“NOW…EVERYONE CAN DRIFT!”
historical drift
หลายคนรู้จักการ ดริฟท์ แต่ยังไม่เคยรู้ว่าที่มาที่ไปนั้นมาจากไหน เกิดขึ้นอย่างไร วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับการดริฟท์ โดยการดริฟท์มีต้นกำเนิดมาจากกลุ่มนักแข่งตามถนนบนภูเขาแถบชนบทในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งการแข่งนี้มีชื่อเรียกว่า “โทเกะ” โดย “เคอิชิ ทสึชิยะ” ผู้ที่ถูกขนานนามว่า Drift King เขาลงแข่งขันโทเกะ ในขณะแข่งนั้น เขาตกอยู่ในอันดับรั้งท้าย จึงตัดสินใจเหวี่ยงรถผ่านโค้ง ทำให้ผู้ชมตกตะลึง หลังจากนั้นเขาจึงเรียกการเหวี่ยงรถผ่านโค้งนี้ว่า “การดริฟท์” แม้ว่าที่นี่อาจไม่ใช่ต้นกำเนิดอย่างแท้จริง แต่ก็เป็นที่มาของชื่อดริฟท์ และการขับดริฟท์ให้ผู้คนเห็นเป็นครั้งแรก เมื่อปี 1977 หลังจากนั้น เคอิชิ ได้กลายเป็นนักแข่งสมัครเล่นหลากหลายรายการ จนเริ่มมีสปอนเซอร์ และใช้เทคนิกการดริฟท์นี้ในสนามแข่ง ทำให้เขาทำความเร็วขณะเข้าโค้งได้มากกว่าคู่แข่งคนอื่นๆ และเอาชนะมาได้หลายสนาม จนได้สมยานามว่า Drift King…
WHAT IS DRIFTING?
หากถามว่าการดริฟท์ คืออะไร อธิบายง่ายๆ การดริฟท์คล้ายกับการบังคับรถให้ไถล หรือเหวี่ยงขณะการเข้าโค้งได้โดยที่ยังสามารถรักษาระดับความเร็วไว้ได้ และไม่ลื่นไถลออกนอกเส้นทาง แต่หากอธิบายตามหลักการ การดริฟท์คือ รูปแบบการขับขี่โดยใช้การโอเวอร์สเตียร์ในการเข้าโค้ง ซึ่งล้อหลังจะลื่นไถลมากกว่าล้อหน้า ท้ายรถจะอยู่ในลักษณะกวาดออกตลอดโค้ง โดยผู้ขับจะต้องบังคับพวงมาลัยควบคู่เพื่อบังคับให้รถไปในทิศทางที่ต้องการ ซึ่งมีประโยคที่น่าจดจำประโยคหนึ่งที่เคอิชิ หรือ Drift King เคยพูดไว้เกี่ยวกับการดริฟท์คือ “การดริฟท์ไม่ได้ทำให้เข้าโค้งได้เร็วขึ้น…แต่มันทำให้เข้าโค้งได้สนุกมากขึ้น”
DRIFTING IS NOT A MOTORSPORT
ให้ทำความเข้าใจก่อนว่า การดริฟท์นั้นไม่ใช่กีฬาแข่งความเร็ว หากแต่เป็นเทคนิก หรือลูกเล่นในการขับ ซึ่งดูจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งปริมาณควันยาง ความตื่นเต้น รถเลี้ยวเฉียดผนังข้างทาง มุมการเข้าโค้ง เข้าไลน์ และความหวาดเสียวที่เกิดขึ้น ซึ่งหากเป็นการแข่งขันดริฟท์จริงๆ นั้น กฏกติกาจะถูกกำหนดให้ทราบก่อนการแข่งจะเริ่มต้น เช่นบางสนามจะต้องลงแข่งครั้งละ 2 คัน หรือที่เรียกว่า “สึอิโซะ” หมายถึงการวิ่งไล่กัน ดังนั้นการที่มีรถสองคันลงสนามเพื่อที่จะดริฟท์ไปพร้อมกันเพื่อให้ได้วงเลี้ยงในองศาเดียวกัน คือภาพที่สวยงามของผู้ชมที่รักในการดริฟท์อย่างมาก ซึ่งการวัดผลเขาจะไม่ได้วัดกันที่ความเร็ว หรือการถึงเส้นชัยก่อนคือผู้ชนะ แต่การเข้าโค้งด้วยการดริฟท์ที่สวยงามกว่าอาจเป็นผู้คว้าชัยชนะไปครอง
THE NEW EXPERINCE BY IMPACT DRIFT PARK
เรามาถึงยุคที่วันนี้…ใครๆ ก็ดริฟท์ได้ เมื่ออิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด ได้เล็งเห็นถึงความต้องการของผู้ที่รักความเร็ว และต้องการสัมผัสประสบการณ์การดริฟท์ จึงเปิดสนามดริฟท์โกคาร์ทไฟฟ้าขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ภายใต้ชื่อ “IMPACT DRIFT PARK” กับสโลแกน NOW!…EVERYONE CAN DRIFT
สนามดริฟท์แห่งนี้ถูกออกแบบขึ้นเป็นพิเศษ มาพร้อมระบบเฝ้าติดตามอิเล็กทรอนิกส์ชุดแรกของโลกที่ระบุตำแหน่งของรถโกคาร์ทได้ถึง 50 ครั้งต่อวินาที และมีระบบแผงกั้นสนามที่ทันสมัยจาก Protex ซึ่งมาพร้อมระบบสปริงที่ออกแบบมาเพื่อดูดซับแรงกระแทก และสามารถกลับเข้าที่เดิมได้เพื่อความปลอดภัยสูงสุด
พื้นที่ของสนามตั้งอยู่ในร่ม พื้นที่กว้างขวาง มีโซนห้องแอร์สำหรับการนั่งพักผ่อน หรือนั่งชมเพื่อนๆ ที่ลงสนามดริฟท์ ด้วยโซฟาสุดหรู พร้อมจอแสดงสถิติของผู้ลงแข่ง
NOW…EVERYONE CAN DRIFT!
การดริฟท์ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เมื่อคุณเข้ามาที่ IMPACT DRIFT PARK ใครๆ ก็ดริฟท์ได้เป็นเรื่องจริง เรียกว่ามาแต่ตัว ไม่ต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรมาก็ได้ ขอเพียงใส่รองเท้าผ้าใบ ไม่สวมรองเท้าแตะ และมีความสูงไม่ต่ำกว่า 120 เซ็นติเมตร เพื่อความปลอดภัย
เมื่อสมัครสมาชิก ซื้อบัตรลงสนามเรียบร้อย ทางสนามจะมีผู้เชี่ยวชาญบริฟไลน์สนามให้เบื้องต้น หลังจากนั้นก็สวมหมวกผ้าก่อนสวมหมวกกันน็อก ลงรถรัดคาดเข็มขัด ปรับเบาะนั่งให้ได้ระยะ หลังจากนั้นก็รอสัญญาณแตะคันเร่งออกตัวได้เลย
เทคนิกการขับไม่ยาก เพียงแค่ประคองรถให้ดี กะจังหวัดให้ถูก ระวังไม่ให้รถเสียการทรงตัว พร้อมใช้ความเร็ว ความสมดุล ความต่อเนื่องในการดริฟท์ให้คงที่ และยิ่งคุณทำมุมในการดริฟท์ได้กว้างมากเท่าไหร่ การทำคะแนนในสนามของคุณก็เป็นเรื่องง่าย แต่ถ้าคุณบังคับรถไม่สเถียรพอ รถจะหมุนบ่อย และเสียเวลา คะแนนของคุณก็จะถูกหักออกไปเรื่อยๆ
SERVICE CHARGE :
ค่าสมาชิก 100 บาท (ค่าธรรมเนียมแรกเข้าและทำใหม่กรณีหายหรือชำรุด) บัตรผู้ใหญ่ 600 บาท (อายุมากกว่า 14 ปีขึ้นไป) บัตรเด็ก 480 บาท (อายุ 7-14 ปี ความสูงไม่ต่ำกว่า 120 ซม.) |
LOCATION : https://maps.google.com/?cid=16986889935810637105
|
เรื่อง : สัญชวัล จินดารัศมี
ภาพ : พิศวัส พงษ์พุฒิโสภณ
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th