ทำความรู้จัก Super Taikyu รายการ Motor Sport ที่ใหญ่สุดในญี่ปุ่น
ทำความรู้จัก Super Taikyu 24hours รายการ Motor Sport ที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ในวงการ Motor Sport มีหนึ่งรายการที่ทุกคนตั้งตารอ โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นที่ชื่นชอบกีฬา Motor Sport นั่นคือ Super Taikyu 24hours หรือที่รู้จักกันในนาม S-Tai ถือเป็นการแข่งขัน 24 ชั่วโมงเพียงรายการเดียวในญี่ปุ่น ซึ่งเราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักรายการแข่งขันสุดยิ่งใหญ่ของญี่ปุ่นรายการนี้กัน
ทำความรู้จัก Super Taikyu: S-Tai คืออะไร?
การแข่งขัน S-Tai มีต้นกำเนิดที่ประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นรายการที่ใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น และเป็นรายการแข่งขันที่ผู้เข้าร่วมใช้รถยนต์ที่ผลิตและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ทั่วไป เพื่อนำมาใช้เป็นรถแข่ง
ซึ่งทั้งผู้มีประสบการณ์รวมถึงนักแข่งหน้าใหม่ ก็สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ ในการแข่งขันรถยนต์ทรงกล่องรายการนี้จะแตกต่างจาก “การแข่งขัน Super GT” ที่รถถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการแข่งโดยเฉพาะ สำหรับคลาสของ “Super Endurance” นั้น ส่วนใหญ่รถที่ใช้แข่งมีพื้นฐานมาจากรถยนต์ที่ผลิตและจำหน่ายทั่วไปเชิงพาณิชย์ ทำให้มีข้อจำกัดในการดัดแปลงรถ
ดังนั้นจึงมีทีมที่ดัดแปลงรถด้วยตัวเองที่เรียกว่า Privator หรือทีมส่วนตัว เข้าร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก เรียกได้ว่ามีนักแข่งมากมายหลากหลายเข้าร่วม ตั้งแต่มือสมัครเล่นไปจนถึงระดับมืออาชีพ
ประวัติการแข่งขัน S-Tai
ปี | เหตุการณ์สำคัญ |
1990 | เริ่มต้นจากการแข่งขันความทนทานของรถยนต์ N1 (รถ Touring ที่ไม่มีป้ายทะเบียน มีการดัดแปลง เพียงเล็กน้อย) ซึ่งจัดขึ้นตามสถานที่ต่างๆ จนกลายเป็นซีรีส์การแข่งขันที่เรียกว่า “Preseason” |
1991 | เปิดตัวอย่างเป็นทางการในชื่อ “N1 Endurance Series” (N-Tai) |
1995 | เปลี่ยนชื่อเป็น “Super N1 Endurance Series” เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงกฎของ N-Tai ทำให้ไม่เป็นไปตามข้อบังคับ N1 |
1998 | เปลี่ยนชื่อเป็น “Super Endurance Series” (S–Tai) โดยอนุญาตให้ติดตั้งอะไหล่ Aero parts ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็เติบโตขึ้นเป็นซีรีส์การแข่งขันที่มีมายาวนานกว่า 30 ปี ซึ่งหาได้ยากในโลก |
2021 | จัดตั้งคลาส ST – Q ขึ้นใหม่ รถยนต์ที่ไม่อยู่ในคลาสอื่นแต่ได้รับการอนุมัติจาก STO สามารถเข้าร่วมแข่งขันได้ ทำให้มีผู้เข้าร่วมแข่งขันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ |
2024 | Super Taikyu Organisation (STO) ส่งต่อธุรกิจให้องค์กรใหม่ Super Taikyu Mirai Organisation (STMO) มีกำหนดเริ่มใช้ระบบการดำเนินงานแบบใหม่นี้ในเดือนมิถุนายน |
รายการแข่งขันระดับโลกนี้ ก็มีกฏข้อบังคับที่ระบุไว้อย่างชัดเจน สำหรับรถแต่ละประเภท รวมถึงยานพาหนะที่เข้าร่วม
โดยมีการจำแนกรถยนต์ตั้งแต่รถแข่งระดับโลกไปจนถึงรถที่วิ่งในเมืองทั่วไป โดยในปีนี้มีรถ 59 คัน รวม 8 คลาส ที่จะมาร่วมวิ่งในรายการนี้
กฏข้อบังคับสำหรับแต่ละประเภทและยานพาหนะที่เข้าร่วมมีอะไรบ้าง?
รถแข่งมาตรฐานระดับโลก
(แบ่งตามมาตรฐาน) |
ST-X | รถยนต์อย่างเป็นทางการของ FIA GT3 หรือเทียบเท่าตาม GT3
เป็นจุดสูงสุดของ S-Tai ความเร็วและกำลังระดับเวิร์ลคลาส |
|
ST-Z | รถยนต์อย่างเป็นทางการของ SRO GT4 หรือเทียบเท่าตาม GT4
คลาสที่รถสปอร์ตในประเทศและต่างประเทศเข้าร่วมการต่อสู้อันดุเดือด |
||
ST-TCR | รถมาตรฐาน FIA / WSC TCR หรือเทียบเท่า
สำหรับการแข่งขันนี้คลาสนี้ไม่มีรถแข่งเข้าร่วม |
||
รถที่พัฒนาพิเศษ | ST-Q | รถยนต์พัฒนาพิเศษที่ไม่อยู่ในคลาสอื่นแต่ได้รับการอนุมัติจาก STO
มีความหลากหลาย เช่น รถไฮโดรเจน เชื้อเพลิง CN เชื้อเพลิงชีวภาพ ฯลฯ |
|
รถยนต์เชิงพาณิชย์ทั่วไป
(แบ่งตามปริมาตรกระบอกสูบ) |
ST-1 | รถที่ไม่อยู่ในคลาส ST-2 ถึง 5 ปัจจุบันมีเพียง KTM เท่านั้น | |
ST-2 | รถ 4WD และ รถ FF ที่มีปริมาตรกระบอกสูบ 2,401 ถึง 3,500cc
รถที่วิ่งได้เร็วอย่าง Lance Evo, GR Yaris และ Civic จะอยู่ในคลาสนี้ |
||
ST-3 | รถ FR ที่มีปริมาตรกระบอกสูบ 2401 ถึง 3500cc
คลาสของรถสปอร์ตแบบ Old School |
||
ST-4 | รถ 2WD ที่มีปริมาตรกระบอกสูบ 1501 ถึง 2,400cc
คลาสนี้เป็นสมรภูมิที่ดุเดือดของ GR86 |
||
ST-5 | รถยนต์ที่มีปริมาตรกระบอกสูบ 1,500cc หรือน้อยกว่า
คลาสรถที่มักพบเห็นวิ่งในเมืองเช่น Fit หรือ Roadster |
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชนะรายการนี้มีอะไรบ้าง?
การแข่งขันนี้เป็นรายการแข่งรถที่นักแข่งหลายคนสลับกันขับภายในเวลาที่กำหนด
โดยแข่งกันว่าคันไหนจะขับได้ระยะทางไกลที่สุด โดยปัจจัยในการชนะการแข่งขัน ประกอบไปด้วย
- ความเร็ว
- ความน่าเชื่อถือ
- ประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิง
- กลยุทธ์การใช้ยางรถยนต์อีกด้วย
ซึ่งแต่ละองค์ประกอบ ล้วนมีผลต่อผลการแข่งขันทั้งสิ้น เนื่องจากการแข่งนี้จะเป็นการทดสอบขีดจำกัดของตัวรถยนต์
ค่ายผู้ผลิตรถยนต์ จึงเข้าร่วมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนารถยนต์ โดยเฉพาะการแข่งขัน “ฟูจิ 24 ชั่วโมง” เป็นการแข่งขัน 24 ชั่วโมงเพียงรายการเดียวในญี่ปุ่น ทั้งยังได้รับความนิยมในหมู่คนรักการแข่งรถ จนถือได้ว่าเป็นเทศกาลมอเตอร์สปอร์ตประจำปี
การเพิ่มจำนวนของคลาส ST – Q
ในปี 2021 ที่ผ่านมา เมื่อมีการจัดตั้งคลาสขึ้นใหม่ มีเพียงรุ่นเดียว คือ GR Supra แต่ ในปี 2024 นี้จำนวนจะเพิ่มขึ้นเป็น 10 รุ่น
โดยในปี 2022 ที่ผ่านมา ผู้ผลิตรถยนต์ที่เห็นพ้องกับปรัชญาของ Super Endurance ได้รวมตัวกันและจัดตั้ง “S-Tai Waigaya Club” ขึ้น แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมต่างๆในคลาส ST-Q ที่กำลังขยายตัวทุกปี เช่น การส่งเสริมมอเตอร์สปอร์ต และการ Feedback ความรู้และเทคโนโลยีที่ได้รับจากการเข้าร่วมการแข่งขันให้กับรถยนต์ที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป
ปี | รถยนต์และการเข้าร่วมครั้งแรกในปีนั้น *① ในวงเล็บคือการแข่งขันครั้งที่ 1 และกรอบสีแดงคือรถที่เพิ่งเข้าร่วมครั้งแรกใน ST–Q | ||||||||
2021 | TOYOTA
GR SUPRA (①MOTEGI) |
TOYOTA
Corolla H2 (③FUJI) |
MAZDA
Demio Bio (⑥OKAYAMA) |
||||||
2022 | TOYOTA
Corolla H2 (①SUZUKA) *3 ~GR Corolla |
TOYOTA
GR86 CNF (①SUZUKA) |
SUBARU
BRZ CNF (①SUZUKA) |
MAZDA
MAZDA 2 Bio (①SUZUKA) |
MERCEDES
AMG GT4 (①SUZUKA) |
NISSAN
Z Racing (②FUJI) |
MAZDA
MAZDA 3 Bio (⑦SUZUKA) |
||
2023 | TOYOTA
GR86 CNF (①SUZUKA) |
TOYOTA
GR YARIS (①SUZUKA) *⑤ ~DAT |
SUBARU
BRZ CNF (①SUZUKA) |
MAZDA
MAZDA 3 Bio (①SUZUKA) |
NISSAN
Z Racing (②FUJI) |
TOYOTA
GR Corolla H2 H2 (②FUJI) |
HONDA
CIVIC Type R CNF-R (②FUJI) |
MAZDA
Roadster CNF (④AP ) |
|
2024 | TOYOTA
GR Yaris DAT (①SUGO ) |
TOYOTA
GR86 CNF (①SUGO ) |
TOYOTA
GR SUPRA (①SUGO ) |
HONDA
CIVIC Type R CNF-R (①SUGO ) |
MAZDA
Roadster CNF (①SUGO ) |
MAZDA
MAZDA 3 Bio (①SUGO ) |
TOYOTA
GR Corolla H2 (②FUJI) |
SUBARU
BRZ CNF (②FUJI) |
NISSAN
Z NISMO (②FUJI) |
การเข้าร่วมการแข่งขัน S-Tai ของ Toyota GR
No. | 32 | 28 | 92 | ||
คลาส | ST-Q | ||||
รุ่นรถ |
GR Corolla H2 concept |
GR YARIS DAT |
GR86 CNF Concept |
GR Supra Racing Concept |
|
รุ่นรถที่ใช้ | GR Corolla | GR Yaris | GR86 | GR Supra | |
สเปก | เครื่องยนต์ไฮโดรเจนเทอร์โบ 1.6L
เชื้อเพลิงไฮโดรเจนแบบเหลว |
เครื่องยนต์เทอร์โบ 1.6L
GR-DAT |
เครื่องยนต์เทอร์โบ 1.6L
เชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (CN – Carbon Neutrality) |
เครื่องยนต์เทอร์โบ 3.0L
เครื่องยนต์ 6 สูบแถวเรียง |
|
ชื่อนักแข่ง | MORIZO
Masahiro Sasaki Hiroaki Ishiura Yasuhiro Ogura Masahiko Kondo Jari-Matti Latvala |
(ครั้งนิ้ไม่เข้าร่วม) | Eisuke Sasaki
Sho Tsuboi Kazuya Oshima Kazuhiko Taisei Fukuzumi Jinrei Daisuke Toyota |
Keizo Kato
Takayoshi Matsui Shunsuke Kono Kenta Yamashita Kazuki Nakajima |
|
เป้าหมายประจำปี | ■ การแก้ปัญหาไฮโดรเจนเหลว
ปรับปรุงความทนทานของปั๊ม เกิดจากการสร้างถังที่มีรูปทรงไม่สม่ำเสมอ มีการใช้แก๊ส Boil-off อย่างมีประสิทธิภาพ
|
■ วิ่งที่สนาม S-Tai และ Nurburgring
ฝึกฝนรถ GR Yaris DAT ซึ่งเริ่มจำหน่ายแล้ว บนถนนสาธารณะและสนามแข่งรถในญี่ปุ่นและยุโรป S-Tai เหมาะกับการฝึกกำลังและระบบขับเคลื่อน |
■ อยู่ในเฟสที่กำลังพิจารณารุ่นต่อไป
ยึนยันความพึงพอใจจากการเปลี่ยนแพ็กเกจ เสริมสร้างกำลังรถยนต์เพื่อใช้กับการผลิตจำนวนมาก |
■ สร้างรถที่แม้แต่มือสมัครเล่นก็สามารถขับได้เร็ว
ทีมที่มี Tom’s Spirit จะฝึกฝนรถ Supra ซึ่งใช้งานในวงการ customer motor sport บน ST-Q ในฐานะ “GR team SPIRIT” |
รถยนต์และเทคโนโลยีที่เราได้ฝึกฝนมาจนถึงตอนนี้
ปี | การแข่งขัน | รถ/ประเภท | เหตุการณ์หลัก/ประเด็นที่ได้ฝึกฝน |
2018 | Rd.6 Okayama | โมริโซเปิดตัวครั้งแรกในการแข่งขัน S-Tai จาก Ogura Clutch | |
2019 | Rd.1 Suzuka | ROOKIE Racing เปิดตัวครั้งแรกด้วยรถ 86 | |
2020 | Rd.1 Fuji | GR Yaris ชนะในการแข่งขันเปิดตัวครั้งแรก | |
2021 | Rd.1 Motegi | ST – Q ได้ถือกำเนิดขึ้น เพื่อเป็นคลาสสำหรับการทดลอง | |
Rd.3 Fuji | Corolla เครื่องยนต์ไฮโดรเจน ที่ใช้ก๊าซไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง เข้าสู่การแข่งขันเป็นครั้งแรก | ||
Rd.4 Autopolis | นอกจาก FH2R แล้ว มีการใช้กรีนไฮโดรเจนโดย Obayashi Corporation และ Toyota Motor Kyushu | ||
การพัฒนาในฤดูกาล | Hydrogen Corolla | ปรับปรุงกำลังขับเคลื่อนประมาณ 20% และแรงบิดประมาณ 30% พัฒนาไปสู่ระดับเดียวกับเครื่องยนต์เบนซิน โดยยังคงระดับประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงไว้ | |
โครงสร้างพื้นฐาน | เพิ่มอัตราการเพิ่มของแรงดันและลดเวลาเติมไฮโดรเจนให้เหลือน้อยกว่า 2 นาที | ||
2022 | Rd.1 Suzuka | ・ รถยนต์หมายเลข 28 GR86 ซึ่งใช้เชื้อเพลิง Carbon Neutrality เข้าร่วมเป็นครั้งแรก
・ SUBARU (เชื้อเพลิง CN เช่นเดียวกับ TOYOTA) และ MAZDA (เชื้อเพลิงชีวภาพ Euglena) เข้าร่วมแข่งขัน |
|
Rd.2 Fuji | Nissan (NISMO) เริ่มขับเคลื่อนโดยใช้เชื้อเพลิง CN ด้วย Z Racing Concept | ||
ธันวาคม | Corolla เครื่องยนต์ไฮโดรเจน ร่วมแข่งขันวิ่ง 25 ชั่วโมงที่ประเทศไทย ด้วยเชื้อเพลิง CN GR86 | ||
การพัฒนาในฤดูกาล | Hydrogen Corolla | ระยะทางที่ขับได้เพิ่มขึ้น 15% เทคโนโลยีการยับยั้งการเผาไหม้ที่ผิดปกติ (Plague) ดีขึ้น | |
โครงสร้างพื้นฐาน | เวลาเติมไฮโดรเจนสั้นลง (เกือบ 2 นาที → 1 นาทีครึ่ง) | ||
GR86 | กำลังเพิ่มขึ้นประมาณ 12% แรงบิดเพิ่มขึ้น 17% ความแข็งแกร่งของตัวถังดีขึ้น ปรับปรุงเครื่องยนต์สำหรับเชื้อเพลิง CN ให้ดีขึ้น | ||
2023 | ต้นปี | Corolla พลังงานไฮโดรเจน ได้รับการฝึกฝนรถยนต์อย่างครอบคลุมที่ S-Tai และ เปิดตัวจำหน่าย GR Corolla ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยการสร้างรถที่ดีขึ้นผ่านมอเตอร์สปอร์ต |
|
Rd.1 Suzuka | S-Tai Waigaya Club โดย Toyota/Subaru/Mazda/Nissan(NISMO)/Honda(HRC) เริ่มดำเนินการเต็มรูปแบบ | ||
Rd.2 Fuji | ・ Corolla เครื่องยนต์ไฮโดรเจน ที่ขับเคลื่อนด้วยไฮโดรเจนเหลวเข้าลงแข่งขันครั้งแรก
・ Honda (HRC) เริ่ม ใช้ CIVIC TYPE R CNF-R ด้วยเชื้อเพลิง CN ในการขับขี่ |
||
Rd.4 Motegi | GR Yaris ที่ติดตั้ง DAT (Direct Automatic Transmission) เข้าร่วมการแข่งขัน | ||
Rd.7 Fuji | Mazda เริ่มใช้เชื้อเพลิง CN ในการขับเคลื่อน ด้วย Roadster ( ใช้เชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน CN แบบเดียวกับ TOYOTA และ SUBARU ) | ||
ธันวาคม | Corolla พลังงานไฮโดรเจน, เชื้อเพลิง CN GR86 และ Prius เข้าร่วมการแข่งขัน Endurance 10 ชั่วโมงในประเทศไทย | ||
การพัฒนาในฤดูกาล | Hydrogen Corolla | – กำลังเพิ่มขึ้นประมาณ 12 % เทียบเท่ากับเครื่องยนต์เบนซินและก๊าซไฮโดรเจน
・ ระยะทางที่ขับได้เพิ่มขึ้น 25 % ลดน้ำหนักรถลงได้ 90 กิโลกรัม – ใช้โครงสร้างบัฟเฟอร์ที่ช่วยลดภาระในส่วนขับเคลื่อนเฟืองปั๊ม ซึ่งเพิ่มความทนทานขึ้น 30% ภายใต้สภาวะเดียวกัน ・ มีการติดตั้งอุปกรณ์ดูดซับ CO2 ไว้ที่ทางเข้าของอุปกรณ์ฟอกอากาศ และติดตั้งอุปกรณ์แยก CO2 โดยใช้ความร้อนของน้ำมันเครื่องที่อยู่ข้างๆ มีการทดลองการดักจับ CO2 จากชั้นบรรยากาศ |
|
โครงสร้างพื้นฐาน | ・ ลดเวลาในการเติมไฮโดรเจนเหลว (1 นาที 40 วินาที → 1 นาที)
・ ลดน้ำหนักของข้อต่อเติมไฮโดรเจนจาก 8.4 กก. เหลือ 6.0 กก. และ ข้อต่อรีเทิร์น จาก 16.0 กก. เหลือ 12.5 กก. ・ ภาระของผู้ปฏิบัติงานเมื่อเติมไฮโดรเจนลดลงจากประมาณ 4 กก. เหลือประมาณ 1 กก. ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ・ ดำเนินการจ่ายไฮโดรเจนโดยอัตโนมัติซึ่งเคยดำเนินการด้วยมือก่อนหน้านี้ เช่น การเปิดและปิดวาล์วเติมและการหยุดการเติมเมื่อไฮโดรเจนเต็ม ทำให้สามารถจ่ายไฮโดรเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลาที่คงที่และไม่มีข้อผิดพลาด |
||
GR86 | ・ ปรับปรุงเชื้อเพลิง CN เพื่อแก้ปัญหาการเจือจางของน้ำมันเชื้อเพลิงในน้ำมันเครื่อง ปรับปรุงความน่าเชื่อถือของเครื่องยนต์และประสิทธิภาพไอเสีย
・ ปรับปรุงเสถียรภาพการควบคุมโดยการใช้ปีกใหม่และติดตั้งเหล็กกันโคลงด้านหลังใหม่ |
||
GR Yaris | ・ ใช้ฟลายวีลที่มีความเฉื่อยต่ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขับขี่
・ ปรับการควบคุมเบรกเพื่อให้ผู้ขับขี่ขับขี่ได้อย่างสบายใจมากขึ้น |
||
2024 |
มีนาคม |
ในการทดสอบในสภาวะสุดขีดซ้ำๆ จนเกิดความ “เสียหายแล้วซ่อมแซม” และสะท้อนความคิดเห็นจากนักแข่งมืออาชีพ นักประเมิน และมาสเตอร์ไดรเวอร์อย่าง MORIZO เราได้พัฒนาและเปิดตัวจำหน่าย GR Yaris รุ่นที่พัฒนาขึ้น โดยใช้แนวคิด “การสร้างรถที่คำนึงถึงคนขับเป็นอันดับแรก” นอกจากนี้ยังได้เพิ่มการตั้งค่าเกียร์อัตโนมัติ 8 สปีด “GAZOO Racing Direct Automatic Transmission (GR-DAT)” ที่ได้รับการฝึกฝนในผ่าน Super Endurance มาแล้วอีกด้วย |
|
การเปลี่ยนแปลงจากฤดูกาลที่แล้ว
(Rd.1 SUGO) |
GR Yaris | ・ การตั้งค่าเพิ่มเติมสำหรับ “Transmission (GR-DAT)”
・ อัปเดตซอฟต์แวร์ควบคุม DAT ปรับปรุงประสิทธิภาพการระบายความร้อน และใช้ LSD ที่พัฒนาขึ้นใหม่ |
|
GR86 | ・ ใช้ชิ้นส่วนคาร์บอนที่พัฒนาขึ้นใหม่ เช่น ประตู บังโคลน และประตูหลัง
・ เปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์เทอร์โบ 1.6 ลิตร และใช้ระบบส่งกำลังใหม่ |
||
GR SUPRA | ・ ปรับปรุงความแข็งแกร่งของตัวถังรถ ลดจุดศูนย์ถ่วง และกระจายน้ำหนักหน้า/หลังดีขึ้น
・ อัปเดต ABS และซอฟต์แวร์ควบคุมเกียร์ เพื่อสร้างรถแข่งที่ทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นสามารถขับได้อย่างรวดเร็วและเสถียร นอกจากนี้ยังเพิ่มความสะดวกสบายภายในตัวรถอีกด้วย |
การขยายเครือข่ายพันธมิตร
เครือข่ายพันธมิตรที่เห็นด้วยกับกิจกรรมของเรายังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปีนี้
โดยมีพันธมิตรใหม่เพิ่มขึ้น 4 ราย ทำให้มีจำนวนทั้งสิ้น 55 ราย (ในเดือนพฤษภาคม 2023 ที่การแข่งขันฟูจิ 24 ชั่วโมง มี 45 ราย และในเดือนธันวาคมที่การแข่งขันบุรีรัมย์มี 51 ราย)
<พันธมิตรใหม่ที่เข้าร่วม>
FTS : ผู้จำหน่ายระบบเชื้อเพลิงครบวงจร มีส่วนร่วมในการพัฒนาถังไฮโดรเจนเหลวรูปทรงไม่สม่ำเสมอ (วงรี) ครั้งนี้
JARI : สถาบันวิจัยยานยนต์แห่งญี่ปุ่น เป็นสถาบันวิจัยครบวงจรที่ดำเนินการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยี ทดสอบ และประเมินเทคโนโลยียานยนต์ เข้าร่วมการทดสอบการพัฒนาและการทดสอบการรับรองเกี่ยวกับไฮโดรเจนแบบเหลวต่างๆ
Toyoda Gosei : ผู้จัดหาชิ้นส่วนยานยนต์ระดับโลกที่จัดหาชิ้นส่วนรถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีโพลีเมอร์ เช่น ยาง และเรซิน เข้าร่วมพัฒนาถังไฮโดรเจนแรงดันสูงสำหรับรถทดสอบเครื่องยนต์ไฮโดรเจน
จังหวัดไอจิ : ให้ความร่วมมือในฐานะหน่วยงานรัฐบาลในการทดสอบการใช้งานไฮโดรเจน
การแข่งขัน Hydrogen Corolla 24 ชั่วโมง ในช่วงปี 2021-2023
Corolla พลังงาน ไฮโดรเจนมีการพัฒนาในหลาย ๆ ด้าน นับตั้งแต่เข้าร่วมการแข่งขันฟูจิ 24 ชั่วโมงครั้งแรกในปี 2021
2021 | 2022 | 2023 | |
เชื้อเพลิง | ก๊าซไฮโดรเจน | ก๊าซไฮโดรเจน | ไฮโดรเจนเหลว |
จำนวนรอบ | 358 รอบ | 478 รอบ | 358 รอบ |
จำนวนการเติม | 35 ครั้ง | 40 ครั้ง | 24 ครั้ง |
ความเร็วในการเติม | 5 นาที | 1 นาที 40 วินาที | 1 นาที |
จำนวนรอบต่อการเติม | 10 รอบ (เฉลี่ย) | 11 รอบ (เฉลี่ย) | 15 รอบ (เฉลี่ย) 16 รอบ (สูงสุด)
*การแข่งขันรอบสุดท้ายที่ฟูจิเฉลี่ย 20 รอบ |
เวลาต่อรอบ | 2 นาที 4 วินาที 059 | 1 นาที 59 วินาที 876 | 2 นาที 2 วินาที 760 |
เวลาพิท (Pit time) | 12 ชั่วโมง 6 นาที
*ซ่อม/ตรวจเช็ก 8 ชั่วโมง 1 นาที เติม 4 ชั่วโมง 5 นาที |
6 ชั่วโมง 27 นาที | ประมาณ 7 ชม
*เปลี่ยนปั๊ม ①4 ชั่วโมง ②3 ชั่วโมง |
ทำความรู้จัก Super Taikyu รายการ Motor Sport ที่ใหญ่สุดในญี่ปุ่น
เรื่อง: Sanchaval J.
ขอบคุณข้อมูล: โตโยต้า มอเตอร์
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th
ทำความรู้จัก Super Taikyu รายการ Motor Sport ที่ใหญ่สุดในญี่ปุ่น