื่อมโยงกันในแง่สิ่งแวดล้อม แต่สำหรับปัจจุบันในแง่ของธุรกิจ 2 E นี้จะเชื่อมโยงกันในเชิงต้นทุน ดังนั้นการที่จะตอบว่า E ตัวไหนทำยากสุดจึงค่อนข้างลำบาก แต่การมองระยะยาวของบริดจสโตน เอาความยั่งยืนเป็นเกณฑ์ในการที่จะมุ่งหน้าไป จึงมีการค้นหาหลักการคือ พันธสัญญา E8 นี้ ขึ้นมา เพื่อให้บริดจสโตนได้ม่งหน้าสู่การเป็นองค์กรที่ส่งมอบโซลูชั่นอย่างยั่งยืนในอนาคต
ตั้งเป้าหมายของความสำเร็จโครงการนี้ไว้อย่างไร
เรามีการวางแผนและประเมินทุกๆ 3 ปี ณ ปีนี้ จะอยู่ในรอบของปี 2021-2023 และปีต่อไป เป็นปี 2024-2026 ณ ปีนี้จะเป็นรอบการประเมินถึงดัชนีชี้วัดทางธุรกิจของเรา ซึ่งในแต่ละปีจะมีการเซ็ตเป้าหมายแต่ละปีด้วย เพื่อให้เดินทางไปสู่ปี 2023 คือเป้าหมายระยะกลาง โดยการตั้งดัชนีชี้วัดก็จะถูกเชื่อมโยงเข้ากับ E ทั้ง 8 ตัวนี้อยู่แล้ว ดังนั้นตัวเลขที่เราใช้ชี้แจง หรือชี้วัดความสำเร็จ เพราะฉะนั้นเราจะบรรลุเป้าหมายไปด้วยกัน ภายใต้พันธสัญญาตัวนี้ ซึ่งตอนนี้เรามองไปถึงปี 2026 เป็นการเตรียมวางแผนสำหรับอีก 3 ปีข้างหน้า และทุกๆ 1 ปี ในรอบ 3 ปี เราจะมีการประเมินดัชนีชี้วัดด้วย ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งตอนนี้ อาจจะตอบไม่ได้ว่าสิ้นสุดตอนไหน แต่พันธสัญญานี้จะนำเรามุ่งหน้าไปปี 2050 ซึ่งเป็นแผนธุรกิจระยะยาวของบริดจสโตน
พันธสัญญา E8 ช่วยขับเคลื่อนบริดจสโตนให้ได้ส่วนแบ่งการตลาดเท่าไหร่ในประเทศไทย
ส่วนแบ่งการตลาดของเราจะแบ่งเปนสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือ กลุ่มยางรถยนต์นั่ง ซึ่งเรายังคงเป็นผู้เล่นหลักในตลาด เฉลี่ยอยู่ที่ 20-30 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกลุ่มสอง คือยารถยนต์เพื่อการพาณิชย์ส่วนแบ่งการตลาดยังอยู่มากกว่าครึ่ง หรือมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งผลตรงนี้สืบเนื่องมากจากประวัติอันยาวนานของ บริดจสโตน ประเทศไทย ความเชื่อใจที่ผู้บริโภคมีให้เรา จึงสามารถสำเร็จได้ในระยะเวลาอันสั้น โดยความสำเร็จนี้ ก็เชื่อมโยงกับพันธสัญญา E8 ในแง่ของความต้องการของลูกค้า การส่งมอบคุณค่าของเราสู่สังคม เพื่อที่จะทำให้ธุรกิจเราเติบโตได้ต่อไป
จุดกำเนิดของพันธสัญญา E8 เกิดขึ้นที่ไหน และแต่ละประเทศใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการดำเนินกิจกรรม
การประกาศใช้ พันธสัญญา E8 เกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นที่แรก ส่วนประเทศไทยถือเป็นลำดับต้นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งทางบริดจสโตนญี่ปุ่นให้ความสำคัญ กับตลาดในไทยอย่างมาก ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละประเทศก็มีความหลากหลายในการดำเนินกิจกรรมที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของเชื้อชาติ ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ในแต่ละประเทศก็จะทำให้กิจกรรมมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีในแต่ละประเทศ
บทบาทของบริดจสโตนในประเทศไทย
สำหรับจุดยืนในประเทศไทย เราเป็นกลุ่มบริษัทที่อยุ่ในแถวหน้าของบริดจสโตนกรุ้ปทั้งหมด แน่นอนว่าบทบาทและจุดยืนของบริดจสโตน ประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่งอย่างไร้ข้อโต้แย้ง และเรายังคงเป็นที่หนึ่งในประเทศไทย นอกจากนี้เรายังมีฐานกำลังการผลิตในประเทศไทยยังช่วยสนับสนุนให้แก่ธุรกิจอื่นของบริดจสโตนที่อยู่นอกประเทศไทยอีกด้วย เช่น การส่งออกยาง เป็นต้น เพื่อเป็นการ สนับสนุนโดยรวมของบริดจสโตนทั่วโลก นี่ก็คือบทบาทของบริดจสโตนในประเทศไทย
การส่งออกยางบริดจสโตนในประเทศไทย
ในแง่ของการผลิตเพื่อการส่งออก ประเทศไทยถือเป็นแนวหน้าของบริดจสโตนกรุ้ป แต่กำลังการผลิตก็จะถูกส่งมอบให้ลูกค้าภายในประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นตลาดทดแทน หรือตลาดรถยนต์ ในส่วนอื่นๆ การส่งออกของไทยสำคัญที่สุด การผลิตเพื่อส่งออก ถูกส่งออกไปยัง สหรัฐอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย หรือตะวันออกกลาง รวมถึงอัฟฟริกา จึงถือว่าบริดจสโตน ประเทศไทย เป็นฐานการผลิตที่สำคัญทั้งในประเทศ และการส่งออก
เป้าหมายการเติบโต และปัจจัยที่มีผลกระทบในธุรกิจบริดจสโตน
หากมองย้อนไปก่อนปี 2019 หรือก่อนสถานการณ์โควิด ตลาดรถยนต์ในประเทศไทยยังดีอยู่ แต่เมื่อผ่านมาถึงปี 2022 ตัวเลขของการผลิตรถยนต์ของปี 2022 เทียบกับปี 2021 โตขึ้น 2 หน่วย หรือหลัก 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเราก็มีการเจริญเติบโตไปในทิศทางเดียวกันกับตัวเลขของการผลิตรถยนต์ ส่วนปัจจัยลบที่เข้ามามีผลกระทบต่อธุรกิจเราก็คือ Supply ซึ่งเป็นปัญหาที่ทางผู้ผลิตประสบเหมือนๆ กัน ซึ่งเป็นประเด็นที่จะต้องรับมือกันต่อไป ถัดมาในแงของปัจจัยบวก ที่จะทำให้บริดจสโตนเติบโต ก็คืออยู่ในแผนการเจริญเติบโตในระยะกลางกับระยะยาว เป็นเรื่องของความยั่งยืน ซึ่งพันธสัญญา E8 เอง ก็ได้เข้ามาสนับสนุนในเรื่องนี้อย่างมาก เพื่อจะได้รับความไว้วางใจจากคนในรุ่นถัดไป ที่สำคัญ พันธสัญญา E8 จะช่วยพัฒนาองค์กรเราไปสู่ความยั่งยืน รวมถึงในการดำเนินธุรกิจในอนาคตของบริดจสโตนด้วย
“Bridgestone E8 Commitment (พันธสัญญา E8 ของบริดจสโตน)” ถือเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนกลยุทธ์องค์กรชูแนวคิดนำนวัตกรรมสร้าง “ความยั่งยืน” ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการขาย ต่อยอดความไว้วางใจของลูกค้า พร้อมส่งมอบคุณค่าให้สังคมและลูกค้า เพื่อให้เป็นต้นทุนการเติบโตทางธุรกิจ และนำไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาดยางรถยนต์ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก