ผลสำรวจล่าสุดระบุ: คนไทยเชื่อมั่นรถยนต์ญี่ปุ่นมากที่สุด, เหนือกว่าแบรนด์จีน-อเมริกา
ผลสำรวจ ล่าสุดจาก บริษัท ดิฟเฟอเรนเชียล (ประเทศไทย) บริษัทที่ปรึกษา และวิจัยการตลาดชั้นนำระบุว่า คนไทย เชื่อมั่นใน รถยนต์ญี่ปุ่น มากที่สุด เหนือกว่าแบรนด์รถยนต์จากประเทศจีน และประเทศสหรัฐฯ โดยย้ำจุดยืนความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ และการบริการ
บริษัทดิฟเฟอเรนเชียล (ประเทศไทย) บริษัทที่ปรึกษา และวิจัยการตลาดชั้นนำ เผยข้อมูลการสำรวจวิจัยความภักดีของเจ้าของรถชาวไทยต่อแบรนด์รถยนต์ในปัจจุบันในปี 2567 จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,500 ราย พบว่าลูกค้ารถยนต์ค่ายญี่ปุ่น มีความเชื่อมั่น และภักดีต่อแบรนด์ พร้อมเลือกซื้อรถยนต์ยี่ห้อเดิมมากที่สุดถึง 48% รองลงมาคือจากอเมริกา 39% และจากจีนน้อยที่สุด 28%
ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความภักดีและผูกพันต่อแบรนด์ ได้แก่ 1) ความพึงพอใจต่อคุณภาพ และการออกแบบ 2) ภาพลักษณ์ของแบรนด์ 3) ความคุ้นเคย และความสะดวกสบาย ทั้งนี้ผู้ตอบแบบสำรวจกว่า 72% ยังระบุอีกว่าเหตุผลหลักในการเปลี่ยนยี่ห้อเมื่อต้องตัดสินใจซื้อรถยนต์คันใหม่ คือ ความต้องการและความชื่นชอบที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
รถยนต์น้ำมัน และรถยนต์ไฮบริด ตัวเลือกที่ยังครองใจผู้บริโภคชาวไทย
นอกจากนี้ผลวิจัยของ ดิฟเฟอเรนเชียล (ประเทศไทย) ยังพบแนวโน้มพฤติกรรมการเลือกซื้อรถยนต์คันใหม่ของกลุ่มเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ (Battery EV: BEV) พบว่า 42% ของกลุ่มเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันวางแผนที่จะเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าต่อไป ในขณะที่อีก 58% ยังพร้อมเลือกซื้อรถน้ำมัน และรถไฮบริด
ดีลอยท์ เผยผลสำรวจผู้บริโภคเกี่ยวกับยานยนต์ในไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ส่วนกลุ่มเจ้าของรถยนต์น้ำมัน และรถไฮบริด (Non-BEV) พบว่า 48% ยังยืนยันที่จะเลือกซื้อรถน้ำมัน (ICE) ต่อไป โดยปัจจัยหลักที่มีผลต่อการเลือกซื้อรถได้แก่ การออกแบบรูปลักษณ์ภายนอก ยี่ห้อรถยนต์ และการตกแต่งภายใน ตามลำดับ
เมื่อเจาะลึกลงไปถึงเหตุผลการตัดสินใจเปลี่ยนรถยนต์คันใหม่พบว่า 38% เลือกที่จะเปลี่ยนรถ เนื่องจากรถที่ใช้งานปัจจุบันเริ่มเสียหรือไม่สามารถใช้งานต่อได้ รองลงมาคือ 17% เปลี่ยนรถไปตามไลฟ์สไตล์หรือความต้องการการใช้รถที่เปลี่ยนแปลงไป
ขณะที่ 16% เปลี่ยนเพราะกังวลเรื่องค่าบำรุงรักษาที่สูงขึ้น และ 16% เปลี่ยนเพราะรถถึงอายุการใช้งานที่กำหนดไว้ โดย 9% เปลี่ยนเพราะรถรุ่นใหม่มีรูปแบบ หรือฟังก์ชันที่มีความน่าสนใจมากกว่า และ 4% เลือกที่จะเปลี่ยนเพราะรถถึงระยะ (เลขไมล์) ที่กำหนดไว้
นอกจากนี้ 70% ของผู้ตอบแบบสำรวจตัดสินใจเปลี่ยนรถยนต์เมื่อรถมีอายุโดยเฉลี่ย 9 ปี
ทางด้าน ศิรส สาตราภัย กรรมการผู้จัดการ ดิฟเฟอเรนเชียล (ประเทศไทย) กล่าวว่า “ปัจจุบันตลาดรถยนต์ในประเทศไทยมีการแข่งขันสูงมาก ดังนั้นการวิเคราะห์เรียนรู้พฤติกรรมของผู้บริโภคจึงมีความสำคัญและความจำเป็นอย่างมากที่จะทำให้แบรนด์รถยนต์สามารถแข่งขัน และยืนอยู่ในตลาดได้”
“เราได้ทำแบบสำรวจศึกษาพฤติกรรมและความภักดีของคนไทยต่อแบรนด์รถยนต์ต่าง ๆ ในปี 2567 จำนวนกว่า 2,500 ราย ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าแบรนด์รถยนต์ญี่ปุ่นยังเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างความเชื่อมั่น และภักดีในกลุ่มผู้บริโภค ด้วยความพึงพอใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการบริการ”
“ดังนั้นการส่งมอบประสบการณ์และความพึงพอใจของลูกค้าตลอดช่วงเวลาการเป็นเจ้าของรถยนต์ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการขาย เป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้เล่นรายใหม่ในตลาดรถยนต์ไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึง เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และความภักดีของลูกค้าต่อแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน” ผู้บริหาร ดิฟเฟอเรนเชียล (ประเทศไทย) กล่าวทิ้งท้าย
เรื่อง: พูนทวี สุวัตถิกุล
ขอบคุณข้อมูล: บริษัท ดิฟเฟอเรนเชียล (ประเทศไทย) จำกัด
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th
ผลสำรวจ รถยนต์ญี่ปุ่น คนไทย งานวิจัยด้านระบบขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้าจัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2018 เพื่อเก็บข้อมูลเปรียบเทียบผู้บริโภคในประเทศต่างๆ จากนั้นในเดือนกันยายน 2020 ทีมงาน Frost & Sullivan ได้ทำการศึกษาอีกครั้งจาก 6 ตลาดในภูมิภาคอาเซียน ประกอบไปด้วย ประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
ทั้งนี้งานวิจัยฉบับที่ 2 เพิ่งได้รับการเผยแพร่ระหว่างงานสัมมนาออนไลน์ระดับภูมิภาค “Nissan FUTURES – Electrification and Beyond – เดินหน้าสู่สังคมแห่งการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า และอนาคตแห่งวงการรถยนต์” เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งผู้บริหารในอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่จากภาครัฐ และสื่อมวลชน
สำหรับประเทศไทยจากการสำรวจพบว่า 43 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้รถยนต์ที่ไม่ใช่พลังงานไฟฟ้าจะเลือกพิจารณารถยนต์ไฟฟ้าอย่างแน่นอนหากจะต้องซื้อรถยนต์คันต่อไปในอีก 3 ปีข้างหน้า ผลสำรวจยังระบุอีกว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความกระตือรือร้นในการพิจารณาเลือกซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้ามากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน เช่นเดียวกับอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์