IIHS ชี้ถุงลมนิรภัยที่เข่าช่วยได้ไม่มาก
เป็นที่ยอมรับกันว่าแอร์แบ็กหรือถุงลมนิรภัยในรถยนต์เป็นอุปกรร์ด้านความปลอดภัยที่มีประโยชน์สามารถช่วยชีวิตผู้อยู่ในรถเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้มาก จึงทำให้ผู้ผลิตรถยนต์มีการพัฒนาถุงลมนิรภัยในส่วนต่างๆ ของห้องโดยสารแล้วนำมาใช้มากขึ้นเพื่อเพิ่มความปลอดภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยหนึ่งในรูปแบบถุงลมนิรภัยที่ถูกติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานของรถหลายรุ่นคือถุงลมนิรภัยที่เข่าซึ่งพองตัวออกมาจากใต้แผงแดชบอร์ดเมื่อเกิดการชน แต่อย่างไรก็ตามถุงลมนิรภัยในจุดนี้อาจไม่ได้มีประโยชน์มากอย่างที่คิด
ทางสถาบันประกันภัยเพื่อความปลอดภัยบนทางหลวงของสหรัฐอเมริกา Insurance Institute for Highway Safety หรือ IIHS ได้มีการสรุปออกมาว่าประโยชน์ของถุงลมนิรภัยที่เข่าต่อผู้ขับและผู้โดยสารมีเพียงเล็กน้อยหลังทำการศึกษาถึงผลจากการใช้ถุงลมนิรภัยที่เข่า โดยผลลัพธ์ในใช้ถุงลมนิรภัยที่เข่าซึ่งเป็นข้อสรุปของ IIHS มาจากการรวบรวมรายงานอุบัติเหตุการชนที่ด้านหน้าใน 14 รัฐของสหรัฐอเมริการวมทั้งจากการทดสอบการชนกว่า 400 เคส[expander_maker id=”4″ more=”อ่านเพิ่มเติม” less=”Read less”]
เพื่อเปรียบเทียบความเสี่ยงในการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นภายในรถมีถุงลมนิรภัยที่เข่ากับรถที่ไม่มีถุงลมนิรภัยในส่วนนี้ ผลสรุปจากการศึกษาคือถุงลมนิรภัยที่เข่าไม่ได้มีส่วนช่วยมากนัก ทาง IIHS ได้ตั้งข้อสังเกตว่า “ถุงลมนิรภัยที่เข่ามีผลเพียงเล็กน้อยต่อการวัดความบาดเจ็บจากหุ่นในการทดสอบชนด้านหน้าฝั่งผู้ขับที่ในพื้นที่การชนเล็กน้อย (ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ของด้านหน้า) และพื้นที่การชนปานกลาง (ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์) โดยการชนที่มีพื้นที่การปะทะเล็กน้อยถุงลมนิรภัยที่เข่าได้มีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการบาดเจ็บเพิ่มขึ้นในบริเวณช่วงล่างของขาและกระดูกโคนขา ในขณะที่ความเสี่ยงในการบาดเจ็บที่ศรีษะลดลง ในขณะที่ถุงลมนิรภัยที่เข่าไม่มีผลต่อการบาดเจ็บจากการชนที่มีพื้นที่ปะทะปานกลาง”
โดยการศึกษาของ IIHS พบว่าถุงลมนิรภัยที่เข่าช่วยลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บลงจาก 7.9 เปอร์เซ็นต์เป็น 7.4 เปอร์เซ็นต์ซึ่งยังไม่เป็นตัวเลขที่มากเพียงพอในการเพิ่มความปลอดภัยอย่างชัดเจน ทาง IIHS ยังบอกเพิ่มว่าผู้ผลิตรถยนต์หลายรายติดตั้งถุงลมนิรภัยที่เข่าเพื่อให้ผ่านการทดสอบความปลอดภัยของรัฐโดยใช้หุ่นที่ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย โดยพวกเขาคิดว่ามีความเป็นไปได้ที่ถุงลมนิรภัยที่เข่าจะให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในการป้องกันการบาดเจ็บสำหรับผู้ที่ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย แต่การศึกษาของ IIHS ไม่ได้ดูไปที่การชนในกรณีที่ผู้อยู่ในรถไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย
เรื่อง: กองบรรณาธิการ
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th[/expander_maker]