ภาษีทะเบียนรถ เรื่องจำเป็นที่ต้องใส่ใจ ห้ามปล่อยขาดต่อ
อีกหนึ่งเรื่องจำเป็นที่คนใช้รถต้องดูแลและละเลยไม่ได้นั่นก็คือ “การต่อทะเบียน” เพราะการต่อทะเบียนคือการจ่ายภาษีทะเบียนรถเพื่อขออนุญาตใช้รถบนท้องถนน ซึ่งถ้าเราไม่ได้จ่ายตามกำหนดมีโทษปรับและถ้ายิ่งปล่อยไว้นานอาจโดนระงับทะเบียนทันที
การต่อทะเบียนรถต้องเตรียมอะไรบ้าง
- เล่มทะเบียนรถ หรือสำเนารายการจดทะเบียนรถ
- พ.ร.บ. รถ
- หากรถอายุเกิน 7 ปี ต้องมีใบรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ที่รับรองโดยกรมขนส่ง ซึ่งจะตรวจความพร้อมของสัญญาณไฟ สภาพการเบรก ตรวจควันดำ
เตรียมเอกสารให้พร้อมและนำไปยื่นต่อทะเบียนตามช่องทางต่อภาษีที่สะดวก เช่น ต่อทะเบียนรถออนไลน์ Drive-Thru ที่กรมขนส่ง เคาน์เตอร์เซอร์วิส บนมือถือทุกเครือข่าย
รถที่การต่อทะเบียนตามกำหนด ถ้าตรวจพบเจอจะผิดตามมาตรา 6 อนุมาตรา 3 และรถที่จดทะเบียนแล้ว ต้องมีและแสดงแผ่นป้ายเครื่องหมายครบถ้วน ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 11 หากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกปรับไม่เกิน 2,000 บาท
สำหรับรถขาดการต่อทะเบียนเกิน 3 ปี และโดนแจ้งจอด รถที่ขาดการต่อทะเบียนเกิน 3 ปี จะมีจดหมายแจ้งจอดจากกรมขนส่ง ทำให้ป้ายทะเบียนรถถูกยกเลิก ซึ่งเจ้าของรถจะต้องนำแผ่นป้ายและสมุดคู่มือไปให้ทางราชการในเขตพื้นที่ที่รถจดทะเบียน ทำการบันทึกการระงับทะเบียนภายใน 30 วัน หากไม่ดำเนินการจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การขอทะเบียนใหม่
- นำแผ่นป้ายและสมุดคู่มือไปให้ทางราชการในเขตพื้นที่ที่รถจดทะเบียน
- ชำระภาษีที่ค้างย้อนหลัง สูงสุด 3 ปี
- แจ้งขอใช้รถอีกครั้ง พร้อมจ่ายค่าธรรมเนียม
- ซื้อ พ.ร.บ. รถใหม่
เอกสารอะไรบ้างที่ต้องใช้ในการขอทะเบียนใหม่
- บันทึกการระงับทะเบียน
- บัตรประชาชนของเจ้าของรถ (ตัวจริงและสำเนา)
- พ.ร.บ. ที่ทำใหม่
- หนังรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล / สำเนาบัตรของผู้มีอำนาจลงนาม (ถ้าร
- จดทะเบียนในนามนิติบุคคล)
- หนังสือสัญญาซื้อขาย หรือหลักฐานการขาย (ในกรณีที่ไม่ใช่เจ้าของเดิม)
- หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ (ในกรณีที่เจ้าของรถไม่สะดวกไปดำเนินการ)
เรื่อง: กองบรรณาธิการ
เรียบเรียงข้อมูลโดย GRANDPRIX ONLINE
ติดตามข่าวสาร ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ รถใหม่ ได้ที่ www.grandprix.co.th