ปิดตำนาน ‘พรีอุส’ ศาลสั่ง โตโยต้า จ่ายภาษี 1.16 หมื่นล้านบาท
โตโยต้า พรีอุส แพ้คดีภาษี
วันที่ 15 กันยายน 2565 – ศาลภาษีอากรกลางกำหนดนัดอ่านคำพิพากษาชั้นฎีกา คดีข้อพิพาทการจัดเก็บภาษีนำเข้าชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ โตโยต้า รุ่น พรีอุส (Prius) ระหว่างบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กับกรมศุลกากร
โดยผลของคำพิพากษานั้นระบุว่าให้บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เป็นฝ่ายแพ้คดี ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ด้วยเหตุผลที่ว่าไม่สามารถยกเว้นการจัดเก็บภาษีรวม 11,639,786,094.84 บาท แยกเป็น อากรขาเข้า 7,580,608,221.39 บาท ภาษีสรรพสามิต 2,029,576,752.79 บาท ภาษีเพื่อมหาดไทย 202,957,592.56 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,826,643,528.10 บาทได้ เนื่องจากว่าชิ้นส่วนที่บริษัทได้นำเข้ามายังประเทศไทยนั้นเป็นชิ้นส่วนที่ใกล้จะประกอบสำเร็จ สมบูรณ์เป็นรถพร้อมจะใช้งานได้แล้ว ซึ่งไม่สอดคล้องกับความร่วมมือในทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและญี่ปุ่นหรือ JTEPA ที่จะขยายการค้าระหว่างกันโดยการปรับลดภาษีให้ต่ำลง และเป็นศูนย์ เพื่อเกิดการค้าอย่างเสรี รวมถึงการอำนวยความสะดวกทางการค้าและความร่วมมือสาขาต่างๆ ระยะเวลา มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550
คดีทั้งสิบเรื่องโจทก์ ฟ้องว่า ระหว่างปี 2553 ถึง 2555 โจทก์นําเข้าชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อนํามาผลิตรถยนต์โตโยต้า รุ่นพรีอุส โดยอาศัยสิทธิตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร ตามมาตรา 12 และมาตรา 14 แห่งพระราชกําหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 และตามความตกลง ระหว่างราชอาณาจักรไทยและญี่ปุ่นสําหรับความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (JTEPA) โจทก์จึงขอให้ เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคําวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จําเลยทั้งสองให้การว่า การประเมินและคําวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลภาษีอากรกลาง พิพากษาให้เพิกถอนการประเมินและคําวินิจฉัยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษพิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากร เห็นว่า ชิ้นส่วนรถยนต์ที่โจทก์นําเข้าเมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้ว มีลักษณะอันเป็นสาระสําคัญของรถยนต์โตโยต้า รุ่นพรีอุส และสามารถนําไปประกอบเป็นรถยนต์โตโยต้า รุ่นพรีอุส ได้ทันที จึงต้องจําแนกเข้าประเภทพิกัดของชิ้นส่วนที่สมบูรณ์หรือสําเร็จแล้วที่นําเข้ามา
โดยถอดแยกออกจากกันหรือยังไม่ได้ประกอบเข้าด้วยกันในฐานะที่เป็นชิ้นส่วนครบชุดสมบูรณ์ ประเภท พิกัด 8703.23.41 หรือ 8703.23.51 (ตามช่วงเวลาที่นําเข้า) ตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตรา ศุลกากร ข้อ 1 ข้อ 2 (ก) และ ข้อ 6 ในภาค 1 ท้ายพระราชกําหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 จึงไม่ได้รับยกเว้นอากรและลดอัตราอากรตามประกาศกระทรวงการคลังที่ออกมาเพื่อให้เป็นไปตาม ความตกลง JTEPA และไม่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากร และยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกําหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2553
ทั้งไม่ได้รับสิทธิลดอัตราอากรในอัตราอากรขาเข้าร้อยละ 30 ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกําหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 การประเมินและคําวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ให้คิดอัตรา อากรขาเข้าร้อยละ 80 ชอบแล้ว ส่วนประเด็นอื่นศาลไม่รับวินิจฉัย พิพากษายืน
เรื่อง: พูนทวี สุวัตถิกุล
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th
โตโยต้า พรีอุส แพ้คดีภาษี
ประมาณร้อยละ 90 ของยานพาหนะที่ โตโยต้า จะสนับสนุนสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและ พาราลิมปิก ปี 2020 ณ กรุงโตเกียว นั้น เป็นยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดระดับไอเสียจากยานพาหนะให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อม
โตโยต้าได้เริ่มพัฒนายานพาหนะรุ่นพิเศษ พร้อมทั้งสนับสนุนยานพาหนะที่พัฒนาสำหรับใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกปี 2020 ณ กรุงโตเกียว
มาตั้งแต่ต้น เพื่อมอบทางเลือกในการขับเคลื่อนที่หลากหลายให้กับผู้คน
ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ปี 2020 ณ กรุงโตเกียว โตโยต้า จะสนับสนุนผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยในการขับเคลื่อน และ / หรือ ยานพาหนะ ทั้งหมดเป็นจำนวน 3,700 คัน โดยยานพาหนะที่โตโยต้าจะสนับสนุนอย่างเป็นทางการกว่าร้อยละ 90 นั้นเป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ซึ่งประกอบไปด้วยรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicles – HEV) , รถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicles – FCEV) เช่น โตโยต้า มิไร ซึ่งขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจน , รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicles – PHEV) , โตโยต้า พรีอุส พีเอชวี (หรือที่รู้จักกันในชื่อ พรีอุส ไพร์ม ในบางประเทศ) และรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicles – BEV) ตลอดจน “ยานพาหนะสำหรับเคลื่อนย้ายผู้โดยสาร” (Accessible People Mover – APM) และยานยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับ (e-Palette) รวมถึง โตโยต้า คอนเซปต์-ไอ (TOYOTA Concept-i)