Report: ยอดขายรถยนต์ในประเทศไทย เดือนก.ย. 62,086 คัน-ชะลอตัวต่อเนื่อง จับตาไตรมาสสุดท้าย
ยอดขายรถยนต์ ประเทศไทย กันยายน
สถานการณ์ตลาดรถยนต์ ประเทศไทย เดือนกันยายน 2023 ยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง ยอดขายรถยนต์ รวม 62,086 คัน ลดลง 16.3 เปอร์เซ็นต์ อีโคคาร์ดันยอดรถยนต์นั่งโต 10.4 เปอร์เซ็นต์ เซกเมนต์ปิ๊กอัพทรุดหนักลงลง 43.6 เปอร์เซ็นต์ จับตาไตรมาสสุดท้าย
นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกันยายน 2566 ด้วยยอดขาย 62,086 คัน ลดลง 16.3 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในขณะที่รถยนต์นั่งยังเติบโตต่อเนื่องด้วยยอดขาย 25,425คัน เติบโต 10.4 เปอร์เซ็นต์ ส่วนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ชะลอตัวต่อเนื่องด้วยยอดขาย 36,661 คัน ลดลง 28.3 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนต์นี้ ชะลอตัวอย่างหนักด้วยยอดขาย 23,343 คัน ลดลง 43.6 เปอร์เซ็นต์
ประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์
ตลาดรถยนต์กันยายนชะลอตัวต่อเนื่อง 16.3 เปอร์เซ็นต์ ด้วยยอดขาย 62,086 คัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งยังเติบโตอย่างต่อเนื่องที่ 10.4 เปอร์เซ็นต์ ด้วยยอดขาย 25,425 คัน เป็นผลมาจากการเติบโตของเซกเมนต์อีโคคาร์ด้วยยยอดขาย 15,368 คัน
ในขณะที่ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ชะลอตัวที่ 28.3 เปอร์เซ็นต์ ด้วยยอดขาย 36,661 คัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน หดตัวถึง 43.6 เปอร์เซ็นต์ ด้วยยอดจำหน่าย 23,343 คัน จากการชะลอการตัดสินใจซื้ออย่างต่อเนื่องของภาคประชาชน และภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคธุรกิจขนส่ง อันเป็นผลมาจากภาพรวมทางเศรษฐกิจที่ยังต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวโดยมีอุปสรรคสำคัญคือความเข้มงวดของสถาบันการเงิน ที่มีความกังวลต่อหนี้เสียอันเป็นผลต่อเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา
ตลาดรถยนต์ตุลาคมเดินหน้าเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่นส์ไตรมาสสุดท้ายของปี ซึ่งค่ายรถยนต์ต่างทยอยเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ พร้อมด้วยแคมเปญส่งเสริมการขายเพื่อหวังกระตุ้นยอดขาย อย่างไรก็ตามความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการขยายตัวของตลาดรถยนต์ต่อไป
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกันยายน 2566
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 62,086 คัน ลดลง 16.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 21,141 คัน ลดลง 7.9 % ส่วนแบ่งตลาด 34.1%
อันดับที่2 อีซูซุ 10,898 คัน ลดลง 49.5% ส่วนแบ่งตลาด 17.6%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 9,113 คัน เพิ่มขึ้น 34.2% ส่วนแบ่งตลาด 14.7%
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 25,425 คัน เพิ่มขึ้น 10.4%
อันดับที่1 โตโยต้า 9,922 คัน เพิ่มขึ้น 34.4% ส่วนแบ่งตลาด 39.0%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 4,212 คัน ลดลง 29.3% ส่วนแบ่งตลาด 16.6%
อันดับที่3 มิตซูบิชิ 1,083 คัน ลดลง 39.6% ส่วนแบ่งตลาด 4.3%
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 36,661 คัน ลดลง 28.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 11,219 คัน ลดลง 28.0% ส่วนแบ่งตลาด 30.6%
อันดับที่2 อีซูซุ 10,898 คัน ลดลง 49.5% ส่วนแบ่งตลาด 29.7%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 4,901 คัน เพิ่มขึ้น 489.1% ส่วนแบ่งตลาด 13.4%
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)
ปริมาณการขาย 23,343 คัน ลดลง 43.6%
อันดับที่1 โตโยต้า 9,547 คัน ลดลง 27.9% ส่วนแบ่งตลาด 40.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 9,298 คัน ลดลง 54.0% ส่วนแบ่งตลาด 39.8%
อันดับที่3 ฟอร์ด 2,946 คัน ลดลง 41.2% ส่วนแบ่งตลาด 12.6%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 4,229 คัน
โตโยต้า 1,607 คัน – อีซูซุ 1,343 คัน – ฟอร์ด 936 คัน – มิตซูบิชิ 255 คัน – นิสสัน 88 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick upปริมาณการขาย 19,114คัน ลดลง 45.0%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 7.955 คัน ลดลง 56.9% ส่วนแบ่งตลาด 41.6 %
อันดับที่2 โตโยต้า 7,940 คัน ลดลง 23.6% ส่วนแบ่งตลาด 41.5%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,010 คัน ลดลง 44.2% ส่วนแบ่งตลาด 10.5%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม–กันยายน 2566
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 586,870 คัน ลดลง 7.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 199,292 คัน ลดลง 4.5% ส่วนแบ่งตลาด 34.0%
อันดับที่2 อีซูซุ 120,294 คัน ลดลง 26.5% ส่วนแบ่งตลาด 20.5%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 69,882 คัน เพิ่มขึ้น 14.t0% ส่วนแบ่งตลาด 11.9%
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 219,668 คัน เพิ่มขึ้น 9.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 77,357 คัน เพิ่มขึ้น 316% ส่วนแบ่งตลาด 35.2%
อันดับที่2 ฮอนด้า 43,907 คัน ลดลง 4.5% ส่วนแบ่งตลาด 20.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 12,676 คัน ลดลง 22.5% ส่วนแบ่งตลาด 5.8%
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 367,202 คัน ลดลง 15.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 121,935 คัน ลดลง 18.6% ส่วนแบ่งตลาด 33.2%
อันดับที่2 อีซูซุ 120,294 คัน ลดลง 26.5% ส่วนแบ่งตลาด 32.8%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 25,975 คัน เพิ่มขึ้น 69.8% ส่วนแบ่งตลาด 7.1%
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)
ปริมาณการขาย 255,899 คัน ลดลง 24.7%
อันดับที่1 อีซูซุ 108,158 คัน ลดลง 28.4% ส่วนแบ่งตลาด 42.53%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 100,193 คัน ลดลง 22.4% ส่วนแบ่งตลาด 39.2%
อันดับที่3 ฟอร์ด 28,773 เพิ่มขึ้น 2.1% ส่วนแบ่งตลาด 11.2%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 47,230 คัน
โตโยต้า 17,192 คัน – อีซูซุ 16,549 คัน – ฟอร์ด 9,270คัน – มิตซูบิชิ 3,293 คัน – นิสสัน 926 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick upปริมาณการขาย 208,669 คัน ลดลง 28.9%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 91,609 คัน ลดลง 33.1% ส่วนแบ่งตลาด 43.9%
อันดับที่2 โตโยต้า 83,001 คัน ลดลง 23.9% ส่วนแบ่งตลาด 39.8%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 19,503 คัน ลดลง 14.0% ส่วนแบ่งตลาด 9.3%
เรื่อง: พูนทวี สุวัตถิกุล
ขอบคุณข้อมูล: โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th
ยอดขายรถยนต์ ประเทศไทย กันยายน