ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ Honda city (2524-2564)
ฮอนด้า ซิตี้ (Honda City) ผลิตออกมาเพื่อให้เป็นรถรุ่นที่มีขนาดเล็กหรือที่เราเรียกกันว่า (Subcompact car) เริ่มผลิต พ.ศ. 2524 แรกเริ่มเดิมที จะผลิตเป็นรถ Hatchback แต่ไม่ประสบความสำเร็จทางการตลาดเท่าใดนัก จึงได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นรถซีดาน (มีท้าย และกระโปรงหลัง) อย่างที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันในปัจจุบัน
หรือเรียกได้ว่าเป็นรถ section เดียวกับ โตโยต้า วีออส, เชฟโรเลต อาวีโอ, ฟอร์ด เฟียสตา, มาสด้า 2, ฯลฯ นับตั้งแต่เริ่มผลิตมา ฮอนด้า ซิตี้ ได้ทำออกมาทั้งหมด 7 generation (7 รุ่น)
Generation ที่ 1 (พ.ศ. 2524 – 2529)
รุ่นแรก เริ่มผลิตเป็นรถ hatchback 3 ประตู (ซ้าย ขวา และหลัง) มีจุดเด่นตรงที่รถมีความสูงมาก และด้านในกว้าง ผิดกับรูปลักษณืที่ดูเล็กกะทัดรัด
ในรุ่นแรกนี้ มีกระแสตอบรับมากพอสมควร จนในปีถัดมา (พ.ศ. 2525) ซิตี้ก็เริ่มทำรถแบบ convertible เปิดประทุนได้ และแบบรถสปอร์ต และอีกปีถัดมา (พ.ศ. 2526) ที่นิวซีแลนด์ ซิตี้ ได้เข้าไปแทนที่รถมินิ ในสายการผลิตของโรงงานผลิตรถยนต์ที่นั่น และในปีเดียวกัน ก็มีการส่งออกรถซิตี้ไปยังประเทศออสเตรเลียเป็นจำนวนมาก
Generation ที่ 2 (พ.ศ. 2529 – 2537)
โฉมนี้ ซิตี้ ยกเลิกการผลิตรถรุ่นเปิดประทุนออกไป โฉมนี้ไม่เป็นที่รู้จักของผู้คนโดยทั่วไป เนื่องจากโฉมนี้ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก และได้ยกเลิกการนำเข้ารถซิตี้มาขายในออสเตรเลีย เปลี่ยนไปนำเข้ารถ ฮอนด้า โลโก้ มาจำหน่ายแทน
โฉมนี้ หยุดการผลิตลงใน พ.ศ. 2537 และซิตี้หยุดการผลิตไปนานถึง 2 ปี ก่อนจะนำกลับมาผลิตใหม่อีกครั้ง ซึ่ง Generation ถัดจากนี้เป็นต้นไป ซิตี้ ก็เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในประเทศไทย และเป็นจุดเริ่มต้นของตํานาน CITY ของไทยตั้งแต่นั้นมา
Generation ที่ 3 (พ.ศ. 2539 – 2545) Generation ที่ 3 (พ.ศ. 2539 – 2545)
โฉมนี้เป็นโฉมแรกที่บริษัทฮอนด้านำเข้ามาขายในประเทศไทย เรียกกันว่าซิตี้รุ่นแรก ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนโฉมเป็น Type Z ซึ่งโฉบเฉี่ยว สวยกว่ารุ่นอื่นๆได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ทางฮอนด้า ยกเลิกเป้าหมายที่จะให้ซิตี้เป็นที่นิยมในวงกว้างทั่วโลก เปลี่ยนมาตั้งเป้าหมายให้ซิตี้เป็นที่นิยมในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้ออกแบบซิตี้โฉมนี้มาเพื่อคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะ โดยเปลี่ยนมาเน้นการผลิตรถ sedan แทนรถ hatchback และช่วงนี้ ซิตี้เป็นคู่แข่งทางธุรกิจกับ โตโยต้า โซลูน่า
Generation ที่ 4 (พ.ศ. 2545 – 2551)
โฉมนี้ในบางประเทศจะใช้ชื่อว่า “ฮอนด้า ฟิต เอเรีย” (Honda Fit Aria) โฉมนี้ยังคงเป็นที่นิยมในถิ่นเดิม เช่นเดียวกับโฉมที่แล้ว และโฉมนี้ มีรุ่นที่ปรับโฉมเล็กน้อย (ไมเนอร์เชนจ์) คือ ฮอนด้า ซิตี้ ZX ซึ่งเริ่มผลิตขึ้นใน พ.ศ. 2548 โฉมนี้เป็นที่รู้จักกันดีคือจะใช้ระบบเกียร์แบบใหม่ CVT 7 สปีด ควบคู่เกียร์อัตโนมัติธรรมดา โดยที่เกียร์ธรรมดา (เกียร์กระปุก) ก็ยังมีขาย และใช้เครื่องยนต์หัวฉีด i-DSI หรือ VTEC
โฉมนี้ เป็นโฉมที่ซิตี้ เริ่มแข่งขันทางการตลาดกับโตโยต้า วีออส ซึ่งโดยรวมแล้ว ถือว่า ซิตี้ได้เปรียบวีออสในเรื่องของการประหยัดเชื้อเพลิง (โดยเฉพาะรุ่นเครื่องยนต์ i-DSI) แต่เสียเปรียบวีออสในเรื่องการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ความเป็นที่นิยมของรถ (ก่อนที่จะมีซิตี้ ZX นั้น ซิตี้รุ่นนี้ขายดีน้อยกว่าพอสมควร) สมรรถนะของรถ และความดูทันสมัยในรถ (เช่น วีออส ใช้หน้าปัดดิจิตอลแสดงความเร็วรถ แต่ซิตี้ยังเป็นเข็ม) สำหรับคุณภาพของตัวรถนั้นถือว่าใกล้เคียงกัน
Generation ที่ 5 (พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2557 )
โฉมนี้ เปิดตัวในประเทศไทยเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551 โดยจะมี 3 รุ่นให้เลือกในประเทศไทย คือ รุ่น S , V และ SV ซึ่งรุ่น S จะมีราคาที่ถูกสุด และ SV จะมีราคาแพงที่สุด
ราคาที่จำหน่าย Honda City 5th Gen. Pre-facelift
รูปทรงใหม่ที่โฉบเฉี่ยว ทันสมัย กว้างขวางขึ้น ความมู่ทู่ลดลง ประหยัดน้ำมัน รถราคาถูก และประกอบกับภาวะน้ำมันแพง ทำให้ซิตี้โฉมนี้มียอดจองทะลุเป้าหมายที่ฮอนด้าตั้งไว้
ฮอนด้า ซิตี้ โฉมที่ 5 นี้ ได้รับรางวัลรถยนต์ยอดเยี่ยมแห่งปี ระดับประเทศไทย 2 ปีซ้อน (Thailand Car of the Year 2009,2010) ในประเภทรถยนต์นั่ง ในรุ่นไม่เกิน 1,500 ซีซี (Best Sedan under 1,500 cc.
ในปี พ.ศ. 2554 ฮอนด้าประเทศไทยได้มีการปรับโฉม Minorchange ฮอนด้า ซิตี้ และในปี พ.ศ. 2555 ฮอนด้าได้เปิดตัวรุ่น City CNG ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้พลังงานทางเลือก และ ยังมีรุ่นพิเศษ Modulo ซึ่งตกแต่งด้วยชุดแต่งModulo ก่อนที่จะมีการปรับโฉม Full Modelchange ในปี พ.ศ. 2557
Generation ที่ 6 (พ.ศ. 2557 – 2562)
โฉมนี้ เปิดตัวในประเทศไทยในรอบสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557 ที่ไบเทค บางนา โดยจะมี 5 รุ่นให้เลือกในประเทศไทย คือ รุ่น S (เกียร์ธรรมดา), V , V+ , SV และ SV+
สำหรับเครื่องยนต์ก็ยังใช้เครื่องยนต์ตัวเดิม ขนาด 1.5 ลิตร แต่พละกำลังถูกลดลงเล็กน้อยลงเหลือ 117 แรงม้าที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 146 นิวตัว-เมตรที่ 4,700 รอบ/นาที ส่งกำลังด้วยเกียร์ CVT พร้อมระบบ Paddle Shift 7 สปีด และมีเกียร์ธรรมดา 5 สปีดในรุ่นล่างสุด รองรับน้ำมันเชื้อเพลิง E85 ในทุกรุ่นย่อย พร้อมกับระบบ Econ Assist ที่ช่วยให้การขับขี่ประหยัดน้ำมันมากขึ้น
พร้อมทั้งยังมีโครงสร้างนิรภัย G-CON ระบบป้องกันการล็อกล้อ ABS ระบบควบคุมการทรงตัว VSA ระบบช่วยออกตัวในทางชัน HSA (ยกเว้นรุ่นเกียร์ธรรมดา) และไฟเตือนการเบรกกระทันหัน ESS เป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยมาตรฐานในทุกรุ่นย่อย และตั้งแต่รุ่น V+ ขึ้นไปจะมีเสาครีบฉลาม (Shark Fin) และหน้าจอระบบสัมผัสขนาด 7 นิ้ว
ยุติการทำตลาดที่ญี่ปุ่น
Honda กำลังดำเนินงานตามนโยบายลดจำนวนรุ่นรถยนต์ ที่ออกจำหน่ายทั่วโลกลง 1 ใน 3 ภายในปี พ.ศ. 2568 และกลยุทธ์นี้มีผลถึงตลาดในประเทศบ้านเกิดอย่างญี่ปุ่นด้วย โดยมีรายงานว่า Honda Civic, Honda City และ Honda Jade อาจไม่ได้ไปต่อที่ตลาดดังกล่าวในเดือนสิงหาคมนี้ ทั้งนี้ ไม่มีการเปิดเผยสาเหตุที่ชัดเจนนัก แต่พอจะคาดการณ์ได้ว่าเป็นเพราะผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น ไม่ค่อยนิยมรถยนต์ 4 ประตู จนยอดขายถดถอย
Generation ที่ 7 (GN; พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน)
โฉมนี้ เปิดตัวในประเทศไทยในรอบสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 โดยจะมี 4 รุ่น ให้เลือกในประเทศไทย คือ รุ่น S , V , SV และ RS
และล่าสุดวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 ทาง Honda ประเทศไทย จะเปิดตัว Honda city Hatchback “ในครั้งนี้ ฮอนด้า ซิตี้ จะกลับมาสร้างปรากฏการณ์และยกระดับมาตรฐานใหม่ให้กับรถซิตี้คาร์อีกครั้ง ด้วยการแนะนำ ฮอนด้า ซิตี้ 2 รุ่นใหม่ คือ ฮอนด้า ซิตี้ แฮทชแบ็ก และ ฮอนด้า ซิตี้ อี:เอชอีวี โดยทั้ง 2 รุ่นนี้ จะมาช่วยเติมเต็มไลน์อัปภายใต้ เดอะ ซิตี้ ซีรีส์ ให้สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น”. ซิตี้ เจนเนอเรชั่นที่ 5 ในประเทศไทย ด้วยเครื่องยนต์เทอร์โบที่ให้สมรรถนะในการขับขี่ที่ยอดเยี่ยมและการประหยัดน้ำมันที่ดีเยี่ยม และมาในวันนี้ พวกเขาพร้อมแล้วที่จะเปิดตัวรถยนต์ในซีรี่ส์ซิตี้อีก 2 รุ่น ได้แก่ Honda City Hatchback (ฮอนด้า ซิตี้ แฮชท์แบ็ก) ซึ่งเป็นการเปิดตัวครั้งแรกในโลกกับตัวถังรูปแบบใหม่ของรถรุ่นนี้
นอกจากนี้ พวกเขายังจะเปิดตัวเครื่องยนต์รุ่นใหม่สำหรับฮอนด้า ซิตี้ ซีดาน กับเครื่องยนต์ไฮบริดเต็มระบบใน Honda City e:HEV (ฮอนด้า ซิตี้ อี:เอชอีวี) ซึ่งเป็นครั้งแรกของรถยนต์ในเซกเมนต์นี้กับการใช้เครื่องยนต์ไฮบริดเต็มระบบ โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่ 2 ของโลกที่เปิดตัวเครื่องยนต์ไฮบริดในเซกเมนต์รถยนต์นั่งขนาดเล็กต่อจากประเทศมาเลเซีย
เครื่องยนต์ไฮบริดรุ่นยอดนิยมอย่าง Sport Hybrid i-MMD (สปอร์ต ไฮบริด ไอ–เอ็มเอ็มดี) ซึ่งติดตั้งในรุ่นพี่อย่าง Honda Accord (ฮอนด้า แอคคอร์ด) ถูกนำมาติดตั้งในรถยนต์ขนาดเล็กของค่าย เพื่อเป็นการพัฒนาไปสู่แนวทางการลดการปล่อยไอเสียของฮอนด้าในอนาคต พร้อมทั้งเป็นการเปิดตัว Honda e:Technology (ฮอนด้า อี:เทคโนโลยี) เป็นครั้งแรก
นอกเหนือไปจากการติดตั้งระบบขับเคลื่อนไฮบริดประสิทธิภาพสูงแล้ว ซิตี้ อี:เอชอีวี จะมาพร้อมระบบมาตรฐานด้านความปลอดภัยระดับสูงอย่าง Honda Sensing (ฮอนด้า เซนส์ซิ่ง) ซึ่งมีความทันสมัยที่สุดในเซกเมนต์ ซึ่งฮอนด้าพร้อมแล้วที่จะนำเสนอสินค้าใหม่ภายใต้เดอะ ซิตี้ ซีรี่ส์ และหากเทียบกับรุ่นพี่อย่าง Honda Jazz (ฮอนด้า แจ๊ซ) โฉมปัจจุบัน ที่ฮอนด้ายังยืนยันว่าพวกเขายังทำตลาดอยู่นั้น ก็จะพบว่าฮอนด้า ซิตี้ แฮชท์แบ็กมีขนาดที่ใหญ่โตกว่าเอาเรื่อง โดยมีความยาวมากกว่าถึง 314 มิลลิเมตร มีความกว้างกว่า 53 มิลลิเมตร และมีระยะฐานล้อที่ยาวกว่า 59 มิลลิเมตร โดยมีความสูงน้อยกว่า 37 มิลลิเมตรและสูงจากพื้นเท่ากัน นอกเหนือไปจากการติดตั้งระบบขับเคลื่อนไฮบริดประสิทธิภาพสูงแล้ว ซิตี้ อี:เอชอีวี จะมาพร้อมระบบมาตรฐานด้านความปลอดภัยระดับสูงอย่าง Honda Sensing (ฮอนด้า เซนส์ซิ่ง) ซึ่งมีความทันสมัยที่สุดในเซกเมนต์ ซึ่งฮอนด้าพร้อมแล้วที่จะนำเสนอสินค้าใหม่ภายใต้เดอะ ซิตี้ ซีรี่ส์ ให้กับลูกค้าในประเทศไทยได้สัมผัสกันอย่างเป็นทางการวันนี้
เรื่อง: กองบรรณาธิการ
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th