SMART FOURJOY รถต้นแบบไร้มลพิษ ไร้หลังคา และไร้ประตู
ผู้ผลิตเฉพาะรถเล็กตลอดกาลอย่าง SMART เพิ่มความน่าสนใจให้กับรถคันจิ๋วของตนเองอีกครั้ง ด้วยแนวคิดที่พร้อมฉีกตัวออกมาจากข้อจำกัดเดิมๆรถต้นแบบคันล่าสุดจาก SMART มีชื่ออย่างเป็นทางการ ว่า ‘fourjoy’ นอกจากเป็นรถไฟฟ้าไร้มลพิษ ยังไร้หลังคา ไร้หน้าต่าง และไร้บานประตู fourjoy จึงเป็นพาหนะที่ถูกออกแบบเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้หลงใหลในกิจกรรมกลาง แจ้ง แต่หากพิจารณาให้ลึกถึงขนาดตัวถัง และรายละเอียดบางส่วนของ fourjoy ก็พอจะมองต่อได้ว่า เจ้าคันนี้จะเป็นแม่ทัพให้กับ SMART ในอนาคตอันใกล้ เพื่อเปิดแนวรบกับ MINI เจเนอเรชั่นใหม่ รหัสตัวถัง F56!!!fourjoy มาพร้อมมิติ ความกว้าง ความยาว และความสูง ที่ 1,978,3,494 และ 1,494 มิลลิเมตร ตามลำดับ
ได้รับการออกแบบด้วยรูปทรงแฮตช์แบ็ก แบบ 2+2 ที่นั่ง ล้อถูกวางไว้ที่มุมทั้งสี่ของตัวถัง นั่นเป็นเครื่องยืนยันถึงฟีลลิ่งที่ถูกเน้นไปในด้านความสนุกในการขับขี่ให้ ความคล่องแคล่ว ปราดเปรียว พร้อมทั้งความฉับไวในการบังคับควบคุม จากวงเลี้ยวที่แคบเพียง 9.1 เมตร ฐานล้อที่กว้าง ช่วยขยายพื้นที่ส่วนห้องโดยสาร แถมยังเหลือพื้นที่ด้านหลังสำหรับเก็บสัมภาระเล็กๆ น้อยๆ รองรับกิจกรรมของสมาชิกในครอบครัวได้อย่างลงตัวจากโครงสร้างพื้นฐานเดิมของ รถยนต์ SMART คือการวางเครื่องยนต์บล็อกเล็กเอาไว้บนเพลาหลัง และขับเคลื่อนล้อหลัง ในfourjoy ทีมออกแบบจึงแทนที่เครื่องยนต์ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าได้แบบง่ายๆ มอเตอร์ไฟฟ้าของ fourjoy ให้พละกำลังในระดับ 55 kW แรงบิดสูงสุดในโหมดบูสต์อยู่ที่ 130 Nm แบตเตอรี่ที่ใช้เป็นแบบลิเทียม- อิออน ขนาด 17.6 kWh ถูกวางซ่อนตัวไว้ใต้พื้นห้องโดยสาร ส่งผลให้จุดศูนย์ถ่วงของรถทั้งคันต่ำลงแบตเตอรี่สามารถชาร์จด้วยไฟบ้านเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ ได้ในเวลา 8 ชั่วโมง และจะประหยัดเวลายิ่งขึ้น
สำหรับการชาร์จจากแหล่งจ่ายไฟสาธารณะชุดแบตเตอรี่ใน fourjoy มีระบบควบคุมอุณหภูมิเพื่อเพิ่มความเสถียรในการจ่ายกระแส ทำให้ fourjoy ยังสามารถใช้งานได้อย่างปกติแม้ในอุณหภูมิที่เย็นสุดขั้วระดับ -20 องศาเซสเซียส แม้ใต้พื้นห้องโดยสารของ fourjoy จะเป็นที่อยู่ของชุดแบตเตอรี่ แต่ความอเนกประสงค์ของห้องโดยสารขนาด 4 ที่นั่ง ก็ไม่ได้ลดน้อยลงเลย ใช้ดีไซน์ในสไตล์ทันสมัย ดูน่ารัก เสน่ห์หรือจุดดึงดูดสายตาอยู่ที่ชุดแผงมาตรวัด พวงมาลัย และรูปทรงของเบาะนั่ง คันเกียร์มีตำแหน่งเกียร์ให้เลือก 4 ตำแหน่ง ได้แก่ P (จอด), N (เกียร์ว่าง), D (เกียร์เดินหน้า) และ R (เกียร์ถอยหลัง) การขับขี่บนไฮเวย์หรือการใช้ความเร็วคงที่ ระบบจะปรับเข้าสู่โหมดประหยัด เพื่อลดการใช้พลังงานของมอเตอร์ และเช่นเดียวกับรถไฮบริด ที่การชะลอความเร็วหรือเบรกมอเตอร์จะเปลี่ยนหน้าที่ไปเป็นเจเนอเรเตอร์ชาร์จไฟป้อนกลับเข้าสู่แบตเตอรี่อัตราสิ้นเปลืองหรือระยะทางที่วิ่งได้ ต่อการชาร์จแบตเต็มแต่ละรอบอยู่ที่ 100 กิโลเมตร รองรับการใช้งานในเมืองในแต่ละวันได้แบบสบายๆ จุดขายที่จะช่วยให้ fourjoy เข้าถึงตลาดในหลายเมืองใหญ่ได้ง่ายขึ้น คือ การปล่อย CO2 ออกสู่บรรยากาศในระดับ Zero หรือไร้มลพิษโดยสิ้นเชิงนั่นเอง
fourjoy ไม่ได้มีดีเพียงแค่เรื่องความง่ายในการใช้งาน แต่ยังเพิ่มความสะดวก ด้วยการออกแบบให้ระบบสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับ App ในสมาร์ทโฟน ทั้ง iOS จาก iPhone และ Android จากผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือค่ายใหญ่รายอื่นๆ ได้อย่างลงตัว อาทิ ผู้ใช้สามารถเช็กระดับของแบตเตอรี่, ระยะเวลาในการชาร์จ (รถ) และระยะทางที่รถวิ่งต่อไปได้ผ่านหน้าจอสมาร์ทโฟนได้ทันที ซึ่งจากการจัดเต็มในทุกเรื่องของรถต้นแบบคันนี้ จึงมีความเป็นไปได้สูงว่า SMART จะส่ง fourjoy เวอร์ชั่นขายจริงลงสู่ตลาดรถยนต์พลังงานทางเลือกในเร็วๆ นี้
เรื่อง: กองบรรณาธิการ
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานต์ยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th