MAZDA พร้อมทุ่ม 5,000 ล้าน เตรียมผลิต MHEV ตั้งเป้า 1 แสนคัน/ปี หลังผ่านอนุมัติจาก BOI
![mazda boi mhev 2025](https://www.grandprix.co.th/wp-content/uploads/2025/02/นายมาซาฮิโร-โมโร-President-and-CEO-ของบริษัท-มาสด้า-มอเตอร์-คอร์ปอเรชั่น-ประเทศญี่ปุ่น-ได้เข้าเย-Medium.jpg)
MAZDA พร้อมทุ่ม 5,000 ล้าน ตอกย้ำแผนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทย ตั้งเป้า 1 แสนคัน/ปี หลังผ่านอนุมัติแพคเกจผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจาก BOI หรือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
จากในอดีตที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าทางมาสด้าได้มีการลงทุนสร้างฐานการผลิตในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยได้ก่อตั้งโรงงาน AutoAlliance (AAT) ที่จังหวัดระยอง เมื่อปี 2538 เพื่อผลิตรถยนต์นั่งและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และได้ก่อตั้งโรงงาน Mazda Powertrain Manufacturing Thailand (MPMT) ที่จังหวัดชลบุรี เมื่อปี 2558 เพื่อผลิตเครื่องยนต์และเกียร์อัตโนมัติ ซึ่งทั้งสองโรงงานเป็นรากฐานสำคัญที่ส่งเสริมให้ประเทศไทยกลายเป็นจุดศูนย์กลางในการผลิตรถยนต์มาสด้าและชิ้นส่วน เพื่อจำหน่ายภายในประเทศและส่งออกไปยังตลาดทั่วโลก
โดยเป้าประสงค์ของ MAZDA ในปี 2025 นี้ คือต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (xEV) จึงตัดสินใจทุ่มงบประมาณกว่า 5,000 ล้านบาท เพื่อตอกย้ำแผนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทย โดยตั้งเป้า 1 แสนคัน/ปี หลังจากที่วันนี้ มร.มาซาฮิโร โมโร President & CEO ของบริษัท มาสด้า มอเตอร์ คอร์เปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี และเผยแผนการลงทุนมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาทให้ทราบ หลังจากผ่านอนุมัติแพคเกจผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจาก BOI หรือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
โดย ชาญชัย ตระการอุดมสุข
ประธานบริหาร มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด
เปิดเผยว่า “แผนโปรดักต์ในปีนี้ อยู่ภายใต้กลยุทธ์ Product and Technology Value Enhancement เพื่อสร้างความแตกต่างในตลาดและนำเสนอแต่สิ่งที่ดีให้แก่ลูกค้า โดยต้องเป็นผลิตภัณที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก”
ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าทั้ง 3 ประเภทที่ผ่านการอนุมัติจาก BOI มานั้น ได้แก่
- HEV
- PHEV
- BEV
แน่นอนว่าการที่มาสด้าวางเป้าหมายว่าจะเข้ามาเป็นส่วนหสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในเทศไทย รวมถึงขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (xEV) นั้น ทางมาสด้าเองวางองค์ประกอบไว้ด้วยกัน 3 องค์ประกอบ ตามรากฐานวิสัยทัศน์ของมาสด้า “Mazda Building Block Strategy”
- กรอบเวลาของการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์
- การพัฒนาโมเดลทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
- การเปลี่ยนถ่ายจากเทคโนโลยีปัจจุบันสู่เทคโนโลยีอนาคตในช่วงเวลาที่เหมาะสม
ด้านชาญชัย ตระการอุดมสุข
ประธานบริหาร มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด
กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า
“เรามุ่งเน้นการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง ด้วยการพัฒนาคุณค่าของแบรนด์ในทุกๆ ด้าน รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อยู่เสมอ โดยวางอยู่บนพื้นฐานของความต้องการลูกค้าเป็นหลัก เพื่อสร้างสรรค์ให้รถยนต์ของเราสามารถนำมาซึ่งความสนุกสนานในการขับขี่ และช่วยให้ทุกช่วงเวลาบนท้องถนนเต็มไปด้วยความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น”
เรื่อง : กองบรรณาธิการ
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสารยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ได้ที่ www.grandprix.co.th
จากในอดีตที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าทางมาสด้าได้มีการลงทุนสร้างฐานการผลิตในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยได้ก่อตั้งโรงงาน AutoAlliance (AAT) ที่จังหวัดระยอง เมื่อปี 2538 เพื่อผลิตรถยนต์นั่งและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และได้ก่อตั้งโรงงาน Mazda Powertrain Manufacturing Thailand (MPMT) ที่จังหวัดชลบุรี เมื่อปี 2558 เพื่อผลิตเครื่องยนต์และเกียร์อัตโนมัติ ซึ่งทั้งสองโรงงานเป็นรากฐานสำคัญที่ส่งเสริมให้ประเทศไทยกลายเป็นจุดศูนย์กลา
งในการผลิตรถยนต์มาสด้าและชิ้นส่วน เพื่อจำหน่ายภายในประเทศและส่งออ
โดยเป้าประสงค์ของ MAZDA ในปี 2025 นี้ คือต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (xEV) จึงตัดสินใจทุ่มงบประมาณกว่า 5,000 ล้านบาท เพื่อตอกย้ำแผนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทย โดยตั้งเป้า 1 แสนคัน/ปี หลังจากที่วันนี้ มร.มาซาฮิโร โมโร President & CEO ของบริษัท มาสด้า มอเตอร์ คอร์เปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี และเผยแผนการลงทุนมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาทให้ทราบ หลังจากผ่านอนุมัติแพคเกจผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจาก BOI หรือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกไปยังตลาดทั่วโลก
ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าทั้ง 3 ประเภทที่ผ่านการอนุมัติจาก BOI มานั้น ได้แก่
HEVPHEVBEV
แน่นอนว่าการที่มาสด้าวางเป้าหมายว่าจะเข้ามาเป็นส่วนหสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในเทศไทย รวมถึงขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (xEV) นั้น ทางมาสด้าเองวางองค์ประกอบไว้ด้วยกัน 3 องค์ประกอบ ตามรากฐานวิสัยทัศน์ของมาสด้า “Mazda Building Block Strategy”
รอบเวลาของการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์
การพัฒนาโมเดลทางธุรกิจอย่างต่อเนื่องการเปลี่ยนถ่ายจากเทคโนโลยีปัจจุบันสู่เทคโนโลยีอนาคตในช่วงเวลาที่เหมาะสม