สัญลักษณ์บนหน้าปัดรถ บอกอะไร?รถของคุณได้!!!
ทุกครั้งที่สตาร์ทรถ แว๊บนึงบนหน้าปัดคนขับจะมีไฟสัญลักษณ์ขึ้นมาเต็มไปหมด บางอันก็พอจะรู้ความหมายหรือพอเดาได้ แต่อีกหลายสัญลักษณ์คนขับรถไม่มีทางรู้จนกว่าจะเกิดความผิดปกติของเครื่องยนต์หรือระบบบางอย่างกำลังมีปัญหา!!! สัญลักษณ์บนหน้าปัดรถ
เริ่มจากสัญลักษณ์พื้นฐาน หมายเลข
<1> ไฟตัดหมอกหน้า,
<3> ไฟตัดหมอกหลัง,
<20> ไฟสูง,
<22> ไฟภายนอกรถกำลังถูกใช้งาน,
<24> เตือนระบบไฟผิดปกติหรือหลอดไฟขาด,
<44> ไฟหรี่/ไฟต่ำ และ <7> สัญลักษณ์ไฟเลี้ยวขวา-ซ้ายที่หากเรากดปุ่มสัญญาณไฟฉุกเฉิน (Hazard) จะกระพริบพร้อมกัน
สัญลักษณ์เทคนิคพื้นฐาน <17> สำหรับรถเกียร์ธรรมดาเตือนให้เหยียบคลัตช์ก่อนสตาร์ท และ <18> เหยียบเบรกก่อนสตาร์ทในรถเกียร์ออโต้เมติกที่เป็นปุ่ม Push Start,
<19> พวงมาลัยล็อกจะเกิดเฉพาะรถยนต์ที่ยังบิดกุญแจสตาร์ท และ <30> เตือนให้รัดเข็มขัดนิรภัยโดยรถบางรุ่นจะมีสัญญาณเสียงร้องเตือนด้วย
<31> หมายถึงเกียร์รถยนต์อยู่ในตำแหน่ง P (Parking) คล้ายๆ กับ <40> จะเตือนเวลาคุณลืมปลดเบรกมือ,
<51> ไฟเตือนประตูรถปิดไม่สนิทที่ปัจจุบันรถรุ่นใหม่จะแสดงให้เห็นว่าประตูฝั่งไหนปิดไม่สนิท,
<52> ฝากระโปรงหน้าปิดไม่สนิท หากขับด้วยความเร็วแรงลมอาจดันฝากระโปรงอาจขึ้นมาตีกระจกหน้าแตกได้,
<53> ไฟเตือนน้ำมันหมด หากขึ้นเตือนรถส่วนใหญ่จะขับได้อีกราว 50 กิโลเมตรขึ้นอยู่กับสภาพการจราจร และ <59> ไฟเตือนฝากระโปรงท้ายปิดไม่สนิท
<34> Service Required จะขึ้นเตือนเมื่อรถยนต์ของคุณ (เฉพาะบางแบรนด์) ถึงเวลาเข้าเช็คระยะเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง, <43> Fault Problem ตรวจพบความผิดปกติของเครื่องยนต์,
<45> ไส้กรองอากาศสกปรก และ <50> สัญญาณเตือนมีน้ำอยู่ในกรองน้ำมันเชื้อเพลิงขณะที่ <10> Information Indicator จะเป็นแสดงข้อมูลความผิดปกติของรถยนต์ตั้งแต่กุญแจรีโมตไม่อยู่ในรัศมีที่กำหนด, กำลังไฟของแบตเตอรี่ และอีกมากมายขึ้นอยู่กับผู้ผลิตรถยนต์กำหนด แต่หากกำลังไฟของเครื่องยนต์ต่ำกว่าระดับปกติจะมีสัญลักษณ์
<32> ขึ้นมาเตือนเข้ามาข้างในรถหากต้องใช้กุญแจบิดก็อาจจะมีสัญญาณเตือน
<13> Ignition Switch Warning หากระบบกุญแจมีปัญหา,
<14> หมายความว่ากุญแจรีโมตไม่อยู่ในรถยนต์หรือรัศมีที่กำหนด และ <15> เตือนว่าแบตเตอรี่กุญแจรีโมตใกล้หมด
2 สัญลักษณ์การทำงานของไฟหน้าที่เป็นเทคโนโลยีในรถยนต์ระดับพรีเมียม
<35> Adaptive Lighting ระบบไฟหน้าส่องสว่างตามการหักเลี้ยวของพวงมาลัย และ
<36> Headlight Range Control ไฟหน้าปรับอัตโนมัติตามสภาพการขับขี่ที่ถึงคุณจะดีดไฟสูงค้างก็ไม่ต้องกลัวว่าจะแยงตารถคันหน้าหรือเลนตรงข้ามเพราะระบบจะควบคุมความสว่างให้เอง
กลุ่มรถสปอร์ตหรือเครื่องยนต์แรงๆ
<37> จะเตือนความผิดปกติการทำงานของสปอยเลอร์หลัง,
<38> เตือนความผิดปกติการเปิด-ปิดหลังคาสำหรับรถแบบเปิดประทุน,
<27> ความผิดปกติของระบบช่วงล่างแบบถุงลม,
<56> สัญลักษณ์ปรับระดับความแข็งของโช๊คอัพตามสไตล์การขับของแต่ละคน และการเปิด-ปิดระบบควบคุมการทรงตัว
<60> Stability Control
ระบบที่ปัดน้ำฝน และช่วยเพิ่มวิสัยทัศน์การขับ
<4> สัญลักษณ์เตือนน้ำยาทำความสะอาดกระจกหน้ารถใกล้หมด
<61> ระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับปริมาณฝนทำงานร่วมกับ
<64> ระบบที่ปัดน้ำฝนอัตโนมัติ และ <63> ระบบไล่ฝ้ากระจกหลัง โดยสัญลักษณ์ของกระจกหน้าจะเป็นหมายเลข
<58> หากระบบอัตโนมัติกลุ่มนี้มีปัญหาสัญลักษณ์ไฟเตือนในหมายเลข
<8> จะปรากฏขึ้น ตามคำแนะนำควรเข้าไปตรวจสอบที่ศูนย์บริการรถยนต์เพื่อหาสาเหตุ จากการที่อาจเป็นปัญหาของระบบควบคุมไฟหน้าอัตโนมัติของรถได้เช่นกัน
ต่อด้วยสัญลักษณ์ที่บ้านเราคงไม่มีโอกาสได้เห็น เพราะต้องขับในสภาพอากาศหนาวใกล้ศูนย์องศา แต่ช่วงหลังคนไทยที่ไปเที่ยวต่างประเทศนิยมเช่ารถขับกันมากขึ้น เก็บไว้เป็นข้อมูลก็ไม่เสียหาย
หมายเลข <9> Winter Mode ตรงตามตัวคือการขับในสภาพที่มีน้ำแข็งหรือหิมะเกาะพื้นผิวถนน รายละเอียดจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับค่ายรถยนต์ แต่หลักๆ คือรถจะออกตัวโดยข้ามไปใช้เกียร์สองหรือสามแทนเพื่อไม่ให้เกิดอาการลื่นไถล เท่าที่เห็นในบ้านเรารถยนต์ที่ติดโหมดนี้มาให้จะมี MG ที่แนะนำให้ใช้งานช่วงฝนตก
และหมายเลข <12> Frost Warning เตือนน้ำแข็งเกาะ โดยแบ่งเป็น 2 ระดับตามอุณหภูมิภายนอกรถ เริ่มเตือนครั้งแรกตอนใกล้ 1 องศาเซลเซียส เพื่อให้คนขับรู้ล่วงหน้าว่าอาจมีน้ำแข็งเกาะ และสภาพอากาศหนาวขึ้นสัญลักษณ์ไฟสีเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีแดง
สลับมาที่สัญลักษณ์กลุ่มดีเซล
<11> Glow Plug Light/Diesel Pre-Heat Warning คล้ายรูปขดลวดจะปรากฏขึ้นมาเวลาเครื่องยนต์เย็น โดยอุปกรณ์ที่คนไทยเรียกว่า “หัวเผา” จะเร่งอุณหภูมิในห้องเผาไหม้ให้สูงขึ้นตามที่กำหนดก่อนจะสตาร์ทเครื่องยนต์ (โดยรถบางรุ่นจะไม่สามารถสตาร์ทได้หากสัญลักษณ์นี้ไม่ดับ),
<25> Diesel Particulate Filter Warning (DPF) หรืออุปกรณ์กรองเขม่าไอเสีย จะขึ้นเตือนหากมีปริมาณเขม่าสะสมมากเกินกำหนด บางครั้งแก้ไขด้วยการขับบนทางด่วนใช้ความเร็วสูงกว่า 60 กม./ชม. ติดต่อกันราว 10 นาที แต่หากไฟสัญญาณนี้ยังไม่ดับต้องเข้าไปให้ศูนย์บริการตรวจสอบ
เช่นเดียวกับ <41> Water in Fuel Filter หมายถึงมีน้ำในกรองน้ำมันเชื้อเพลิงควรรีบแก้ไขก่อนจะเข้าสู่ระบบเครื่องยนต์และกรณีลากจูงหรือพ่วงเทรลเลอร์สัญลักษณ์หมายเลข <26> Trailer Tow Hitch Warning จะขึ้นเตือนหากติดตั้งไม่ถูกต้อง
มาถึงสัญญาณเตือนที่อาจส่งผลต่อสมรรถนะการขับ
<2> Power Steering Warning Light เตือนน้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์ต่ำกว่าปกติ ถ้ารถคุณมีอายุการใช้งานหลายปีควรให้ช่างตรวจอย่างละเอียดว่ามีจุดรั่วหรือไม่จะได้ไม่เสียเวลากลับเข้าศูนย์บริการอีกรอบ,
<5> สัญลักษณ์เตือนผ้าเบรกบาง โดยจะแยกกับ <49> จะเป็นการเตือนหากระบบป้องกันล้อล็อก (ABS) มีความผิดปกติ,
<21> สัญลักษณ์เตือนลมยางอ่อน,
<39> ระบบถุงลมนิรภัยมีปัญหา แต่ไม่ร้ายแรงเท่า <42> หมายถึงว่าระบบสั่งตัดการทำงานของถุงลมนิรภัยควรรีบเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจสอบ
<48> อุณหภูมิเครื่องยนต์สูง ควรจอดพักเพื่อให้ความร้อนลดลงหรือเข้าตรวจเช็คความผิดปกติ,
<54> สัญญาณเตือนระบบเกียร์อัตโนมัติมีปัญหา โดยอาจเกิดได้หลายสาเหตุเหมือนกับ <57> สัญญาณเตือนระดับน้ำมันเครื่องต่ำ และ <62> การเตือนความผิดปกติเครื่องยนต์ที่หากเห็นสัญลักษณ์นี้ขึ้นมาควรจอดข้างทางทันที
อีกสัญลักษณ์เตือนที่ค่อนข้างร้ายแรง และคนขับรถส่วนใหญ่ไม่ค่อยเจอกันบ่อย
<29> Catalytic Converter Warning เป็นการแจ้งว่าอุปกรณ์ทำหน้าที่ลดไอเสียภายในเครื่องยนต์มีอุณหภูมิสูงหรือทำงานผิดปกติถึงจะขับได้ต่อ แต่ก็ควรเข้าไปตรวจเช็คความผิดปกติโดยเร็ว
สุดท้ายจะเป็นสัญลักษณ์ของระบบช่วยเหลือการขับขี่เริ่มจากที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย
<6> ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ Cruise Control ในรถยนต์บางรุ่นจะทำงานร่วมกับ <55> ระบบจำกัดความเร็ว,
<46> ระบบควบคุมความเร็วขณะลงทางลาดชัน และใครที่เหยียบคันเร่งนิ่งๆ จะได้เห็นสัญลักษณ์ <70> ECO ชื่นชมว่าคุณขับได้ประหยัดน้ำมัน โดยอัพเกรดความปลอดภัยขึ้นมาจะเป็น <28> ระบบเตือนขับออกนอกเลน และ <33> ระบบช่วยจอดที่จะสะดวกสบายแค่ไหนขึ้นอยู่กับราคารถยนต์ สัญลักษณ์บนหน้าปัดรถ
เรื่อง: พูนทวี สุวัตถิกุล
ขอบคุณข้อมูล: อินเตอร์เน็ต
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th