Electric SUV เต็มระบบ!!! AUDI Q8 & SQ8 e-tron ปรับตัวสู่ Zero Emission
Electric SUV เต็มระบบ!!! ในที่สุดอาวดี้พร้อมเดินหน้าในปี 2023 กับรถยนต์เอสยูวีพลังขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า มาพร้อมระบบ Autonomous ที่มี Infrastructure รองรับการใช้งานในเมืองใหญ่
ย้อนไปดูราวปี 2018, AUDI เปิดตัวโมเดล Q8 ตามมาด้วยเวอร์ชันแรง SQ8 ทั้งคู่มาพร้อมกับเครื่องยนต์สันดาปที่ทรงประสิทธิภาพ ขณะที่ฝั่งรถ BEV ค่ายสี่ห่วงนำร่องมาด้วย e-tron quattro ทั้งตัวถัง SUV และ Coupé SUV (Sportback)
ซึ่งในที่สุด AUDI ได้ทยอยปรับตัวเข้าสู่ยุค ZEV (Zero Emission Vehicle) อย่างเต็มรูปแบบ รถที่ขับเคลื่อนด้วย Fossil Fuel ทั้งรถน้ำมันและกลุ่ม PHEV กำลังถูกแทนที่ด้วยรถพลังงานสะอาด และในที่สุด e-tron quattro ซึ่งเป็น BEV SUV โมเดลแรกของค่าย เมื่อถึงเวลาไมเนอร์เชนจ์ ได้เปลี่ยนไปใช้ชื่อ ‘Q8 e-tron’ เรียบร้อย
- ขณะที่ Q8 55 e-tron และ SQ8 e-tron ใช้แบตขนาดใหญ่กว่า 106 kWh net (114 kWh gross) การชาร์จรองรับกำลังไฟ DC ได้สูงสุด 170 kW
เอกสารจาก AUDI เริ่มต้นด้วยประโยคที่ว่า New face, new name and new corporate identity. กับการเปิดตัว New AUDI Q8 นอกจากเรื่องลดคาร์บอน ยังยกระดับเข้าสู่เซ็กเมนต์ของ Electric luxury-class SUV อย่างเป็นทางการ ความสำเร็จของยานยนต์ไฟฟ้า BEV
ภายใต้ซับแบรนด์ ‘e-tron’ ของ AUDI การันตีด้วยยอดจำหน่ายทั่วโลกตลอด 4 ปี ราว 150,000 คัน จึงเป็น ‘การเปลี่ยนผ่าน’ จากยุคคลาสสิกของรถที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ มาสู่โลกของยานยนต์ไฟฟ้า EV (Electric Vehicle) ที่ต่อเนื่อง และไร้การสะดุด
ทั้งหมดล้วนเกิดจากนวัตกรรมที่สั่งสมมา ทั้งของค่าย AUDI และของเครือ VW Group ที่สารพัดเทคโนโลยีของโลกยานยนต์ก้าวล้ำในระดับหัวแถวของโลก โดยเฉพาะในส่วนของ Powertrain นับจากรถเครื่องยนต์ ICEV (Internal Combustion Engine Vehicle)
- แบตเตอรี่ของ Q8 50 e-tron ซึ่งเป็นโมเดลเริ่มต้น มีความจุรวม 89 kWh net (95 kWh gross) การชาร์จรองรับกำลังไฟ DC สูงสุด 150 kW
ไล่เรียงมาเป็นรถ HEV (Hybrid Electric Vehicle) นำมอเตอร์ไฟฟ้ามาช่วยลดการทำงานของเครื่องยนต์ ลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และลดมลพิษจากการสันดาป ต่อเนื่องมาจนถึง PHEV (Plug-in Hybrid Electric Vehicle) รองรับการเสียบปลั๊กชาร์จไฟ กระทั่งก้าวเข้าสู่รถ BEV (Battery Electric Vehicle) ในที่สุด
ขณะที่รถพลังงานทางเลือกจากเชื้อเพลิงสะอาดอย่างไฮโดรเจน หรือรถ FCEV (Fuel Cell Electric Vehicle) ทาง AUDI ก็ปล่อยรถต้นแบบมาโชว์อย่างต่อเนื่อง (AUDI เรียกเทคโนโลยี FCEV ของตัวเองว่า h-tron)
ด้วยแนวคิดในการพัฒนาที่ไม่แตกต่างจากผู้ผลิตสายแข็งสัญชาติเยอรมัน ทั้ง BMW และ Mercedes-Benz ทั้งหมดเพื่อประกันความเสี่ยงของยานยนต์ในอนาคต และลดการพึ่งพาการเก็บพลังงานจากแบตเตอรี่เพียงทางเลือกเดียว
- Q8 e-tron รูปแบบตัวถัง Sportback
History & Body:
Q8 นับเป็นรถเซ็กเมนต์ใหม่จากค่าย AUDI เปิดตัวช่วงปลายปี 2018 ตัวถังโดดเด่นด้วยรูปแบบ Full-size Luxury Crossover SUV Coupé ดีไซน์จึงเน้นความสปอร์ตมากกว่า SUV ทุกรุ่นในสายการผลิต ช่วงเปิดตัวในตลาดยุโรป Q8 มีให้เลือก 3 รุ่นเครื่องยนต์ เป็น 1 เบนซิน และ 2 ดีเซล ได้แก่ 55 TFSI, 45 TDI และ 50 TDI ตามลำดับ
ทั้งหมดจัดเป็น Q8 รุ่นพื้นฐาน ซึ่งดูธรรมดาไปในทันที เมื่อต้นสังกัดสั่งเปิดตัวรุ่น Top Performance แรงสุดในสายการผลิต แรงในระดับที่รถสปอร์ตสายพันธุ์แท้ไม่กล้าแหย่ นั่นคือ ‘SQ8 TDI’ รถ SUV Coupé ร่างยักษ์ พร้อมขุมพลังดีเซลบ้าพลัง ที่ทำอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. เพียง 4.8 วินาที
Q7 รั้งตำแหน่ง Full-size SUV มีตัวถังใหญ่ที่สุดจาก AUDI มาอย่างยาวนาน ทว่า หลายคนคาดการณ์ว่า Q8 ผู้มาใหม่อาจมาแย่งตำแหน่งนี้ไป แต่หากพิจารณาจากความยาวร่วม 5 เมตร และระยะฐานล้อในระดับ 3 เมตร จะเห็นได้ว่า SUV ร่างยักษ์ทั้ง 2 โมเดลจากค่ายสี่ห่วง มีความใกล้เคียงกันมากในเรื่องของมิติ หลักๆ ความแตกต่างของตัวรถจึงอยู่ที่ดีไซน์ เพราะ Q8 ไม่ใช่รถสำหรับครอบครัวเหมือน Q7 แต่เน้นความสปอร์ต และโฉบเฉี่ยว เป็นรถ SUV ขนาดใหญ่ ที่อัดแน่นด้วยความพรีเมียม และความไฮเทค พร้อมรองรับการเดินทางแบบสบายๆ ในทุกเส้นทาง และ AUDI ได้มอบตำแหน่ง Top Model ของตระกูล Q family ให้กับ Q8 ไปเป็นที่เรียบร้อย
- SQ8 e-tron รูปแบบตัวถัง SUV
ก่อนหน้านี้ แม้ AUDI จะปล่อยรถต้นแบบ BEV หรือยานยนต์ไฟฟ้า 100% โชว์ตัวมาแล้วหลายโมเดล แต่ ‘e-tron 55 quattro’ นับเป็นรถไฟฟ้าโมเดลแรกที่ AUDI พร้อมผลิตจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ความน่าสนใจอยู่ที่วิศวกร AUDI ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ในการสร้างรถยนต์สมรรถนะสูงมายัง BEV ของพวกเขาอย่างครบถ้วน เป็น know-how ที่สร้างสรรค์เทคโนโลยี พร้อมบุคลิกเฉพาะตัวให้กับรถทุกโมเดลจากค่ายนี้ ดังนั้น BEV ภายใต้แบรนด์ ‘e-tron’ ในอนาคต จะได้รับการถ่ายทอดฟีลลิ่ง และอารมณ์ในการขับขี่สไตล์ AUDI มาแบบครบถ้วน
นอกเหนือจากพาหนะใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE: Internal Combustion Engine) เป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อน ปัจจุบันเรามีโอกาสสัมผัส BEV กระทั่งจะกลายเป็นพาหนะปกติที่พบเห็นได้ทั่วไป ผู้เขียนได้นำเสนอ BEV ไปแล้วหลายรุ่น และเกือบทุกรุ่นจากทุกผู้ผลิต จะมาพร้อมสถาปัตยกรรมในการออกแบบ BEV ที่ไม่แตกต่างกัน
นั่นคือ การวางชุดแบตเตอรี่ไว้ใต้พื้นห้องโดยสาร ระหว่างเพลาหน้าและเพลาหลัง เพื่อลด C.G. ของรถทั้งคัน จากนั้นใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนล้อโดยตรง ซึ่งมีให้เห็นทั้งแบบขับเคลื่อนล้อหน้า, แบบขับเคลื่อนล้อหลัง และขับเคลื่อนทั้ง 4 ล้อ ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าจำนวน 2 ตัว เชื่อมต่ออยู่กับล้อหน้าและล้อหลัง
- โคมไฟหน้า Digital Matrix LED มาพร้อมคุณสมบัติพิเศษในการกระจายแสงไฟ ในรูปแบบที่ระบบส่องสว่างประเภทอื่นๆ ไม่สามารถทำได้
- ไฟท้าย LED พร้อมชุดสะท้อนแสง 3D glass เพิ่มมิติในการมองเห็น
BEV เกือบทุกรุ่นจากทุกผู้ผลิต จะมาพร้อมสถาปัตยกรรมในการออกแบบเดิมๆ นั่นคือ การวางชุดแบตเตอรี่ไว้ใต้พื้นห้องโดยสาร ระหว่างเพลาหน้าและเพลาหลัง เพื่อลด C.G. ของรถทั้งคัน จากนั้นใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนล้อโดยตรง ซึ่งมีให้เห็นทั้งแบบขับเคลื่อนล้อหน้า แบบขับเคลื่อนล้อหลัง และขับเคลื่อนทั้ง 4 ล้อ ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าจำนวน 2 ตัว เชื่อมต่ออยู่กับล้อหน้าและล้อหลัง
- AUDI เป็นผู้ผลิตรถยนต์ค่ายใหญ่ ที่เชี่ยวชาญเรื่องอากาศพลศาสตร์ และทุกทฤษฎีถูกนำมาใช้กับ Q8 e-tron ผลลัพธ์ คือ ตัวเลข Cd. ที่ต่ำเพียง 0.26-0.24 (Sportback) และ 0.28-0.27 (SUV)
ไฮไลต์ของ Electric SUV ‘e-tron 55 quattro’ ในวันนั้น ไม่ได้มีเพียงแค่เรื่องพละกำลังรวม 300 kW หรือแรงบิดรวม 664 Nm หรือรถวิ่งใช้งานได้ไกลราว 400 กิโลเมตร/ชาร์จ แต่ AUDI ได้ใส่รายละเอียด “ในความเป็นรถ” ให้กับ e-tron ในทุกองค์ประกอบ อาทิ ระบบแอโรไดนามิก, ระบบระบายความร้อน, การตอบสนองของมอเตอร์ไฟฟ้า ที่ถอดบุคลิกมาจากเครื่องยนต์ และระบบขับเคลื่อน quattro
ที่แม้การขับเคลื่อนแบบ AWD จะมาจากมอเตอร์ไฟฟ้า แต่วิศวกร AUDI ได้ออกแบบโปรแกรมการทำงาน กระทั่งระบบ quattro จาก e-tron ให้ประสิทธิภาพการในขับเคลื่อนที่ไม่แตกต่างกันจากระบบ quattro แบบดั้งเดิม
ตัวถังของ e-tron 55 quattro จัดอยู่ในประเภท ‘full-size SUV’ ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับ Q7 และ Q8 จากมิติ ความกว้าง, ความยาว และความสูง ที่ 1,935, 4,902 และ 1,616 มิลลิเมตร ตามลำดับ ในส่วนของความกว้าง วัดรวมกระจกมองข้างแบบ Virtual Exterior Mirrors
(อดีตเรียก e-mirrors) อุปกรณ์นี้ถูกติดตั้งแทนที่กระจกมองข้างทั้ง 2 ฝั่ง จากกระจกหูช้างบานใหญ่ที่เราคุ้นเคยใน SUV จะเหลือเพียงก้านบาง ๆ ที่โผล่ยื่นมาจากตัวรถ และเมื่อ facelift มาเป็น Q8 e-tron
- ห้องโดยสารสไตล์เรียบหรู เป็นดีไซน์ที่ลงตัวทั้งเรื่องการจัดวาง และคุณภาพวัสดุ แดชบอร์ด หรือแผงมาตรวัดของ AUDI Virtual Cockpit ใช้จอแสดงผลแบบ TFT ขนาด 3 นิ้ว ขณะที่ระบบ MMI ใช้ 2 จอ จอบนขนาด 10.1 นิ้ว และจอล่างขนาด 8.6 นิ้ว
- เรื่องสรีรศาสตร์ของเบาะนั่ง ความประณีตของงานหนัง รวมทั้งสัมผัสที่ได้จากการโดยสาร AUDI ไม่เคยตามใคร
เพื่อเป็นรถปี 2023 จะมีมิติตัวถังเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยที่ 1,937, 4,915 และ 1,619 มิลลิเมตร ตามลำดับ และหากเป็น SQ8 e-tron ทั้งตัวถังปกติ และ Sportback จะเตี้ยกว่า 2 มิลลิเมตร และกว้างกว่า 39 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อจัดมาที่ 2,928 มิลลิเมตร เพื่อเพิ่ม Legroom ของเบาะนั่งแถวสอง
โดยเฉพาะ Q8 e-tron ตัวถัง SUV มีความจุห้องเก็บสัมภาระด้านหลัง 569 ลิตร ขณะที่ตัวถัง Sportback จุได้ที่ 528 ลิตร โดยทั้ง 2 รูปแบบตัวถัง มีพื้นที่เก็บสัมภาระเพิ่มใต้ฝากระโปรงหน้า จุได้ 62 ลิตร พื้นที่ส่วนนี้ AUDI เรียกว่า ‘Frunk’
วกกลับมาที่ตัวก้านของ Virtual Exterior Mirrors ออกแบบตามหลักอากาศพลศาสตร์ ติดตั้งกล้องมุมกว้างขนาดเล็กข้างละ 2 ตัว กล้องตัวแรกให้มุมมองในลักษณะ top-view อำนวยความสะดวกในการถอยจอด รวมทั้งเพิ่มความแม่นยำในการจำลองภาพจากมุมบนแบบ 360 องศารอบตัวถัง กล้องตัวที่สองจะส่งภาพท้ายรถจากด้านข้างตัวถัง ซ้าย-ขวา ไปแสดงผ่านจอในห้องโดยสาร โดยจอของระบบนี้ถูกติดตั้งบนแผงข้างบานประตู ทั้งฝั่งผู้ขับและฝั่งผู้โดยสารด้านหน้า ในตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับการมองกระจกมองข้างปกติ
จอข้างบานประตูเป็นแบบสัมผัส ความละเอียด 1,280 x 1,080 พิกเซล ผู้ใช้สามารถเลือกปรับมุมมองภาพจากกล้องนอกรถ ผ่านจอได้เช่นเดียวกับการ zoom in หรือ zoom out บนหน้าจอแท็บเล็ต ขนาดตัวเรือนของ Virtual Exterior Mirrors ภายนอกรถจึงเล็กลงมาก แต่ยังคงติดตั้งไฟเลี้ยว LED ได้เช่นเดิม และช่วยลดแรงต้านอากาศได้ดียิ่งขึ้น
ตัวเลขสัมประสิทธิ์แรงเสียดทางอากาศ (Cd.) ของ e-tron 55 quattro อยู่ที่ 0.28 จัดอยู่ในระดับต่ำมาก เมื่อเทียบกับ SUV ขนาดตัวใกล้เคียงกัน และพอ facelift มาเป็น Q8 e-tron ลู่ลมยิ่งขึ้น ตัวถัง SUV มีตัวเลขระดับ 0.28-0.27 ขณะที่ Q8 e-tron Sportback ซึ่งใช้ส่วนท้ายของหลังคาลาดเทในสไตล์คูเป้ กดตัวเลข Cd. เหลือเพียง 0.26-0.24 เท่านั้น
กระจังหน้ารถติดตั้งชุด Intelligent Controlled Air Intake ลักษณะเป็นครีบบานเกล็ด จะ ‘ปิด’ ไม่ให้อากาศไหลผ่านเข้าไปในห้องเครื่องและตัวถัง เพื่อลดแรงต้านอากาศ และจะ ‘เปิด’ ปล่อยให้ลมเคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในตัวถัง เพื่อช่วยสร้างแรงกด (และระบายความร้อน) ขณะรถใช้ความเร็ว สำหรับใต้ท้องรถถูกซีลปิดอย่างมิดชิด เพื่อลดการสะสมของมวลลมอันเป็นที่มาของแรงยกตัวถัง
ไฟหน้าจัดเต็มด้วยระบบส่องสว่าง Digital Matrix LED มาพร้อมสารพัดลูกเล่น เพื่อให้การกระจายลำแสงของไฟหน้าครอบคลุมกับทุกสถานการณ์การขับขี่ ส่วน Daytime Driving Light ถูกวางเป็นเส้นขอบภายในโคมไฟหน้า ซึ่งกลายเป็น Light Signature ของรถยนต์ AUDI ไปแล้ว ขณะที่โคมไฟท้ายใช้หลอด LED พร้อมชุดสะท้อนแสง 3D glass สร้างมิติในการมองเห็นได้เป็นอย่างดี สำหรับมุมมองด้านข้าง พื้นผิวตัวถังช่วงซุ้มล้อหน้าและล้อหลัง มีการเล่นระดับ เพิ่มความน่าสนใจให้กับ Q8 e-tron ได้อีกไม่น้อย
- Underbody Battery นอกจากลดจุดศูนย์ถ่วง ยังช่วยเรื่องการกระจายน้ำหนักระหว่างเพลาหน้าและเพลาหลัง ชุดแบตเตอรี่จะได้รับการปกป้องจากโครงสร้างรถเช่นเดียวกัน
- แบตลูกใหญ่ใน SQ8 e-tron ชาร์จจาก 10-80% รอเพียง 31 นาที เมื่อชาร์จผ่านไฟ DC, 170 kW
- ตัวเรือนแบตเตอรี่ใช้เคสอะลูมิเนียม ซีลกันน้ำ กันฝุ่น ได้รับการออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างรถ เพื่อลดความเสียหายของแบตเตอรี่ในกรณีที่รถประสบอุบัติเหตุ
800-volt System Voltage: Electric SUV
เทคโนโลยีเด่นใน e-tron GT ได้แก่ชุดขับเคลื่อน ซึ่งยกระดับไปใช้กระแสไฟ 800 โวลต์ จากที่รถไฟฟ้าและรถไฮบริดทั่วไป ใช้กันอยู่ที่ 400 โวลต์ ใน Q8 และ SQ8 e-tron ก็ไม่ต่างกัน รองรับการชาร์จทั้งไฟ AC และ DC กำลังไฟเริ่มต้น 11 kW ไปจนสุดที่ 170 kW
นั่นส่งผลให้เกิดประโยชน์ 2 ประการ ประการแรก ช่วยลดระยะเวลาในการชาร์จ ประการที่สอง วิศวกรกล่าวว่า การใช้ไฟฟ้าทั้งระบบที่ 800-volt จะช่วยลดน้ำหนักและขนาดของสายเคเบิลเมื่อเทียบกับ 400 โวลต์ เทคโนโลยีนี้ถูกถ่ายทอดมาจากตัวแข่งไฮบริดในสนาม เลอ มังส์ 24 ชั่วโมง
แบตเตอรี่ถูกวางไว้ในส่วนของพื้นห้องโดยสารเป็นมาตรฐาน Pure EV ตัวเรือนแบตเตอรี่ใช้เคสอะลูมิเนียมซีลกันน้ำ กันฝุ่น ได้รับการออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างรถ เพื่อลดความเสียหายของแบตเตอรี่ในกรณีที่รถประสบอุบัติเหตุ
ชุดแบตเตอรี่มาพร้อมระบบควบคุมอุณหภูมิ สร้างความเสถียรในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าในทุกสภาพภูมิอากาศ Q8 50 e-tron มีความจุแบตรวม 89 kWh net (95 kWh gross) การชาร์จรองรับกำลังไฟกระแสตรง (DC: Direct Current) สูงสุด 150 kW ขณะที่ Q8 55 e-tron และ SQ8 e-tron ได้แบตขนาดใหญ่กว่า 106 kWh net (114 kWh gross) การชาร์จรองรับกำลังไฟ DC สูงสุดที่ 170 kW
- ชุดแบตเตอรี่มาพร้อมระบบหล่อเย็นภายใน
Q8 50 e-tron มีความจุรวม 89 kWh net (95 kWh gross) การชาร์จรองรับกำลังไฟ DC สูงสุด 150 kW ขณะที่ Q8 55 e-tron และ SQ8 e-tron ได้แบตขนาดใหญ่กว่า 106 kWh net (114 kWh gross) การชาร์จรองรับกำลังไฟ DC ได้สูงสุด 170 kW
- ฟังก์ชัน Recuperation รับหน้าที่ในการสร้างพลังงานป้อนกลับสู่ระบบ แบ่งการทำงานเป็น 3 สเต็ป เริ่มต้นจากชาร์จแบบเบาๆ เมื่อผู้ขับถอนเท้าออกจากแป้นคันเร่ง และมอเตอร์ไฟฟ้าสร้างแรงหน่วง (กว่า 0.3 g) เพิ่มระดับการชาร์จไฟ เมื่อผู้ขับเหยียบแป้นเบรก
แบตลูกใหญ่ (ใน Q8 55 e-tron และ SQ8 e-tron) ชาร์จจาก 10-80% รอเพียง 31 นาที หรือชาร์จราวครึ่งชั่วโมง เมื่อชาร์จ DC, 170 kW รองรับการเดินทางในสภาพปกติได้ไกล 420 กิโลเมตร (WLTP) และเมื่อชาร์จผ่านไฟบ้าน กระแสสลับ (AC: Alternating Current) แรงเคลื่อน 11 kW จะใช้เวลาราว 11 ชั่วโมงครึ่ง หรือชาร์จทิ้งไว้ทั้งคืน และลดเวลาเหลือเพียง 6 ชั่วโมง เมื่อชาร์จผ่านไฟ AC แรงเคลื่อน 22 kW ส่วนการชาร์จแบตลูกเล็ก (ใน Q8 50 e-tron) ผ่านไฟบ้าน AC ทั้ง 11 kW และ 22 kW จะใช้เวลา 9 ชั่วโมง 15 นาที และ 4 ชั่วโมง 45 นาที ตามลำดับ ตัวเลขทั้งหมดทดสอบภายใต้สภาพแวดล้อมปกติ
- มอเตอร์ไฟฟ้าทำหน้าที่ขับเคลื่อนล้อหลังใน Q8 e-tron
Powertrain:
เช่นเดียวกับ e-tron GT การตั้งชื่อรุ่นย่อยของ Q8 e-tron ยังคงอ้างอิงกับรถ AUDI รุ่นที่ใช้เครื่องยนต์ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของค่าย แตกออกเป็น 3 รุ่น ได้แก่ Q8 50 e-tron, Q8 55 e-tron และ SQ8 e-tron (แต่ละรุ่นมี 2 รูปแบบตัวถัง คือ SUV กับ Sportback)
โดยรถ Q8 e-tron รุ่นมาตรฐาน ปลดปล่อยแรงม้าจากมอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตัว ที่แยกกันขับเคลื่อนล้อหน้าและล้อหลังอย่างอิสระ
ขณะที่ SQ8 e-tron ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าจำนวน 3 ตัว แบ่งเป็นล้อหน้า 1 ตัว และล้อหลังอีก 2 ตัว นั่นหมายความว่า Q8 e-tron เป็นรถขับเคลื่อน 4 ล้อ ในรูปแบบ ‘electric all-wheel drive’
การทำงานระหว่างชุดขับเคลื่อนด้านหน้าและด้านหลัง ของมอเตอร์ไฟฟ้า (electric machine), ระบบส่งกำลัง และชุดควบคุม pulse-controlled inverter จะถูกผสานเป็นหนึ่งเดียวภายใต้ขนาดอันกะทัดรัด
ตัวมอเตอร์ไฟฟ้าถูกวางในลักษณะ ‘ต่อโดยตรง’ อยู่กับเพลาขับ เพื่อลดการสูญเสียในเชิงกล Q8 50 e-tron กำลังรวมในการขับเคลื่อนอยู่ที่ 250 kW หรือราว 335 PS แรงบิดสูงสุด 664 Nm ตัวถัง SUV เดินทางได้ไกล 491 กิโลเมตร (WLTP)
- SQ8 e-tron ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้ารวม 3 ตัว ตัวหน้าขนาด 124 kW ขณะที่มอเตอร์ 2 ตัว ที่ขับเคลื่อนล้อหลัง (Twin-motor) แต่ละตัวมีกำลัง 98 kW กำลังรวมของทั้งระบบอยู่ที่ 370 kW หรือ 496 PS แรงบิดสูงสุด 973 Nm
ขณะที่ตัวถัง Sportback ทำได้ 505 กิโลเมตร (WLTP) ถัดมา Q8 55 e-tron กำลังรวมในการขับเคลื่อนอยู่ที่ 300 kW หรือประมาณ 402 PS แรงบิดสูงสุดเท่ากันที่ 664 Nm ตัวถัง SUV เดินทางได้ไกล 582 กิโลเมตร (WLTP) ขณะที่ตัวถัง Sportback ทำได้ถึง 600 กิโลเมตร (WLTP) โดยทั้ง 2 รุ่น ถูกจำกัดความเร็วสูงสุดไว้ที่ 200 กม./ชม.
สำหรับตัวแรง SQ8 จัดเต็มด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 3 ตัว ชุดหลังเป็น Twin-Motor ให้กำลังขับเคลื่อนรวม 370 kW หรือ 496 PS แรงบิดสูงสุดมหาศาลถึง 973 Nm ตัวถัง SUV เดินทางได้ไกล 494 กิโลเมตร (WLTP) ขณะที่ตัวถัง Sportback ทำได้ 513 กิโลเมตร (WLTP) และ SQ8 ทั้ง 2 รูปแบบตัวถังถูกจำกัดความเร็วสูงสุดไว้ที่ 210 กม./ชม.
- electric all-wheel drive สามารถตอบสนองได้เร็วกว่าระบบ ‘quattro’ เวอร์ชันล่าสุด (ในรถใช้เครื่องยนต์) ที่ทำงานแบบกลไก-ไฟฟ้า ถึง 5 เท่า
ตัวแรง SQ8 e-tron จัดเต็มด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 3 ตัว ชุดหลังเป็น Twin-Motor ให้กำลังขับเคลื่อนรวม 370 kW หรือ 496 PS แรงบิดสูงสุดมหาศาลถึง 973 Nm ตัวถัง SUV เดินทางได้ไกล 494 กิโลเมตร (WLTP) ขณะที่ตัวถัง Sportback ทำได้ 513 กิโลเมตร (WLTP) ถูกจำกัดความเร็วสูงสุดไว้ที่ 210 กม./ชม.
ไฮไลต์ของ Q8 และ SQ8 e-tron อยู่ที่ระบบ ‘electric all-wheel drive’ ถ้าเป็นรถ ICE จากค่ายนี้ เราจะคุ้นเคยในชื่อ ‘quattro’ เป็นระบบ AWD ที่ใช้ระดับในการกระจายแรงขับเคลื่อนระหว่างล้อหน้าและล้อหลัง มาช่วยควบคุมเสถียรภาพการทรงตัวของรถ โดยการทำงานของ ‘quattro’ จะเชื่อมโยงกับระบบ AUDI drive select หรือการเลือกโหมดการขับขี่ของผู้ขับ
แน่นอนว่า ฟีลลิ่งทั้งหมดจากระบบ ‘quattro’ ที่ AUDI สั่งสมประสบการณ์มากว่า 40 ปี ได้ถูกถ่ายทอดมายังแต่ละสเต็ปในการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าทั้ง 2 ตัว ที่แยกกันขับเคลื่อนล้อหน้าและล้อหลังด้วยทั้งหมด ซึ่งการขับเคลื่อนลักษณะนี้ AUDI ได้โชว์เทคโนโลยีมาหลายรอบแล้ว กับรถต้นแบบหลายรุ่น ในชื่อระบบ ‘e-quattro’ แต่สุดท้าย AUDI เลือกจะสื่อสารกับผู้บริโภคด้วยชื่อ ‘electric all-wheel drive’ และมันตอบสนองได้เร็วกว่าระบบ ‘quattro’ เวอร์ชันล่าสุด (ในรถ ICE) ที่ทำงานแบบกลไก-ไฟฟ้า ถึง 5 เท่า
- ช่วงล่างถุงลมของ Q8 e-tron ปรับความสูงของตัวถังได้ถึง 76 มิลลิเมตร
- Driver Assistance Systems ใน Q8 และ SQ8 e-tron ทำงานจาก radar sensors มากถึง 5 ตัว, camera sensors รอบคันรวม 5 ตัว และ ultrasonic sensors อีก 12 ตัว
Chassis & Suspension: Electric SUV
ระบบกันสะเทือนของ Q8 และ SQ8 e-tron ได้รับพัฒนามาพร้อมกับแพลตฟอร์ม ‘MBL Evo’ ใช้ Adaptive Air Suspension (แอร์สปริง) หรือกันสะเทือนที่ปรับเปลี่ยนความสูง และรูปแบบในการตอบสนองได้ตามความเร็วรถ
โครงสร้างของกันสะเทือนใช้อะลูมิเนียมที่ผลิตจากกรรมวิธี Forced เป็นพื้นฐาน เพื่อลดน้ำหนักใต้สปริง ด้านหน้าเป็นแบบปีกนกคู่ และด้านหลังเป็นแบบมัลติลิงก์
การทำงานของช่วงล่างถุงลม ถูกควบคุมผ่านซอฟต์แวร์ ECP (Electronic Chassis Platform) หน้าที่ของระบบนี้ คือ การปรับระดับความสูงของตัวถัง และปรับระดับการตอบสนอง ทั้งนุ่มนวลและหนึบแน่นของช็อคอัพ ให้แปรผันไปตามความเร็วรถ
Adaptive Air Suspension ใน Q8 e-tron เป็นช่วงล่างถุงลมเวอร์ชันล่าสุด ด้านหน้าใช้แอร์สปริงแบบ Three-chamber มีความจุลมเพิ่มขึ้นถึง 60 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร
ขณะที่ส่วนของ Damper หรือช็อคอัพ คู่หน้าจัดเต็มด้วย Single-tube ซึ่งเป็นช็อคไฟฟ้า ที่ทำงานเชื่อมโยงกับระบบ ECP นั่นเอง
ระบบ ECP จะเข้าไปคอนโทรลระดับการหน่วงของช็อคอัพ (คู่หน้าซ่อนอยู่ภายในชุดของถุงลม) นอกจากนี้ ECP ยังแอบเข้าไปทำงานขณะรถออกตัว หรือเบรกอย่างรุนแรง และขณะรถเข้าโค้ง เพื่อรักษาสมดุลบนตัวถังให้อยู่ในสภาพปกติด้วย ถุงลมใน Q8 e-tron สามารถปรับเปลี่ยนความสูงของตัวถังได้มากถึง 76 มิลลิเมตร ตามรูปแบบการขับขี่
- SQ8 e-tron ถูกตอนความเร็วสูงสุดไว้ที่ 210 กม./ชม.
ปิดท้ายด้วยระบบช่วยผู้ขับ (Driver Assistance Systems) ใน Q8 และ SQ8 e-tron นับรวมได้กว่า 40 ระบบ ทั้งที่เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน และเป็นออปชันที่ลูกค้าสั่งติดเพิ่มได้ โดยทั้งหมดทำงานจาก radar sensors มากถึง 5 ตัว, camera sensors รอบคันรวม 5 ตัว และ ultrasonic sensors อีก 12 ตัว
ทั้งหมดนอกจากเรื่องลดอุบัติเหตุ รถ BEV ไร้มลพิษทั้ง Q8 และ SQ8 e-tron ยังออกแบบมาสำหรับระบบ Autonomous หรือระบบขับขี่อัตโนมัติ ที่มี Infrastructure รองรับการใช้งานในหลายพื้นที่ของเมืองใหญ่ เอาไว้เรียบร้อยแล้ว พร้อมแล้วสำหรับการเป็นเรือธงของค่ายมุ่งหน้าสู่สังคมยานยนต์ไฟฟ้ากับ Electric SUV รุ่นใหม่ล่าสุด
เรื่อง : พิทักษ์ บุญท้วม
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสารยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ได้ที่ www.grandprix.co.th